Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มท.1 ตอบกระทู้สด ส.ว. กรณีการควบคุมอาวุธปืนก่ออาชญากรรม จ่อแก้กฎหมายขอใบอนุญาตต้องมี “ใบรับรองแพทย์-บุคคลรับรองพฤติกรรม” ทบทวนขอ 3-5 ปี พร้อมนิรโทษกรรมคนมี “ปืนเถื่อน”

ในการประชุมวุฒิสภา มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ซึ่งได้พิจารณากระทู้สดของนายอำพล จินดาวัฒนะ ส.ว. เรื่อง การควบคุมอาวุธปืน ถามนายกรัฐมนตรี ว่า ในปี 65 มีการใช้อาวุธปืนทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจำนวนมาก หลายครั้งหลายเหตุการณ์ และดูเหมือนจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง คนที่คิดทำรุนแรงถ้าไม่มีอาวุธก็ไม่รุนแรงหรือเสียหาย แต่ถ้ามีอาวุธจะก่อเกิดความเสียหายร้ายแรง เพราะฉะนั้นอาวุธปืนถือว่ามีความสำคัญ

จากสถิติการเสียชีวิตด้วยการใช้อาวุธปืนของไทยค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศและในอาเซียน จึงอยากถามว่ารัฐบาลมีข้อมูลในการครอบครองอาวุธปืนของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ อย่างไร มีมาตรการในการใช้อาวุธปืนของเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างไร รวมทั้งมาตรการการค้าอาวุธปืนในตลาดมืด และการค้าออนไลน์อย่างไร และรัฐบาลจะมีหลักประกันใดว่าจะไม่มีการใช้อาวุธปืนทำร้ายเหมือนเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างที่ผ่านมา 

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี ว่า ที่ผ่านมามีการใช้อาวุธปืนทำการก่อเหตุจำนวนมาก แต่ทางฝ่ายปกครองดูเหมือนจะมีมาตรการควบคุมอาวุธปืนนั้น ตามกฎหมายต้องทำเรื่องขอซื้อกับเจ้าหน้าที่นายทะเบียน ซึ่งจะถูกตรวจสอบคุณสมบัติผู้ครอบครองว่ามีความครบถ้วนหรือไม่ เช่น ไม่ต้องโทษจำคุกตามกฎหมายอาญา เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่มีการประพฤติชั่วร้ายแรง

อย่างไรก็ดี มีแนวคิดที่จะปฏิบัติให้รัดกุมมากขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ใช่คนที่มีสติฟั่นเฟือน นอกจากนั้นอาจต้องมีการรับรองพฤติกรรมโดยบุคคล เช่น นายจ้าง  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้บังคับบัญชา และต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ เช่น 3-5 ปี เพราะคนที่ขออนุญาตซื้อและใช้อาวุธปืนนั้น นานวันอาจจะเปลี่ยนไป เพราะยุ่งเกี่ยวกับการพนัน ยาเสพติด อบายมุข ดื่มสุรา ขาดสติ ดังนั้นการขออนุญาตครั้งเดียวพิสูจน์ไม่ได้ จึงต้องมีการรับรองโดยบุคคล

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวต่อว่า  ทั้งนี้จากสถิติการก่อเหตุอาชญากรรมจากอาวุธปืน ปี 65 พบว่าเป็นปืนที่ไม่จดทะเบียนถึงร้อยละ 98.53 ดังนั้นต้องเร่งแก้ปัญหาปืนเถื่อน อาทิ ปืนไทยประดิษฐ์ ปืนดัดแปลง ที่ถูกนำไปก่ออาชญากรรมมาก พุ่งเป้าการแก้ปัญหาด้วยการนำปืนเถื่อนเข้าระบบ อาจจะออกกฎหมายให้นำมาคืนเหมือนที่เคยปฏิบัติ เช่น ให้นำมาคืนโดยไม่มีความผิด หากสามารถจดทะเบียนได้จะอนุญาตให้ขึ้น ขณะเดียวกันต้องปรับปรุงบทลงโทษ ส่วนการตรวจสอบการขายอาวุธปืนผ่านช่องทางออนไลน์ ตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ หากไม่มีใบอนุญาต เจ้าหน้าที่ตำรวจและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อยู่ระหว่างการดำเนินการ 

“ถ้าไม่มีโทษที่แรงพอ คนจะไม่ให้ความสำคัญ ต้องแรงกว่านี้ ปัจจุบันมีโทษปรับ 2,000 – 20,000 บาท จำคุก 1-10 ปี ดังนั้นต้องเพิ่มโทษให้แรงเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าเพราะเป็นคดีอาญาลงโทษรุนแรง ส่วนคนที่พกปืนไปในสถานที่ต่างๆ นั้น ตามกฎหมายต้องได้รับอนุญาต ซึ่งการจะให้ใบพกไปสถานที่ต่างๆ นั้นยากมากและให้ปีต่อปี หากพกโดยไม่ได้รับอนุญาต ง่ายๆ คือ เจ้าหน้าที่รัฐต้องเข้มงวดดำเนินคดีตามกฎหมาย  ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ผมยืนยันได้ว่า ข้าราชการทหาร ตำรวจ บุคคลทั่วไป พกถ้วนหน้ากัน คำถามที่ว่าจะทำอย่างไรกับคนที่พกปืนไปโดยไม่ขออนุญาต เจ้าหน้าที่ต้องไปจับไปกุมแค่นั้นผมขอตอบง่ายๆ”  พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า