SHARE

คัดลอกแล้ว

อบจ.ขอความเห็นนิสิต-บุคลากร และประชาชนทั่วไป หลังหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ กรณีมติยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์

วันที่ 24 ต.ค. 2564 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ยกเลิกประเพณีอันดีงาม ไม่สืบสานวัฒนธรรมที่เคยมี สืบเนื่องจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ มีมติให้ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ จึงเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในสังคมจากหลายทิศทาง ทั้งนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ตลอดจนคนในสังคมที่เกี่ยวข้องกับจุฬาฯ โดยตรงหรือไม่ก็ดี ต่างแสดงความคิดเห็นว่า “อะไรคือความเป็นจุฬาฯ ที่แท้จริง” หากไม่ใช่พระเกี้ยวอันสูงศักดิ์

ในโอกาสนี้ อบจ. จึงขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าวผ่านแบบสอบถามด้านล่าง สำหรับนิสิต-บุคลากร (ใช้อีเมลจุฬาฯ เท่านั้น):bit.ly/3nmZJrN
สำหรับประชาชนทั่วไป: bit.ly/2XG3yPZ
หรือแสกนคิวอาร์โค้ดในรูป เพื่อร่วมสะท้อนเสียงของประชาชนต่อมหาวิทยาลัยที่อ้างตนเป็น “เสาหลักของประเทศ” ว่าแท้จริงแล้ว “ความเป็นจุฬาฯ” ที่ประชาชนมองเห็นหรือที่ควรจะเป็นคืออะไร?
และหากยังคงมีการจัดงานฟุตบอลประเพณีอยู่ ท่านอยากเห็นงานฟุตบอลประเพณีที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างไร?

ตลอดทั้งวันมีผู้ออกมาแสดงความเห็นเรื่องนี้หลากหลายบุคคล อาทิ

นายนันทวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และศิษย์เก่าจุฬาฯ โพสต์ข้อความ “จดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยมีเนื้อหาว่า วันที่ 23 ตุลาคม คือวันปิยมหาราช เป็นวันที่คนไทยทั่วทั้งประเทศจัดงานวางพวงมาลาถวายบังคมต่อพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ พระปิยมหาราช เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านมีต่อชาวไทย และที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีการจัดงานถวายมาลาต่อหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล

แต่ในวันนั้น อบจ.กลับมีการออกแถลงการณ์จะไม่อัญเชิญพระเกี้ยวในการจัดงานบอลประเพณี ประจำปีระหว่างจุฬาฯและธรรมศาสตร์ แต่ใข้วาทะกรรมด้วยค่าพระเกี้ยวที่เป็นของสูง และเป็นสัญลักษณ์ของจุฬาฯ นิสิตจุฬาทุกรุ่น และประชาชนต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนชาวไทย พระคุณของพระองค์ทรงสูงส่งเกินกว่า อบจ.ไม่กี่คนจะมาด้อยค่าพระองค์ท่าน

“ผมขอเรียกร้องผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่านิ่งเฉยต่อสิ่งเกิดขึ้นซ้ำซากในมหาวิทยาลัย อย่าให้นิสิตจุฬาฯต้องผิดหวังต่อการบริหารงานของอธิการและผู้บริหารจุฬาฯ โดยไม่ทำอะไรในการปกป้องชื่อเสียงและพระเกียรติคุณของพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” อดีตรองผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติและศิษย์เก่าจุฬาฯ ระบุ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โพสต์โดยสรุปว่า พระเกี้ยว สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชาวนิสิตจุฬาฯ อันมาจากชื่อของมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย

หากสืบประวัติที่มาของประเพณีการอัญเชิญตราพระเกี้ยวเข้ามาในสนามแข่งขันนั้น น่าจะคล้ายเหมือนเป็นการเปิดงาน ซึ่งทางธรรมศาสตร์จะต้องมีตราธรรมจักร ส่วนจุฬาฯ เชิญตราพระเกี้ยว

การอัญเชิญตราพระเกี้ยวเปรียบเสมือนการอัญเชิญพระพุทธเจ้าหลวงทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งเป็นผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย เข้ามาในงาน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและเหล่ากองเชียร์ ดังประโยคที่ดังก้องอยู่ในใจชาวจุฬาฯ ทุกคนว่า “สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักอยู่เป็นคู่ขวัญ”

ผมในฐานะอดีตหัวหน้านิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2536 มีความภาคภูมิใจในอดีตที่ได้เคยเป็นส่วนหนึ่งในการเชิญพระเกี้ยวเข้ามาในงานฟุตบอลประเพณี ผมจำได้ดีว่าพวกเราทุกคนจะแบ่งหน้าที่กันทำกิจกรรมด้วยความภาคภูมิใจ ผมเชื่อมั่นว่านิสิตทุกคนที่อยู่ในงานมีความสุขและดีใจที่ได้มาร่วม

แม้ว่าจะเป็นคนแบกเสลี่ยง เราก็ภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ของเรา สังคมเปลี่ยน วัฒนธรรมบางอย่างอาจต้องเปลี่ยน แต่คุณค่าของพระเกี้ยวสำหรับชาวจุฬาไม่เคยเปลี่ยน ผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆครับ และขอให้น้องๆนิสิตจุฬา ไม่ว่าจะจัดกิจกรรมกรรมกันอย่างไร ก็ขอคิดถึงคุณค่าของพระเกี้ยว และ เกียรติภูมิที่พวกเรายึดถือกันไว้ตลอดมา เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน

ด้านนายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคไทยสร้างไทย อดีต รมว.พาณิชย์ โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ @watanamuangsook ระบุว่า การแข่งขันฟุตบอลประเพณีเป็นกิจกรรมของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และสมาคมศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ ส่วนองค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ (อบจ.) เป็นหนึ่งในคณะทำงาน ถ้าคณะผู้จัดมีความประสงค์จะให้มีขบวนอัญเชิญก็เป็นเรื่องของผู้จัด ส่วน อบจ .ไม่มีสิทธิห้ามใครใช้พระเกี้ยวเพราะพระเกี้ยวไม่ได้เป็นสมบัติของ อบจ. ผมพูดตามหลักการ การใช้สิทธิต้องมีความชอบธรรมและเป็นสิทธิที่เรามี เราไปใช้สิทธิของคนอื่นไม่ได้ครับ ส่วนจะมีคนไปร่วมขบวนหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่อง

ขอบคุณภาพ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7 พ.ย. 2552

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า