SHARE

คัดลอกแล้ว

ส.ส.ประชาธิปัตย์ ออกโรงจี้นายกฯ เปลี่ยนตัว รมว.พลังงาน จาก ‘สุพัฒนพงษ์’ เป็น ‘กรณ์’ เตรียมตั้งกระทู้ถามกรณีค่ากลั่นน้ำมันพุ่งขึ้น 10 เท่าในปีเดียว

จากกรณี นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ออกมาระบุ “คนไทยโดนปล้น ค่ากลั่นน้ำมันขึ้นพรวด 10 เท่าในปีเดียว” เผยข้อมูลราคาค่ากลั่นน้ำมันในช่วงเวลาเดียวกัน พบปี 2563 อยู่ที่ 0.88 บาทต่อลิตร ปี 2564 อยู่ที่ 0.87 บาทต่อลิตร แต่ปี 2565 กระโดดมาอยู่ที่ 8.56 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เท่า เท่ากับค่ากลั่นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ไปเพิ่มตามราคาตลาดน้ำมันสิงคโปร์ ทั้งที่ต้นทุนไม่ได้เพิ่มขึ้น กลายเป็นภาระประชาชน ภาระกองทุนน้ำมัน พร้อมตั้งคำถามเหตุใดรัฐปล่อยให้ฟันกำไรได้ขนาดนี้ (อ่านข่าวนี้ : พรรคกล้าชี้เหตุคนไทยประสบวิกฤตด้านพลังงาน

นายกฯ เผยแทรกแซงค่ากลั่นน้ำมันไม่ได้ ขอความร่วมมือเอกชนแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ในวันนี้ (13 มิ.ย. 65) กรณีค่ากลั่นน้ำมันว่า กำลังหาทางอยู่ในเรื่องการกลั่น ได้ให้ตรวจสอบไปแล้วพบว่า ต้องเป็นการขอความร่วมมือ พยายามทำให้ดีที่สุด หลายคนก็ต้องพยายามติดตามดูด้วยว่า ราคาต้นทุนน้ำมันขึ้นเกือบทุกวัน ซึ่งก็ได้ลดในส่วนของรัฐบาลไปพอสมควร เช่น ภาษี, การนำเงินลงไปช่วยเหลือ แต่โรงกลั่นมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ ก็ได้ขอความร่วมมือไปแล้ว ทราบจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ยืนยันทำทุกอย่างเต็มที่ในกรอบที่สามารถดำเนินการได้

ผู้สื่อข่าวถามกรณี กองทุนน้ำมันติดหนี้สะสม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวดังนี้ “แล้วจะทำไงอะ ลองไปดูสิที่อื่น หรือเฉพาะประเทศไทยหรือเปล่า เป็นทุกที่แหละมั้ง มันอยู่ที่รัฐบาลดูแลประชาชนไปมากน้อยเพียงใด เราก็พยายามจะดูแลหลายมิติด้วยกัน ไม่ว่าจะค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส อะไรต่างๆ ก็ใช้เงินจำนวนมากลงไป …วันนี้ก็ดูให้ครอบคลุมทุกมิติ ถ้าเราดูแลประชาชนแน่นอนค่าใช้จ่ายก็ต้องเพิ่มขึ้น แล้วมาจากไหนล่ะ มันก็มีทางออก วิธีการของรัฐบาลก็มีไม่กี่วิธีการ ต้องหาเงินมาเสริมตรงนี้ให้ ถ้าไม่ทำอะไรเลยมันก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี นี่พยายามทำให้ไงมากน้อยก็ต้องทำ พยายามทำลองเปรียบเทียบดูแล้วกันกับประเทศอื่นเขาว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง ราคาน้ำมันก็เห็นอยู่แล้วว่าต่างยังไง ต้องมองบริบทที่เกี่ยวข้องทั้งภายในภายนอกด้วย” นายกฯ ระบุ

‘อัครเดช’ ส.ส.ประชาธิปัตย์ เรียกร้องเปลี่ยนตัว ‘รมว.พลังงาน’ เสนอคนต่างพรรค

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานคณะอนุ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน คณะที่สอง ในคณะกมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน แถลงว่า คณะอนุ กมธ. ได้มีหนังสือไปยังบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดต้นทุนการกลั่นน้ำมันในประเทศของ ปตท. เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของคณะอนุ กมธ. โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า บริษัทฯ มีสถานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวได้

(สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ : กระทรวงพลังงาน)

อย่างไรก็ตาม ตนได้ตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะมาตอบกระทู้ถามในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ พร้อมขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีกำกับดูแลเกี่ยวกับราคาน้ำมันอย่างใกล้ต่อไป

“ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานท่านนี้ ทำไม่ได้ ท่านเปลี่ยนไปเลยครับ ท่านเอาคุณกรณ์ จาติกวณิช มาทำ ประชาชนจะได้หายเดือดร้อน จากภาวะวิกฤตน้ำมันแพงในขณะนี้ ผมเข้าใจว่าน้ำมันดิบมันแพงทั่วโลก แต่ในฐานะอนุกมธ. มาศึกษาดูแล้ว เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ มาสอบสวนดูแล้ว มันยังสามารถใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหาจากหนักให้เป็นเบาได้ แต่พบว่ารัฐมนตรีพลังงานไม่เคยมาชี้แจงด้วยตัวเองเลย แถมกระทู้ก็เลื่อนตอบ แสดงถึงความไม่จริงใจและไม่รับผิดชอบด้วยต่อทั้งกรรมาธิการและสภาผู้แทนราษฎร ผมก็บอกท่านนายกฯ นะครับว่า ถ้าท่านปล่อยสถานการณ์นี้เป็นไป รัฐบาลก็จะแย่ลงแย่ลง แล้วประชาชนก็เดือดร้อนมากขึ้น…” ส.ส.อัครเดช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เสนอ

‘กอร์ปศักดิ์’ แนะออกมิติครม. ชะลอเซ็นโครงการล่าช้า นำเงินหลายหมื่นล้านเร่งช่วยผู้ใช้น้ำมัน

ด้านนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานยุทธศาสตร์และนโยบาย พรรคกล้า เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว แนะรัฐบาลออกมติคณะรัฐมนตรี สั่งหน่วยงานชะลอการลงนามโครงการที่ล่าช้า เพื่อนำเงินที่เหลือจากปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2565 ไปช่วยเหลือผู้ใช้น้ำมัน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า