SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในสื่อโซเชียลตอนท้ายผู้สมัครฯ จึงต้องระบุว่าผลิตโดยใคร อ่านแล้วอาจจะรู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่หาเสียงเลือกตั้งตรงไหน workpointTODAY มีคำตอบ

จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะสื่อสังคมออนไลน์อยู่กับชีวิตประจำวันของทุกคนมามากกว่า 10 ปี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ (กกต.) ได้ออกระเบียบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง และที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งด้วย

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. พูดถึงในเรื่องนี้ว่า ทุกวันนี้โซเชียลเป็นเงื่อนไขสำคัญในการหาเสียง โดยเฉพาะพื้นที่เมืองอย่าง กทม. ซึ่งการควบคุมให้แจ้งชื่อของผู้สมัครในสื่อออนไลน์นั้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้แอบอ้างว่าเป็นผู้สมัคร และหากมีการจ้างผลิตเกิน 5,000 บาท ต้องแจ้ง กกต.ด้วย เพราะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งนั่นเอง

จากข้อมูลของสำนักงาน กกต. ระบุว่า การหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ การหาเสียงเลือกตั้งที่กระทำขึ้นโดยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเพื่อหาเสียงเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนโดยทั่วไป ผู้สมัคร พรรคการเมือง หรือผู้ใด สามารถใช้วิธีการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตนเองหรือมอบ หรือว่าจ้างบุคคลดำเนินการแทนด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้ เว็บไซต์ , โซเชียลมีเดีย , ยูทูป , แอปพลิเคชัน , อีเมล , เอสเอ็มเอส , ไลน์ , เฟซบุ๊ก , ทวิตเตอร์ , อินสตราแกรม , สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ทุกประเภท

รายละเอียดการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

1.ผู้สมัคร พรรคการเมือง ผู้ใด สามารถระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร สัญลักษณ์ นโยบาย คติพจน์ คำขวัญ ข้อมูลประวัติ พร้อมระบุ ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวัน เดือน ปี ที่ผลิตไว้บริเวณที่เห็นชัดเจน

2.ให้ผู้สมัครแจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทางระยะเวลาในการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนดให้ ผอ.สนง.กกต.จว.ทราบก่อนดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

3.บุคคลที่มิใช่ผู้สมัครใช้จ่ายในการหาเสียงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เกิน 5,000 บาท ให้ผู้นั้นแจ้งให้ผู้สมัครทราบเพื่อรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง

4.ผู้สมัครผู้ใดยินยอมหรือไม่คัดค้านการใช้จ่ายในการหาเสียงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลที่มิได้เป็นผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ให้นับรวมรายการใช้จ่ายดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัครนั้นด้วย ทั้งนี้ ผู้สมัครที่ประสงค์จะมีผู้ช่วยหาเสียง ให้ผู้สมัครแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ช่วยหาเสียง หน้าที่และค่าตอบแทนผู้ช่วยหาเสียง รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามแบบที่กำหนด โดยแจ้งให้ ผอ.สนง.กกต.จว.ทราบก่อนวันดำเนินการ

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สามารถหาเสียงได้ไปจนถึงเวลา 18.00 น. ของวันที่ 21 พ.ค. 65 โดยวันที่ 5 เม.ย.นี้ กกต. กทม. และที่เมืองพัทยา จะเชิญผู้สมัครทั้งหมด มาประชุมร่วมกันเพื่อซักซ้อม ทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในการหาเสียงผ่านสื่อออนไลน์อีกครั้ง

ผลิตโดย workpointTODAY จำนวน 1 ชุด ตามวันและเวลาที่ปรากฎส่งมาในครั้งนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า