SHARE

คัดลอกแล้ว

ภายหลังคณะรัฐมนตรีชัดเจนประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ผู้ว่าฯ กทม. และนายกเมืองพัทยา ที่น่าสนใจสนามกทม. มีผู้ประกาศลงสมัครเป็นตัวเลือกอย่างต่อเนื่อง

workpointTODAY ชวนนายวีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประเด็น 5 ข้อ ที่น่าสนใจและควรติดตามคือ

1.การเลือกตั้งท้องถิ่นของคน กทม.ทิ้งช่วงมาเกือบ 8 ปี ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้น จึงน่าสนใจว่า คนกทม. เหมือนระเบิดที่ถูกกดไว้ คนจำนวนมากพอสมควรที่รู้สึกว่า ทำไมไม่ถึงเวลาที่จะได้รับสิทธิการเลือกตั้งสักที ถ้าเปรียบเทียบจังหวัดอื่นๆ ที่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเกิดการเปรียบเทียบกัน การเลือกตั้งรอบนี้จึงน่าสนใจว่าคนเก็บมานาน จริงๆ จะทำให้เกิดการตื่นตัวจริงหรือไม่ มีคนออกมาใช้สิทธิมากน้อยเพียงใด หลายคนคาดว่าน่าจะเยอะ เพราะเก็บมาหลายปี แต่ท้ายที่สุดก็ต้องลุ้น บางคนบอกว่ารอด้วยความใจจดใจจ่อ แต่คนอีกจำนวนอาจจะเบื่อหน่ายไปแล้วได้ เลยต้องดูว่าอัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งจะสูงหรือไม่

2. พอทิ้งมา 8 ปี ปัญหาหลายๆ เรื่องของ กทม.ไม่ได้ถูกหยิบมาคุยชัดๆ ถูกเก็บเอาไว้ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฝุ่นควัน PM2.5 ซึ่ง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นนี้ไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาคุยอย่างเปิดเผย รวมถึงปัญหาสาธารณะหลายเรื่อง เมื่อไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่มีการพูดถึง ขาดความตื่นตัวทางการเมืองที่จะหยิบประเด็นปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไข ความน่าสนใจคือ ถ้าผู้สมัครคนไหนสามารถหยิบยกประเด็นปัญหาออกมาคุยชัดๆ มีนโยบายต่อเนื่อง จะเห็นทิศทาง กทม.ต่อไปได้

3. เกิดจากตัวผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือโหวตเตอร์ ทุกคนรู้ว่าสัดส่วนของผู้มีสิทธิหน้าใหม่ ที่อายุเริ่มถึงเกณฑ์ จะได้รับสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรกประมาณ 10-20 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเกือบ 1 ล้านคน ดังนั้นมีความน่าสนใจว่าการคาดเดาผลการเลือกตั้งแบบเดิมๆ ไม่ได้แล้ว ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก อาจเลือกเพราะกระแสความชื่นชอบส่วนตัวมากกว่าผลงาน มีความเป็นไปได้ แต่มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบคาดไม่ถึงก็มีอยู่

4. ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. รอบนี้มีโพลวัดเรตติ้งเป็นระยะ ต้องติดตามว่าหมายเลขหนึ่งที่นำตลอด เมื่อถึงวันเลือกตั้งจริงจะได้รับหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าโพลสำรวจว่ามาที่หนึ่งจริง แต่เปอร์เซ็นของการทำโพลไม่ได้ห่างกับผู้ที่ยังไม่ติดสินใจเลือกหมายเลขใด ซึ่งตรงนี้ผู้สมัครรายอื่นๆ มองเห็นและต้องว่างแผนว่าจะขอคะแนนจากคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร

5.การกำหนดวันเลือกตั้งมีประเด็น 22 พ.ค. ซึ่งตรงกับวันครบรอบรัฐประหารเมื่อปี 2557 จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนหรือสร้างปัญหาความปั่นป่วนหรือไม่ ต้องรอติดตาม เพราะถ้ามองในปัจจัยเกื้อหนุนอาจทำให้คนตื่นตัวอยากมาเลือกตั้งมากขึ้น แต่ในทางกลับกันมีความเป็นไปได้ ว่าช่วงนั้นจะมีการจัดงานรำลึกหรือเสวนาต่างๆ ซึ่งจะมาปนกับการเลือกต้้งหรือไม่ หรือจะเป็นอุปสรรคระหว่างกัน เช่น ใกล้วันเลือกตั้งอย่ามาจัดเวทีอภิปราย ซึ่งอาจสร้างผลกระทบ ซึ่งการกำหนดวันเลือกตั้งดูแปลกๆ ไปนิดหนึ่ง

นายวีรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ผู้สมัครหลายคนประกาศลงสมัครในนามอิสระ ที่ประกาศเช่นนี้มองว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 พรรการเมืองบางพรรคเคยมี ส.ส.แต่กลับไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับมาเลย ดังนั้นหากสวมเสื้อสีเดียวกับพรรคอาจทำให้มีผลได้ แต่การที่ไม่สวมเสื้อพรรคใดเลย อาจสลัดคราบด้านลบหรือด้านไม่ดีของพรรคการเมืองนั้นๆ ได้ ขณะที่บางพรรค ส่งผู้สมัคร ส.ก.ลงครบทุกเขต แต่ไม่ส่งผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มองว่า ไม่ใช่ยุทธศาสตร์อะไร เพียงแต่เป็นการวัดเรตติ้งของพรรคและมีความหวังว่าจะยึดฐานเสียงเอาไว้ได้ และที่สำคัญผู้สมัครบางคนเคยมีสานสัมพันธ์กับพรรคการเมือง การที่ไม่ส่งคนสมัคร เพราะให้เกียรติโดยไม่ส่งคนลงไปตัดคะแนนกัน

นายวีรศักดิ์ ให้ความเห็นส่วนตัวคาดการณ์ตัวเต็งว่า จนถึงขณะนี้ยังให้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.อิสระ ยังมาเป็นลำดับหนึ่ง ส่วนลำดับสองยังสูสี ระหว่าง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. และนายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. และอันดับสามให้นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าช่วงหลังจะมีกระแสเรื่องส่วนตัวทำให้ความนิยมลดไปบ้าง แต่เชื่อว่าฐานเสียง กทม.ของพรรคประชาธิปัตย์ยังมีอยู่ส่วนหนึ่ง

ส่วนนายวิโรจน์ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.จากพรรคพรรคก้าวไกล มองว่าเป็นคนเก่ง วิเคราะห์ปัญหาเฉียบคมเสนอแนะดี เป็นคนบริหารธุรกิจ ครอบครัวดี แต่ยังไม่ใช่ผู้บริหารเมือง ดังนั้นคาดว่าคนกทม. อาจจะชอบส่วนตัว แต่ถามว่าไว้ใจมากขนาดไหน เพราะเรื่องบริหารธุรกิจกับการบริหารบ้านเมืองไม่เหมือนกัน ดังนั้นอาจจะเทียบกับคนอื่นๆ ไม่ได้ จึงมองว่าไม่สามารถตีตื้นขึ้นมาติดอันดับได้

เหลือเวลาอีกประมาณ 2 เดือน ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อผลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการตื่นตัวของผู้ใช้สิทธิ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า