SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯ สัญจร ครั้งที่ 6 เขตดอนเมือง เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและรถติด เตรียมพัฒนาพื้นที่สีเขียว ให้เป็นสวน 15 นาที ส่วนสถานบันเทิงที่ไม่มีความปลอดภัยมีทั้งสั่งปิดและให้ดำเนินการแก้ไขแล้ว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมเรื่องการบริหารจัดการ ปัญหาในการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตดอนเมือง ในการลงพื้นที่ ผู้ว่าฯ สัญจร ครั้งที่ 6 ณ เขตดอนเมือง ว่าปัญหาน้ำท่วมบริเวณถนนช่างอากาศอุทิศได้แก้ไขโดยติดตั้งปั๊มเพิ่ม เพื่อดึงน้ำมาลงที่คลองเปรมประชากร ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น คลองเปรมประชากรที่ท่วมหลายวัน ท่วมระยะสั้นลง ในส่วนที่ยังไม่ได้แก้ไขให้รีบดำเนินการ ในพื้นที่เขตดอนเมือง เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมในหลาย ๆ จุด

โดยได้ให้นโยบายในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว คลองเปรมประชากรรับน้ำจากด้านเหนือจากคลองรังสิตมาออกแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูน้ำมากมาย ต้องเร่งขุดลอกเพื่อทำให้การระบายน้ำได้ดีขึ้นมากพอสมควร ส่วนการจราจรบริเวณดอนเมือง ซึ่งมีถนนเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม เช่น ถนนสรงประภา ถนนวิภาวดี และถนนแจ้งวัฒนะ เป็นเหมือนเส้นเลือดฝอย ทำให้การจราจรติดขัด โดยเฉพาะถนนสรงประภาที่มีการจอดรถ และการกลับรถผิดกฎหมาย มีแท็กซี่จอดรอรับคน ทำให้รถติด ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง บมจ.ท่าอากาศยานไทย สำนักงานเขต อนาคตคงดีขึ้น เพราะรถไฟถูกย้ายไปอยู่ด้านบนแล้ว การจราจรก็อาจจะดีขึ้น

เรื่องสาธารณสุขเป็นปัญหาหลักเหมือนกัน เพราะเราไม่มีโรงพยาบาลในสังกัดกทม. ในพื้นที่เขตดอนเมือง ต้องมาใช้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เขตสายไหม ส่วนข้อดีคือเรามีสวน มีคนบริจาคพื้นที่จัดทำสวน 15 นาทีอยู่หลายแห่ง มีพื้นที่ 12 ไร่ แถวคลองบ้านใหม่ เป็นพื้นที่รกร้างอยู่ บริจาคให้เป็นสวนสาธารณะ และมีที่กทม. อยู่ 50 ไร่ ต้องไปดูว่าพัฒนาอย่างไร มีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องขยะ เรื่องฝาท่อ ผอ.เขตก็เร่งดำเนินการค่อย ๆ ทยอยแก้ไขปัญหาต่อไป

ส่วนในช่วงบ่าย นายชัชชาติ ลงชุมชน เริ่มจากลงพื้นที่ซอยช่างอากาศอุทิศ 16 เพื่อติดตามปัญหาน้ำท่วม พร้อมพูดคุยกับประชาชน เพื่อสอบถามผลการแก้ไขปัญหา โดยประชาชนได้แจ้งว่าน้ำระบายได้เร็วขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายวัน ซึ่งภายในซอยได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 4 สูบ เพื่อเร่งผลักดันน้ำระบายลงคลองเปรมประชากรได้เร็วยิ่งขึ้น

ต่อมาได้สำรวจพื้นที่บริเวณท้ายซอยนาวงประชาพัฒนา 21 มีขนาด 4-1-68 ไร่ ติดคลองบ้านใหม่ เพื่อปรับปรุงพื้นที่ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตามนโยบายสวน 15 นาทีทั่วกรุง ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 4 หมู่บ้าน และ 1 ชุมชน (ประมาณ 780 หลังคาเรือน) ได้มีพื้นที่สาธารณะที่ทำกิจกรรม กระจายตัวอยู่ทุกที่ และสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเดินภายใน 15 นาที

 จากนั้นได้เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอนเมืองวิลล่า ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ ประเภทกลุ่ม L ชุมชนขนาดใหญ่ โครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) โดยประชาชนในชุมชนร้องขอหลังคาโดมเพื่อทำกิจกรรมผู้สูงอายุ จากนั้นลงพื้นที่บริเวณค่ายลูกเสือ กรุงเทพมหานคร (พิศลยบุตร) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ถนนสรงประภา มีเนื้อที่ขนาด 50 ไร่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่ ในส่วนสาธารณูปโภค ภายในมีบึงน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นแก้มลิงรับน้ำได้ และพัฒนาเป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนได้ออกกำลังกายและทำกิจกรรม

ต่อมาไปลงพื้นที่ชุมชนปิ่นเจริญ 2 พบปะประชาชน โดยประธานชุมชนได้แจ้งว่า เวลาฝนตกยังมีปัญหาน้ำท่วมหลายจุด และขอให้พัฒนาพื้นที่ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ปัจจุบันมีเด็ก 26 คน ครูอาสา 2 คน นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมบ้านหนังสือ และศูนย์สุขภาพชุมชนด้วย โดย ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ อาจจะเพิ่ม อสส. และจัดหน่วยให้บริการเชิงรุกในชุมชนให้มากขึ้น จากนั้น ลงพื้นที่บริเวณชุมชนปิ่นเจริญ 1 เพื่อสำรวจที่ดินขนาด 12 ไร่ โดยเจ้าของที่ดินยินยอมให้ กทม. ใช้พื้นที่ เพื่อสาธารณประโยชน์ 

นายชัชชาติ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกรณีปัญหาผับบาร์ที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดว่า ได้มีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. 65 ให้ฝ่ายโยธาดำเนินการตรวจสอบทั้งหมดเลย เรื่องความปลอดภัยสถานบริการในพื้นที่ เรื่องของทางออก ประตูหนีไฟ ได้รับรายงานมามีทั้งหมด 83 แห่งที่มีปัญหา ซึ่งบางแห่งได้สั่งปิด สั่งให้ดำเนินการแก้ไขเรื่องทางหนีไฟให้เรียบร้อย แต่ไม่ได้สั่งปิดทั้ง 83 แห่ง บางแห่งก็ให้ดำเนินการแก้ไข เราจะไปดูอีกทีว่าแก้ไขแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่แก้ก็ต้องดำเนินการตามระเบียบ เราได้ดำเนินการล่วงหน้าก่อนแล้ว แต่ไปประจวบกับเหตุการณ์ที่สัตหีบพอดี ก็ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อไป 

  ด้านพล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจสถานบริการมาตลอด 2 วัน เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยและมั่นใจนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลโซนนิ่งในการเปิดสถานบริการ ที่ตั้งของข้อมูล และสถานที่เปิดจริงว่าเป็นอย่างไร สถานที่จากการลงตรวจ โดยเฉพาะสถานที่ใหญ่ ๆ ถือว่ามีความปลอดภัยรัดกุม แต่พบปัญหาเรื่องของใบอนุญาต ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจนครบาลในการให้อนุญาต ในฐานะนายทะเบียน ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ ส่วนกทม.จะดูแลเรื่องกายภาพความปลอดภัย อัคคีภัย ไฟส่องสว่าง ไฟฉุกเฉิน ป้ายบอกทาง ซึ่งจะออกใบอนุญาต ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า