SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพ จะแก้ปัญหาน้ำท่วมยังไง? คำถามแทงใจที่ workpointTODAY ถามแทนคนกรุง มาดูว่าแต่ละคนมีไอเดียแก้ปัญหาอย่างไร

หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล

จากการสอบถามวิศวกรที่ทำงานในสำนักการระบายน้ำเป็นนาตาชา โรมานอฟ บอกเราว่า เราต้องการอีกแค่ 1,000-1,500 ล้านเท่านั้นก็จะขุดคลองทั่วเมือง ลอกท่อทั่วกรุงได้ แต่ๆๆๆ คุณต้องกล้าชนกับนายทุนผู้รับเหมาลอกท่อด้วยนะ เพราะถ้าเกิดคุณปล่อยให้เขาเอางานไปทั้งหมด แล้วเขาส่งมอบงานไม่ทัน หรือเอางานไปแล้วก็ไปจ้างช่วงต่อเรื่อยๆ อีก สุดท้ายก็จะส่งมอบงานไม่ได้อีกถูกไหม หรือส่งมอบงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน บางงานเรางงนะว่า นี่คือขุดแล้วหรือ แล้วถามว่าเวลาเราขุดท่อลอกท่อ

แล้วเราจะแก้ปัญหาอะไร หนึ่งคือท่อที่ตันก็จะหายใช่ไหม แล้วปัญหาประสิทธิภาพการระบายน้ำที่ต่ำบางครั้งมันมาจากท่อที่หักระหว่างทาง ก็จะได้รับการซ่อมแก้ไขตามมาถูกป่ะ ระบบการ drain (ระบายน้ำ) ไปที่อุโมงค์ก็จะดีขึ้นจริงไหม แล้วที่สำคัญชะลออุโมงค์บางอุโมงค์เหอะ เอาเงินมาลอกท่อก่อนเถอะนะครับ คุณรู้หรือเปล่าว่างบอุโมงค์ปีนึง 2,000 ล้านเนี่ย เท่ากันแทบทุกปีไม่เคยถูกตัดเลย ตัดนิดๆ หน่อยๆ แต่ไอ้เรื่องท่อนี่ถูกตัดยับเลย แล้วมีอะไรอีกที่ต้องทำ แต่ละเขตพอเราซ่อมบำรุงรักษาได้ เราก็จะดึงน้ำเข้ามาที่อุโมงค์ได้ การระบายน้ำก็จะดีขึ้น แต่ถ้าตรงไหนยังท่วมอีก

เราก็รู้แล้วว่ามันต้องไม่ใช่ปัญหาที่ท่อแล้ว ถูกไหม มันอาจจะเป็นปัญหาจากน้ำทะเลหนุนใช่ไหม ก็พอกันทีกับงบกระสอบทรายรายปี คุณบ้าหรือเปล่า คุณรู้อยู่แล้วว่าพื้นที่ตรงนี้ ในเดือนเดียวกันช่วงเวลาเดียวกันน้ำก็ท่วมเหมือนกัน มาจากน้ำทะเลหนุน รู้ทุกอย่าง แต่คุณก็แก้ปัญหาด้วยการเอากระสอบทรายรายปีไปให้เขา คุยกับสำนักระบายน้ำบอกว่าถ้าทำเขื่อนขึั้นมาปุ๊บ จบ อย่างเช่นที่บางขุนเทียนอย่างนี้ เขาบอกถ้าทำเขื่อนปุ๊บ จบเลย ก็เอางบไปทำเขื่อนก็จะแก้ปัญหาน้ำท่วมในจุดที่สองได้หรือจากสาเหตุที่สองได้

หมายเลข 3 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ

ด้วยสภาพของกรุงเทพฯ พื้นที่เอง รวมถึงท่อส่วนหลักของกรุงเทพฯ เป็นท่อเก่า ซึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 ซม. เป็นระบบเก่า คือทำยังไง ถ้าฝนตกแรงๆ นี่หรือว่าเยอะจริงๆ ยังไงก็ต้องรอระบายอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะทํายังไงให้การรอระบายมันเร็วสุด เพราะฉะนั้นหลังๆ เราก็มีเทคโนโลยีเพิ่มเยอะอย่างเช่นอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ํา Pipe Jacking ที่เป็นแรงดันน้ำให้น้ำมันไปเร็วขึ้น สามก็คือ Water Bank หรือบ่อหน่วงน้ำ ซึ่งทั้งสามอย่างน่าจะอยู่ในพื้นจักรจักรทั้งหมดนะ Pipe Jacking อยู่ตรงสี่แยกเกษตร ตัว Water Bank มีทั้งตรงรัชโยธิน แล้วก็มีตรงทั้งวงเวียนบางเขน อุโมงค์ยักษ์ก็รัชดาฯ ทุกอย่างดีหมด เพียงแต่ว่ามันจะดีไม่ได้เพราะว่าไอ้ท่อที่ออกจากบ้านน่ะมันเล็ก แล้วก็มันก็ตัน เพราะว่าบางทีการล้างท่อมันไม่ดี เพราะฉะนั้นจะทำยังไง ก็ต้องทําให้ระบบย่อยๆ มันดี ซึ่งระบบย่อยดีเนี่ยน้ำจากบ้านจากชุมชนมันก็จะไปในจุดที่อุปกรณ์ทั้งหลาย Pipe Jacking หรือ บ่อหน่วงน้ำ หรืออุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำได้เร็วขึ้น

อันนี้ที่แก้คือต้องไปแก้ไอ้ตัวท่อเล็กๆ ที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนท่อทั้งหมดเลย ซึ่งต้องใช้งบประมาณมหาศาลแล้วก็หลายปี เลยมองว่าไอ้พวกเส้นเลือดฝอย นี้ถ้าเราแก้ตรงนั้นเนี่ย มันจะดี น้ำหนุนนี้มันสามารถวางแผนได้ ถูกไหมฮะ เพราะมันมีเวลาเรารู้ระบบในการคํานวณกรมอุทกศาสตร์มันชัดเจน เพราะฉะนั้นเราก็สามารถวางแผนในการที่จะพร่องน้ำหรือว่าจะเติมน้ำยังไงก็ตาม แต่ว่าก่อนหน้านี้ที่น้ำมันซึมเข้าริมแม่น้ําเจ้าพระยา เพราะว่ามันมีตะเข็บบางจุดที่เขื่อนมันยังไม่ครบ หรือว่าอาจจะมีชาวบ้านที่เขาอยู่ตรงนั้น พอท่วมปุ๊บเขาก็เดือดร้อนเขาก็บอกไม่ไหวแล้ว เลยทลายเขื่อน มันก็เลยมีปัญหา นี่ต้องทําความเข้าใจแล้วก็ทําแนวเขื่อนคอยซ่อมตรงนั้น

หมายเลข 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์

ถ้าเกิดคิดอย่างเดิม ทำแบบเดิมเนี่ย กรุงเทพฯ ไม่รอดครับ ยังไงก็จม จะไปเปลี่ยนท่อระบายน้ำหรือครับ เปลี่ยนมาตั้งแต่ 60 ซม. มาเป็น 80 ซม. มาเป็นเมตร 1.20 ม. มันก็ท่วม เพราะอะไรรู้หรือไม่ เพราะกรุงเทพฯ เป็นแอ่งสมบูรณ์แบบไปแล้ว อยู่ได้ด้วยระบบปั๊มอย่างเดียว เหมือนปั๊มหัวใจ ทีนี้ฝนมันไม่เป็นเหมือนเดิม สมัยก่อนเนี่ยฝนมันตกกระจาย แต่เดี๋ยวนี้ฝนมันตกแบบ 15-30 นาที แล้วห่าใหญ่ลงมา ดังนั้นในระยะสั้นเสนอปรับปรุงระบบปั๊มเป็นระบบปั๊มไฟฟ้า ปรับปรุงเรื่องของการเปิดปิดประตูน้ำให้มันสอดประสานกัน มันพอประทังได้นิดเดียว ในต่างประเทศเขาเป็นยังไงครับ เขารู้ว่าเทมาห่าใหญ่ เขาก็ต้องมีอะไรเก็บน้ำพักรอระบายไว้เพราะมันปั๊มไม่ทัน เทมาขนาดนี้เขาก็ไปเก็บไว้ใต้ดินก่อน เพราะไม่ต้องใช้ปั๊มใช่ไหม เพราะมันไหลลงตามธรรมชาติเก็บเข้ามา

อย่างจตุจักร ปัญหาหนักซ้ำซากเลย เพราะว่ายังไงก็ไม่ทัน เปลี่ยนท่อก็ไม่ทัน ทำตรงนี้ไว้ใต้สวนจตุจักร แล้วก็มีท่อโผล่มา โผล่ออกมาตรงต้นลาดพร้าว วิภาวดีใช่ไหม หมอชิตใช่ไหม บางซื่อก็เริ่มแล้วใช่ไหม พอฝนตกเทลงมา วื๊บ น้ำแทนที่จะมารอระบายที่บ้านเรา ที่ซอยเรา ที่ถนน ก็ลงมารอระบายอยู่ที่บ่อพักน้ำรอระบาย หรือแก้มลิงใต้ดิน ใต้สวนจตุจักร ซึ่งเก็บได้เป็นแสนลูกบาศก์เมตร พอฝนหยุดตก ไม่มีใครเดือดร้อนแล้วใช่ไหม ก็ค่อยๆ ปั๊มออกมาๆ พูดหลายรอบแล้ว พูดตั้งแต่ 20 เมษายน 2558 คิดอย่างเดิมทำแบบเดิมปัญหาน้ำท่วมไม่ได้น้อยลง ต้องทำแบบนี้ครับ ในกรุงเทพฯ ชั้นในอย่างจตุจักร คือแก้มลิงใต้ดิน เหมือนที่กรุงโตเกียวทำ เหมือนที่ฮ่องกงทำ เหมือนสิงคโปร์ มาเลเซียทำ เขาทำหมดแล้ว เหลือแต่เราครับ ขอให้ผมทำได้หรือไม่

หมายเลข 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครอิสระ

มันกระจายทั่วไปเลยไอ้น้ำท่วมซ้ำซากเนี่ย จุดอ่อนน้ำท่วมมันมีเยอะนะ
ตอนที่เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพ ใหม่ๆ มีอยู่ประมาณ 24 จุด ขณะนี้เราก็แก้ไขไปได้ 15 แห่งแล้ว ถามว่าอีก 9 จุดทําไมยังไม่หมด คือมันติดขัดเรื่องเงื่อนเวลาและปัจจัยต่างๆ หากกลับมาได้มาเป็นใหม่ ผมก็อยากพยายามจะทําไอ้ตรงนี้ให้มันเป็นศูนย์ให้ได้ สิ่งที่เราทําได้คือลอกคูคลอง สองลอกท่อ สามพยายามทําแก้มลิงธรรมชาติ แก้มลิงธรรมชาติหมายถึง บ่อน้ำ แอ่งน้ำต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร อย่างเช่น สวนเบญจกิตติ นั่นก็เป็นแก้มลิงธรรมชาติแห่งหนึ่ง ซึ่งเราก็ลอกไปก็เก็บน้ำได้ส่วนหนึ่ง เราทํา Pipe Jacking ท่อแรงดันสูงสองเมตรซึ่งลึกลงไปจากใต้ดินประมาณ 5 เมตร เพื่อจะได้ดันน้ำลงสู่คลองใหญ่หรือลงสู่เจ้าพระยา อีกสิ่งหนึ่งก็คือ Water Bank มันก็มีนักวิชาการหลายคนว่าจะต้องทํา Water bank อย่างนั้นอย่างนี้

จริงๆ แล้ว ทําไว้ตั้งแต่ปี 2561 แล้วนะ ที่เขาบอกว่าจะทําแห่งแรกในประเทศไทยมันไม่จริงหรอก ไอ้สิ่งที่จริงเนี่ยไปดูวงเวียนบางเขน ไปดู ข้าง สน. บางเขน มีสนามเด็กเล่นอยู่ ก็ขุดทำ Water Bank เลย ขุดลึกลงไป 30 เมตร พอขุดลงไปแล้วปิดฝาแล้วก็ปัจจุบันคนจะไม่รู้เลยว่าตรงนั้นคือ Water Bank พอฝนตกเราก็เอาไปเก็บไว้ตรงนั้นตรงนั้นน่ะ 1,000 กว่าลูกบาศก์เมตร พอฝนหยุดเราก็สูบน้ำลงคลองไป ตั้งแต่ปี 2562-2564 น้ำไม่เคยท่วมมาเลยนะ วงเวียนบางเขน แล้วก็มีโครงการที่ทําต่อเนื่องที่จะทําต่อไปอีกนี้ อีก 4 ถ้าเรากลับมาใหม่ เราก็ทำต่อในส่วนต่อไปยืนยันว่า Water Bank ที่นักวิชาการเขาแนะนำว่าให้ทำ จะทำ Water Bank เนี่ย เราทำไปแล้ว แต่เราไม่ได้ทำใหญ่

ทิ้งท้ายด้วยปัญหาคาใจกุญแจหาย?

ตรงนั้นมันเป็นจุดที่บริษัทที่ประมูลกับกรุงเทพมหานคร ยังทําไม่เสร็จ แล้วก็ยังไม่ได้ส่งมอบงานให้กับกทม. มันทําสัญญามาก่อนแล้วก่อนที่ผมจะมาเป็น เพราะฉะนั้นควบคุมการปฏิบัติทั้งหมด ยังอยู่กับบริษัทที่รับเหมาถูกต้องไหม น้ำที่มันมากุญแจหง-กุญแจหายอะไรเนี่ย เขายังไม่ได้ส่งของให้เรา

หมายเลข 7 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ

เรื่องน้ำท่วมเนี่ยมันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าเราเป็นประเทศที่อยู่ในลุ่มน้ำนะ เราเรียกว่าเราเป็น Aquatic Society ฝรั่งสมัยก่อนเรียกเราว่าเราเป็นเวนิสตะวันออก เราสัญจรโดยทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ เรามีคลองในกรุงเทพฯ รวมไปแล้วเนี่ยน่าจะ 1,800 กว่าคลอง ทั้งคูทั้งคลองเลย มีระยะมีความยาว 2,000 กว่า กม. ด้วยซ้ำไป แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคมที่เรามี เพราะว่าคลองจริงๆ มันก็เหมือนกับระบบรางของรถไฟฟ้านะ แต่เราทำให้คลองเป็นที่ทิ้งขยะ เป็นที่ระบายน้ำเสีย ซึ่งสิ่งนี้เนี่ยเราต้องแก้ไข

สำหรับตัวเองคิดว่าเราจะมีการขุดลอกคูคลองโดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แล้วสิ่งที่ดิฉันคิดนะ เราต้องคิดอะไรที่เป็นบูรณาการอะ เมื่อเราขุดลอกคูคลองเนี่ย เราก็ไม่ต้องเอาดินไปกองอยู่ริมตลิ่งให้มันไถลลงไปเหมือนเดิม เราก็สามารถเอาดินพวกนั้นมาไว้ในพื้นที่ที่เราจะทำเกษตร แล้วเราก็แยกขยะเปียกทำหมักปุ๋ย ปุ๋ยนั้นคนที่มาช่วยหมักเขาก็อาจจะเอามาขายหรือเอามาใช้ในพื้นที่ที่ทำเกษตรอินทรีย์ แล้วจริงๆ มันก็ทำให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง

เราขุดลอกคูคลอง เราทำให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ เพราะว่าคูคลองเวลานี้ที่เราทำกันหลายแห่งมันก็สวยๆ แต่มันยังขาดชีวิต คิดว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เขามาเขาก็อยากจะเห็นชีวิตจริงๆ อะ ไม่ใช่ของเทียมๆ ที่เอามาโชว์ ไม่ใช่มาแต่งชุดไทย อะไรต่อมิอะไร แต่ว่าเขาอาจจะต้องการเห็นอะไรที่มันแท้ๆ ของคนที่ทำมาหากิน อาจจะมีอะไรที่ไม่เรียบร้อย ไม่ได้เป็นระเบียบอะไร แต่ว่ามันเป็นชีวิตคน เพราะฉะนั้นสำหรับตัวเองคิดว่าเราก็จะทำให้แต่ละชุมชนนั้นมีอัตลักษณ์ของเขา แล้วอัตลักษณ์ของเขาจะต้องเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย

หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ

จริงๆ แล้วน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ถ้าเกิดจตุจักรนี่ก็มาจากน้ำฝนเป็นหลัก ถูกไหม ถามว่าน้ำฝนตกมาแล้วจะไปไหน ตกมาสุดท้ายมันก็ต้องไปท่อระบายน้ำ ไปลงคลอง หรือไปลงอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ แล้วก็ไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วก็ดูดออก เพราะงั้นปัญหาคือว่าเราระบายไม่ได้ในบางจุด อย่างตรงจตุจักรเองก็ไม่ได้ห่างจากอุโมงค์ระบายน้ำยักษ์นะ อยู่แถวบางซื่อ อยู่ใกล้ๆ เลย แสดงว่าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่เมกะโปรเจกต์ ไม่ได้อยู่ที่เส้นเลือดใหญ่ไง เพราะเราไปดูน้ำก็ไม่ได้เข้าไปถึงอุโมงค์

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ที่ท่วมห้วยขวาง ไปดูการไหลของน้ำในอุโมงค์ก็ไม่ได้เยอะเลย ทั้งๆ ที่อยู่ใกล้ห้วยขวางนิดเดียว เพราะงั้นปัญหาคือเส้นเลือดฝอยที่ไปถึง ตรงนี้มันอุดตันใช่ปะ เช่น ท่อระบายน้ำไม่ได้ขุดลอก คลองไม่ได้ลอกให้ดี ประตูระบายน้ำไม่มีคนคุม เครื่องปั๊มสูบน้ำที่สูบน้ำข้ามไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ทำงาน หรือว่าสูบจากบ่อลงคลองไม่ทำงาน ผมว่าต้องไปดูระบบพวกนี้ให้ถี่ถ้วน เพราะฉะนั้นอย่างแรกคือการทำท่อระบายน้ำให้ดี อย่างที่สองคือคลอง ผมว่าต้องลอกคลองด้วย คลองมันตื้นเขินลง เพราะงั้น 4 คลองหลัก คลองบางซื่อ คลองลาดพร้าว คลองบางเขน พวกนี้ต้องทำการลอก ลอกไปแค่ 50 เซนติเมตร ในคลองพวกนี้สามารถรองรับน้ำได้หรือเป็นแก้มลิงอีก 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่เพิ่มขึ้นมาพอน้ำท่วมมามันสามารถไหลลงคลองได้เร็วขึ้น ไม่ใช่ไปค้างอยู่บนถนน อันนี้ก็คือดูแลคลองให้ดี ดูแลประตูน้ำ ดูแลปั๊มน้ำให้ดี

อนาคตมันต้องเป็นรีโมต หมายความว่าไม่ได้ควบคุมจากที่หน้าไซต์แล้ว คือบางทีพอควบคุมหน้าไซต์มันจะมีปัญหาเรื่อง human error แต่ถ้าเราสามารถทำระบบ SCADA ก็คือว่าเป็น remote sensing ควบคุมจากศูนย์กลางได้ ให้เปิดระบายน้ำ automatic เลยก็ได้ ถ้ารวมกันได้ผมคิดว่ามันก็จะ automatic มากขึ้น ไม่มี human error เข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วก็พื้นที่ที่มันท่วม มันอาจจะมีปัญหาเรื่องท่อระบายน้ำเก่า 60 เซนติเมตร ที่มันเล็กไป อาจจะต้องทำ Pipe Jacking ทำอะไรที่แบบขยายท่อระบายน้ำ ท่อมันหักอะไรอย่างนี้ มันก็มีระบบอยู่ เพราะว่าเอาตรงนี้แล้วก็ใส่ใจกับมัน มันไม่ใช่จุดใหม่หรอกที่ท่วม เชื่อดิ มันท่วมซ้ำซาก เพราะฉะนั้นผมว่าก็ต้องพูดความจริงกับประชาชนว่าปัญหาคืออะไร แล้วก็อาจจะติดป้าย target ไว้เลย ว่าจุดนี้จะต้องเลิกท่วมภายในกี่ปี บอกเขาเลย ถ้าไม่ได้ก็ให้เขามาเอาเรื่องเราเลย

หมายเลข 11 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย

ผู้ว่าฯ คนก่อนๆ อาจจะเรียกน้ำท่วมว่าน้ำรอระบาย เรื่องนู้นเรื่องนี้ บอกเลยว่าขั้นแรก ตรงไหนน้ำท่วมตรงนั้นเป็นถนน เป็นทางเดินของ ผอ.เขต คุณลงไปจัดการ แล้วลงไปเดิน ถ้าท่วมอีกไม่สำเร็จ จะลงไปเดินด้วย แล้วก็เข้าไปดูว่าทำไมถึงทำไม่ได้ จะมีตัวชี้วัด แล้วจะบอกว่าการระบายน้ำในกรุงเทพฯ ณ ปัจจุบันเนี่ย เขาลงทุนไปแล้วแสนกว่าล้าน ในระบบบริหารจัดการน้ำ แล้วต้องมีงบประมาณขุดลอกคูคลองอีก แต่เขตต่างๆ ผู้ว่าฯ กทม. ไม่เคยทดสอบระบบระบายน้ำในกรุงเทพมหานครเลย

ถ้าชนะการเลือกตั้ง ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ผมเข้าไป วันแรกที่เข้าไปเป็นผู้ว่าฯ กทม.จะทดสอบระบบบริหารจัดการน้ำทั้งหมด แล้วจะบอกว่าวิธีการระบายน้ำออกจากกลางเมือง มันต้องพร่องน้ำในคลองที่อยู่ถัดๆ ไปก่อน เผื่อให้ตัวเองเนี่ยเป็นทั้งที่ระบายน้ำ และเป็นทั้งแก้มลิงในการเก็บกักน้ำเข้าไปแล้วก็ค่อยระบายออก ไม่ต้องมารอระบาย น้ำรอระบายเพราะคุณไม่ยอมพร่องน้ำไว้ก่อน คุณไม่ทำเพราะว่างบประมาณที่คุณไปขุดลอกคูคลอง คุณไม่ได้ใช้ คุณจ่ายเขาไปกี่ล้านกี่ล้าน แล้วคุณก็เอาที่ขุดลงไปแกว่งๆ แล้วคุณบอกว่าขุดแล้ว ก็ข้างใต้มันไม่ลึก มันสูงกว่าระดับนู้นน้ำมันก็ไม่ไหล

แต่ถ้าเห็นพร่องไปเราเห็นเลยว่าเป็นยังไง ข้างใต้เป็นยังไง แล้วพอพร่องมาสปีดน้ำเราจับได้ว่ามันได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นเนี่ยคุณต้องพร่องน้ำ ทุกวันนี้ใครทราบไหมว่าพื้นที่ในกรุงเทพมหานครเนี่ยมีส่วนหนึ่งที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลแล้ว คือพื้นที่รามคำแหงครับ สาเหตุที่ต่ำก็คือมีสิ่งปลูกสร้างเยอะ แล้วมีการดูดเอาน้ำบาดาลไปใช้โดยที่ไม่ได้ขออนุญาต ลักลอบใช้น้ำบาดาลเยอะจนกระทั่งพื้นดินทรุดต่ำกว่าระดับทะเล 30 เซนติเมตร แล้วอีก 12-13 ปีข้างหน้าหลายๆ เขตใน กทม. จะเป็นแบบนี้ ถามว่าน่ากลัวไหม เนเธอร์แลนด์บริหารจัดการได้ ทั้งเมืองอยู่ต่ำกว่าน้ำทะเลมากกว่านี้ด้วย เขาบริหารจัดการได้ ของเราก็ทำได้ แต่เราต้องมีกระบวนการที่ดี แล้วการไปรับฟังปัญหาจากชาวบ้านเนี่ย บอกเลยว่าก็จะได้ประมาณนึง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า