SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปประเด็น ศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก วินิจฉัย ‘ประยุทธ์’ ยังดำรงตำแหน่งไม่ครบ ตามรัฐธรรมนูญ 60 ที่ประกาศใช้วันที่ 6 เม.ย. 2560

ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่หรือไม่ เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (30 ก.ย. 65)

ไฮไลต์ของคำวินิจฉัย มีดังนี้

“ไม่นับ” การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีก่อนรัฐธรรมนูญ 60 มีผลบังคับใช้ 

ศาลระบุว่า “ผู้ถูกร้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สนช. มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ถวายคำแนะนำเห็นได้ว่า ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งต้องมีที่มาตาม มาตรา 158 วรรคสอง กล่าวคือได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร”

ทั้งนี้ระบุด้วยว่า “เมื่อรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2560  ย่อมมีความหมายว่า ทุกบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญย่อมมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป เว้นแต่ในบทเฉพาะกาล จะมีการบัญญัติให้เรื่องใดยังไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้นไม่ว่ากรณีใด เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ใช้บังคับทุกอย่างจึงต้องเริ่มนับทันที กรณีตามมาตรา 158 วรรคสี่ ในเรื่องระยะเวลา 8 ปี จึงต้องเริ่มนับทันที นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยได้ว่า ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 158 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญนี้ด้วย”

บันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 เป็นเพียงแนวคิด

ตอนหนึ่งศาลระบุ “เห็นว่าการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ 60 เป็นเพียงการอภิบายแนวความคิด เป็นการพิจารณาภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ถึง 1 ปี 5 ประกอบกับความเห็นของประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และรองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 1 ที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าว มิได้นำไประบุไว้เป็นความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 นอกจากนี้ตามบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาระยะเวลาการกำหนดเวลาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 วรรคสี่ ไม่ปรากฏประเด็นในการพิจาณณาหรืออภิปราย เกี่ยวกับการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีว่าสามารถนับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้บังคับด้วย

เริ่มรับวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 6 เม.ย. 2560 ที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้

“การกำหนดเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ จึงมีความหมายเฉพาะการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ดังนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้บังคับในวันที่ 6 เม.ย. 2560 และผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) ดังกล่าวจึงเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้รัฐธรรมนูญนี้  ต้องอยู่ภายใต้บังคับตามมาตรา 158 วรรคสี่ ทั้งนี้การให้รัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จะต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นวันเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่ง”

“ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) จึงดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ตามความมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นับตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 ถึงวันที่ 24 ส.ค. 2565 ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่ครบกำหนดเวลา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) จึงไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่”

“อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมาก จึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) ไม่สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามมาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า