Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม. ร่วมกับกรมสุขภาพจิต และ TTA Group เปิดตัวแอปพลิเคชัน BuddyThai ช่องทางช่วยเหลือเด็กเมื่อถูกรังแก ลดปัญหาการบูลลี่

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดตัวแอปพลิเคชัน BuddyThai กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนและวัยรุ่นราชนครินทร์ ร่วมมือกับ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA GROUP พัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า BuddyThai  ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนรังแกหรือโดนบูลลี่ที่โรงเรียนและโดนบูลลี่ผ่านโซเชียลมีเดีย และเพื่อบรรเทาปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสังคมไทย 

โดยนำร่องให้นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครดาวน์โหลดใช้งาน พร้อมแชร์ประสบการณ์ให้ทีมพัฒนาแอปพลิเคชันนำไปวางแผนปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป รวมทั้งจัดทำแบบสอบถามกับนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา Buddy Thai App ในเฟสต่อไป ให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนยิ่งขึ้น 

คาดว่าจะได้รับความสนใจและมีการใช้อย่างกันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและโรงเรียนอื่น ๆ ทั่วประเทศ และ BuddyThai จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาการบูลลี่และการกลั่นแกล้งกันในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีความสุข ในการใช้ชีวิตและเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไปเด็กและเยาวชนที่โดนบูลลี่ ให้หันมาหาบัดดี้ (BuddyThai)”  ทั้งนี้ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับการบูลลี่เป็น 2 ในโลก ในปี 2563 รองจากประเทศญี่ปุ่น จากข้อมูลการบูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดีย

นายชัชชาติ กล่าวว่า เรื่องสุขภาพจิตเด็กเป็นเรื่องสำคัญ กรุงเทพมหานครมีโรงเรียนในสังกัด 437 แห่ง ดูแลเด็กนักเรียนกว่า 270,000 คน โดยเรารู้กับตัวเองเลยว่า แค่ไปหาหมอด้านจิตเวชเด็กคิวยาวมาก เพราะแต่ละเคสใช้เวลายาวนานและต่อเนื่อง จะให้ครูโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครให้คำปรึกษาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ 

การมีแอปพลิเคชันนี้จึงเป็นเรื่องที่ดี นอกเหนือจากเรื่องการถูกบูลลี่แล้ว ยังมีเรื่องการตรวจสอบอารมณ์ตนเอง ตรงกับหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านชื่อ Designing Your Life ซึ่งบอกว่าการจะออกแบบชีวิตตัวเองนั้น ให้จดบันทึกว่าชีวิตเราในแต่ละวันมีอารมณ์และความรู้สึกอย่างไรบ้าง อะไรเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกนี้ เช่น ออกไปวิ่งตอนเช้าแล้วรู้สึกสดชื่น แสดงว่าเราชอบกิจกรรมนี้ เรารู้สึกแย่เมื่อเกิดอะไรขึ้น เราจะรู้จักตัวเองมากขึ้น จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดตัวกระตุ้นในจุดนี้ ทำให้เรามีจิตใจที่แย่  ถ้าเกิดเรารู้จักตัวเอง การรับมือกับสภาพอารมณ์จิตใจมันจะดีขึ้น 

เด็กจะคุ้นเคยกับมือถือแอปพลิเคชันมากมาย แต่ถ้าเกิดเรามีแอปพลิเคชันที่สามารถจะแบบให้เขาไว้ใจได้หัวใจของแอปพลิเคชันนี้ในระยะยาวคือ ต้องสร้างความไว้ใจระหว่างเด็กกับการใช้งานว่า อนาคตเรื่องความเรื่องปลอดภัยของข้อมูล ในการเก็บรักษาความลับของข้อมูลการให้คำปรึกษา จะต้องมีการพัฒนาและก็ต้องมอนิเตอร์อย่างต่อเนื่อง กรุงเทพมหานครมีหน่วยบริการที่อยู่ในเส้นเลือดฝอย เช่น มีศูนย์บริการสาธารณสุข มีอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่ในชุมชน มีประธานชุมชน กรรมการชุมชนต่าง ๆ ถ้าเรารู้ปัญหาอาจจะให้เด็กไปที่ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือแม้กระทั่งอาจจะมีหน่วยปรึกษาอยู่ในโรงเรียนก็ได้ในอนาคต ดังนั้น วันนี้ก็จะเป็นการเชื่อมโยงที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยแอปพลิเคชันจะต้องมีการพัฒนาต่อยอด ค่อย ๆ เก็บข้อมูลค่อย ๆ พัฒนาให้มันสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกับหลายภาคส่วน ต้องขอขอบคุณนะครับนายชัชชาติ กล่าว

สำหรับแอปพลิเคชัน BuddyThai มีคุณสมบัติและฟังก์ชันที่ออกแบบมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ 3 ประการ คือ

1. มีปุ่มขอคำปรึกษากับนักจิตวิทยาได้โดยตรง เพื่อให้ เด็กและเยาวชน สามารถกดปุ่มนี้เพื่อติดต่อถึงสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต หรือเลือกแชทกับนักจิตวิทยาผ่าน Facebook ของกรมสุขภาพจิต ผ่านนักจิตวิทยาและอาสา LoveCare Station ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ และผ่าน Facebook ของ BuddyThai App ก็ได้เช่นกัน

2. มีแบบประเมินตนเอง ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมถึงมีชุดความรู้และแบบฝึกหัดทักษะการใช้ชีวิต ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่าจะต้องรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อโดนบูลลี่ พร้อมมีคำแนะนำดี ๆ จากนักจิตวิทยาที่เชื่อถือได้

3. มีระบบบันทึกข้อมูลอารมณ์ในแต่ละวัน เด็กและเยาวชนสามารถเข้ามาบันทึกอารมณ์ของตัวเองได้ทุกวันและวันละหลาย ๆ ครั้ง และใส่เหตุผลได้ด้วย ข้อมูลอารมณ์จะบันทึกเป็นสถิติรายสัปดาห์และรายเดือน ทำให้เด็กและเยาวชนเช็คได้ว่า ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตนเองมีอารมณ์หนักไปทางด้านใด เพราะอะไร โดยมีเทคนิคการจัดการอารมณ์ให้เด็กอ่านด้วยตนเอง ในขณะที่ หากพบว่าเด็กและเยาวชนคนไหนบันทึกว่า มีอารมณ์เครียด ซึมเศร้าติดต่อกันเป็นอาทิตย์และมีแนวโน้มคิดฆ่าตัวตาย ทีมแอดมินจะมอนิเตอร์เด็กและเยาวชนคนนี้อย่างใกล้ชิด และสามารถแจ้งไปยังโรงเรียนและคุณครู หรือนักจิตวิทยาสายด่วนในการติดต่อเชิงรุกได้ 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า