SHARE

คัดลอกแล้ว

ม.อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เผยงานวิจัยพบแมวแพร่เชื้อโควิด 19 สู่คนเป็นรายแรกของโลก เพราะแมวจามใส่ เหตุเกิดเดือน ส.ค. 64 แพทย์ยืนยันมีความเสี่ยงติดต่ำ ขออย่านำสัตว์เลี้ยงไปทิ้ง แต่ให้มีการเฝ้าระวังมากกว่า

วันนี้ (20 มิ.ย. 2565) รศ.ดร.นพ.ศรัญญู ชูศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แถลงถึงกรณี นิวยอร์ค ไทมส์ สื่อชื่อดังของสหรัฐอเมริกา อ้างรายงานผลการศึกษาในประเทศไทยพบคนติดเชื้อโควิดจาก “แมว” เมื่อปีที่แล้ว

โดยรายงานอ้างถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 ผ่านวารสาร โรคติดต่อ “อิเมอร์จิ่ง อินเฟ็คเชียส ดีซีส” Emerging Infectious Diseases ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อหรือซีดีซี โดยมีการระบุว่า ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศแรกที่พบการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคาดว่าเป็นการติดจาก “แมวสู่คน”

รศ.ดร.นพ.ศรัญญู กล่าวว่า การแพร่กระจายเชื้อจากแมวไปสู่คน เหตุการณ์เกิดเดือนสิงหาคม วันที่ 4 ส.ค.64 แมวอายุ 10 ปี อยู่กับเจ้าของ 2 คน ใน กทม. เมื่อติดเชื้อโควิด ซึ่งในขณะนั้นในกทม. มีเตียงรักษาจำกัด จึงวางแผนมารักษาตัวกับญาติ ที่ จ.สงขลา

โดยผู้ป่วยทั้ง 2 คน นั่งรถส่วนตัวมาจาก กทม. พร้อมแมว เมื่อ 8 ส.ค. 64 รักษาในหอผู้ป่วยโควิดของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และสัตวแพทย์เกรงว่า แมวจะติดเชื้อ ในวันที่ 10 ส.ค. 64 หลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 2 วัน สัตวแพทย์จึงตรวจแมวด้วยการแยงรูจมูกและรูทวาร และผลยืนยันติดเชื้อโควิด แต่ตอนที่เก็บสิ่งส่งตรวจ แมวจามออกมา ซึ่งขณะนั้นสัตวแพทย์ ซึ่งใส่แมสพร้อมซีลแมสแน่นหนา แต่ไม่ได้ใส่เฟซชีล เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่อีก 2 คนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ป่วย

จากนั้น 3 วัน เมื่อ 13 ส.ค.64 สัตวแพทย์เริ่มมีอาการไข้ไอน้ำมูก อีก 2 วันจึงเข้ารับการตรวจ และ พบว่าติดเชื้อโควิด และได้เข้ารับการรักษา ส่วนแมว ไม่ได้มีอาการ น้ำมูก ไอ กินอาหารได้ปกติ จึงรักษาที่หอผู้ป่วยโควิดร่วมกับหอผู้ป่วยโควิด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลแต่งกายมิดชิด ในส่วนของผู้ช่วยสัตวแพทย์ 2 คนนั้น จากการตรวจ 2 ครั้ง ไม่พบว่าติดเชื้อ

“แสดงให้เห็นว่าโอกาสการติดเชื้อจากแมวต่ำ หากไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดจริงๆ ในวันที่ 22 ส.ค.64 ผู้ป่วยและสัตวแพทย์รักษาตัว ครบ 7 วันออกจากโรงพยาบาล จากการติดตามอาการระยะหนึ่งพบว่าไม่มีผลข้างเคียงไม่มีอาการแทรกซ้อน และแมวเป็นปกติ แข็งแรงดี” รศ.ดร.นพ.ศรัญญู กล่าว

ทั้งนี้พบว่าเชื้อโควิดที่ติดในแมวขณะนั้น เป็นสายพันธุ์เดลต้า โดยการตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อโควิดที่พบในเจ้าของแมวและสัตวแพทย์ พบว่าเป็นชนิดเดียวกัน และจากการตรวจเปรียบเทียบกับตัวอย่างเชื้อที่มีอยู่ในชุมชนก็ไม่พบว่ามีลักษณะทางพันธุกรรมแบบเดียวกัน จึงเชื่อได้ว่าเชื้อชนิดนี้ ไม่ได้มีการระบาดในชุมชน แต่เป็นการระบาดเฉพาะคนสู่แมว และจากแมวสู่คน

รศ.ดร.นพ.ศรัญญู กล่าวว่า แม้จะพบว่ามีความเสี่ยงต่ำในการระบาดจากแมวสู่คน จากคนสู่แมว รวมถึงสัตว์เลี้ยงอื่นๆ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีอาการป่วย ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง

“โอกาสการแพร่เชื้อจากแมวสู่คนนั้นมีความเสี่ยงต่ำ โดยจากการศึกษานั้นพบว่ากรณีแมวติดเชื้อนั้น ไม่พบว่ามีอาการ จาม ไอ มีน้ำมูก จึงมีความเสี่ยงต่ำ และมีการตรวจพบที่รูทวารหนัก จึงแสดงได้ว่าเชื้อจะออกมาทางอุจจาระ ซึ่งปกติคนเลี้ยงไม่ได้ไปสัมผัสกับอุจจาระของสัตว์เลี้ยง แต่ก็แนะนำให้มีการทำความสะอาดทั้งล้างมือด้วยสบู่และแอลกอฮอร์ อย่างไรก็ตามงานวิจัย ยืนยันชัดว่า มีความเสี่ยงต่ำในการที่แมวจะแพร่เชื้อสู่คน ดังนั้นผู้ที่เลี้ยงสัตว์อยู่ก็อย่าได้นำสัตว์เลี้ยงไปทิ้ง แต่ขอให้มีการเฝ้าระวัง” รศ.ดร.นพ.ศรัญญู กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า