SHARE

คัดลอกแล้ว

หลัง อบจ.โพสต์แจ้งการยกเลิกกิจกรรมขบวน ‘อัญเชิญพระเกี้ยว’ ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ด้วยเหตุผล “ให้คนเท่ากัน” ซึ่งจากบันทึกของ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไล่เรียงความเป็นมาในอดีตของกิจกรรมดังกล่าว ขณะที่อดีตผู้อัญเชิญพระเกี๊ยวแสดงความเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 24 ต.ค. 2564 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแจ้ง เรื่องยกเลิกกิจกรรมขบวน “อัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สรุปว่า คณะกรรมการบริหารฯ มีมติ 29:0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือก “ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว”ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม มิให้คงอยู่ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป ให้คนเท่ากัน

จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี พบว่าเว็บไซด์ของ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความเกี่ยวกับอัญเชิญพระเกี้ยว ระบุว่า

ขบวนพาเหรดในพิธีเปิด งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ทุกปีนั้น เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมากในทุกๆ ครั้ง ส่วนหนึ่งในขบวนที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ก็คือ ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว และตราธรรมจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยทั้งสองสถาบัน ซึ่งในแต่ละปีแต่ละสถาบันจะจัดขบวนอัญเชิญได้สวยงามไม่แพ้กัน

สำหรับการอัญเชิญตราสัญลักษณ์ เข้ามาในขบวนพาเหรดของงานฟุตบอลประเพณีฯ ที่เก่าแก่ที่สุด จากหนังสือพิมพ์สยามนิกร (พิเศษ) ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2507 มีผู้อัญเชิญเป็นนิสิตหญิงเพียงคนเดียว และองค์พระเกี้ยวมีขนาดเล็กกว่าองค์พระเกี้ยวจำลองที่ใช้ในปัจจุบัน

การอัญเชิญตราสัญลักษณ์เข้ามาในสนามแข่งขันนั้นเหมือนเป็นการเปิดงาน ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการอัญเชิญตราพระเกี้ยว ทางธรรมศาสตร์จะต้องมีตราธรรมจักร ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวเปรียบดังทุกสิ่งที่เป็นสถานศึกษาแห่งนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องอัญเชิญเข้ามาในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอัญเชิญตราพระเกี้ยวเปรียบเสมือนการอัญเชิญพระพุทธเจ้าหลวงทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งเป็นผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย เข้ามาในงาน และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและเหล่ากองเชียร์ ดังประโยคที่ดังก้องอยู่ในใจชาวจุฬาฯ ทุกคนว่า “สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักอยู่เป็นคู่ขวัญ”

ในความจริงแล้ว นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน มีฐานะเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว เนื่องจากเป็นผู้ใช้พระเกี้ยวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา แต่ในงานฟุตบอลประเพณีฯ ไม่สามารถให้นิสิตจุฬาฯ ทุกคนขึ้นอัญเชิญพระเกี้ยวได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกนิสิตจุฬาฯ ที่มีความเหมาะสม มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งรูปร่าง หน้าตา บุคลิกภาพ การวางตัว กิริยา มารยาท ผลการเรียน ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีความรู้รอบเหมาะสมกับการเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ซึ่งนิสิตที่ทำหน้าที่อัญเชิญพระเกี้ยวนี้ ถือได้ว่าเป็นภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

ในสมัยก่อนจำนวนผู้อัญเชิญพระเกี้ยวมีตั้งแต่เป็นนิสิตผู้หญิงคนเดียว นิสิต 2 คน นิสิตหญิง-ชาย 2 คู่ มาจนถึงในปัจจุบันที่เป็นนิสิตหญิง-ชาย เพียงคู่เดียว บางปีคัดเลือกจากตัวแทนของคณะ มีการสัมภาษณ์จากอาจารย์ ซึ่งก็รู้ได้ในวันนั้นว่าใครได้เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ในบางปีมีการคัดเลือกจาก “นางนพมาศ” ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า “ดาวจุฬาฯ” จนภายหลังการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวก็ได้มีวิวัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว อาทิ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทรงเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 62 และมีหลายคนที่เป็นคนดังในแวดวงต่าง ๆ อาทิ จิระนันท์ พิตรปรีชา จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 32, แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 55, แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 66, ฟาง-ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 68

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Jay Patajit Tangsinmunkong ระบุว่า เห็นมีมิตรสหายหลายคนแชร์มาได้ดูว่า มีการยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานบอลแล้ว จากนี้ไป ภาพนี้คงจะกลายเป็นเพียงอดีต เป็นหลักฐานที่บอกเล่าค่านิยมทางสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง…ที่มันหมดยุคหมดสมัยไปแล้ว

พูดตรง ๆ ว่า ตอนที่ไปสมัครคัดเลือกผู้อัญเชิญฯ หรือแม้แต่ตอนที่นั่งบนเสลี่ยงที่มีคนจำนวนมากแบกหาม เรายังคงเป็น ignorant ที่คิดเพียงว่า นี่เป็นกิจกรรมนึงของมหาวิทยาลัย และดีใจเหลือเกินตอนที่ได้รับเลือก…

เราไม่ทันคิดด้วยซ้ำ ว่า นี่คือเครื่องสะท้อนและเป็นการผลิตซ้ำระบอบอำนาจนิยม ในฐานะนิสิตเก่าคนนึง เราดีใจนะ ที่เห็นจุฬา ฯ ก้าวหน้าไปขนาดนี้ เห็นนิสิตรุ่นนี้ อบจ. รุ่นนี้ที่มีความคิดและ awareness ต่อสังคมไปไกลกว่าตอนที่เราอายุเท่าพวกคุณมาก…เรานับถือในความกล้าตั้งคำถามและกล้าเปลี่ยนแปลง…ทั้ง ๆ ที่รู้ทั้งรู้ว่าจะต้องเผชิญแรงต้านจากศิษย์เก่ามากมาย…

เราหวังเหลือเกินว่า สิ่งนี้จะแปลว่า ตัวมหาลัยและสังคมไทยเองได้เดินมาไกลมากจากจุดที่มันเคยอยู่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เมื่อโลกเปลี่ยนไป ทุกค่านิยมย่อมมีวันหมดสมัย และเมื่อมันหมดสมัยแล้ว ก็ควรถูกปฏิรูป หรือแทนที่ด้วยความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ…ก่อนที่ค่านิยมที่ล้าหลังนั้น จะกลายเป็นตรวนโซ่ยึดตัวเองกับอดีต หรือกลายเป็นกรงขังตัวเองไปในที่สุด เราเชื่อนะว่างานบอล version ใหม่ที่ “ให้คนเท่ากัน”จะมีสีสันและมีอะไรให้รอคอยยิ่งกว่าเดิม รอติดตามค่ะ เจ อดีตผู้อัญเชิญพระเกี๊ยว งานบอล 64

ที่มา: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7 พ.ย. 2552

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า