SHARE

คัดลอกแล้ว

‘นภาพล จีระกุล’ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) 3 สมัย ของพรรคประชาธิปัตย์ อีกหนึ่งบทบาทคือเป็นคุณพ่อของ ‘โฟกัส จีระกุล’ นักแสดงและเกมเมอร์สาววัยรุ่น ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการอีสปอร์ต (ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมและอีสปอร์ต สภาผู้แทนราษฎร) เปิดใจให้สัมภาษณ์ กับ workpointTODAY

(ภาพจาก IG : focusbabyhippo)

การเมืองระหว่าง ‘ลูกสาว’ กับ ‘พ่อ’ เรื่องความคิด ต่างให้อิสระกัน

“เรื่องการเมืองผมให้อิสระเขาจะคิดอย่างไรได้ เรื่องการเมืองอย่างเดียวไม่ใช่เรื่องอย่างอื่น การเมืองคือเราไม่สามารถ เขาโตแล้ว 28 แล้ว คือความคิดเขา เขาคิดอย่างไรเป็นความคิดเขา ผมไม่เข้าไปยุ่ง การเมืองบอกเต็มที่ คุณจะอย่างไรคิดไป ไม่เป็นไร ความคิดเป็นของเขาเอง เพียงแต่มีการพูดนิดหน่อย แต่ว่าตอนนี้พูดยาก เด็กยุคใหม่นี้ เขารับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเน็ตเยอะ พูดยาก เหมือนทุกที่ ผมไปเดินในพื้นที่เจอชาวบ้านก็เหมือนกัน บอกลูกคิดอีกอย่าง คุยกัน ตอนนี้เหมือนกันหมด ไม่มีอะไรแตกต่างมากมาย มีน้อยมากที่ลูกจะฟังพ่อแม่ สมัยก่อนมีลูกฟังแต่สมัยนี้พ่อแม่ต้องฟังลูก สลับกันแล้ว”

“ตอนนี้พอดีเขาไปซื้อบ้านแยกอยู่ ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกับผม เจอกันอาทิตย์ละครั้ง สองครั้ง มาทานข้าวกัน ส่วนใหญ่เรื่องการเมืองจะไม่ค่อยได้คุยกัน เขาแสดงความคิดเห็นทางโซเชียล”

“ผมเคยพาเขาไปหาเสียงกับผมตอนเด็กๆ ตอนแฟนฉัน ดังๆ เลย ตอนนั้นเขาก็โอเค ประชาธิปัตย์ เขาไม่มีปัญหาอะไร เด็กๆ เขาอาจจะยังไม่ได้คิดเรื่องพวกนี้มากมาย ตั้งแต่ ป.6 เขาก็ไปเดินกับผมแล้ว ไปเดินหาเสียงกับผม เวลาผมไปหาเสียงเขาก็ไปเดินด้วย”

แต่ถ้าเลือกตั้งครั้งต่อไป “เขาคงไม่มาเดินแล้ว มาเดินก็คงลำบากไม่ได้แล้ว” (หัวเราะ)

แม้คนละแนวคิดแต่ไม่มีปัญหาอะไรในครอบครัว

“ไม่มีๆ ในครอบครัวไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหาในครอบครัว เพราะผมอิสระให้คิด เขาคิดได้ เขาคิดอย่างไร ก็คิดไป แต่ว่าคิดภายในกรอบอย่าว่ามาก แต่บางทีเราก็ห้ามเขาไม่ได้ บางทีโซเชียลมันไปแล้ว เราไม่ทันห้าม เวลาเขาโพสต์ส่วนตัว เราก็ไม่รู้ใช่ไหม ก็คุยกันว่าให้ขนาดไหน แต่ว่าเขาฟังเราขนาดไหน ตอนนี้ไม่สามารถบังคับได้มากถึงขนาดนั้นแล้ว”

อนาคตทางการเมืองท้องถิ่นในยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนไป

สำหรับผู้ที่คว่ำหวอดในสนามการเลือกตั้ง ส.ก. มากว่า 20 ปี อย่าง ‘นภาพล’ ยังคงเชื่อมั่นในพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งที่มีหลายพรรคเข้ามาทาบทาม แต่เขาได้ตัดสินใจแล้วว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพฯ ในครั้งต่อไป พรรคประชาธิปัตย์ จะยังมีผู้สมัคร ส.ก. เขตบางกอกน้อย ชื่อ ‘นภาพล จีระกุล’ เพราะเชื่อมั่นในการลงพื้นที่ทำงานกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยทิ้งพื้นที่ ชาวบ้านรู้จัก “ความใกล้ชิด” จะเอาชนะใจมากกว่า “กระแส”

นอกจากเชื่อมั่นในคะแนนเสียงของตนเองที่การเลือกตั้งครั้งที่แล้วสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ถึง 9,000 คะแนน สูงที่สุดในการเลือกตั้ง ส.ก. แล้ว “บุคคล” ที่ทำให้ ‘นภาพล’ ยังปักใจอยู่กับ พรรคประชาธิปัตย์ คือ ‘องอาจ คล้ามไพบูลย์’ รองหัวหน้าพรรคและประธาน ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์

(ภาพจาก FB : อดีต ส.ก.นภาพล จีระกุล)

“ผมทำงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงตอนนี้ 20 กว่าปี ไม่เคยห่างชาวบ้าน อยู่กับชาวบ้านตลอด ทั้งมีเด็ก ผู้สูงอายุ อย่างเด็กรุ่นใหม่เขาเจอผมตั้งแต่เรียนชั้นประถม เพราะผมเข้าไปดูแลโรงเรียนพื้นที่บางกอกน้อย มี 15 โรง เขาไปดูแลทุกโรง ผมเคยเป็นประธานสาขาพรรคของประชาธิปัตย์ เขตบางกอกน้อย ผมเคยหาทุนให้ทุกโรงเรียนในพื้นที่ หาทุนจัดงาน ให้เด็กเรียนดีแต่ยากจน เราก็สัมผัสกับนักเรียนตั้งแต่เด็ก มีวัยรุ่นที่ยังพูดคุยสนับสนุนเราดี แต่ว่าบางส่วนที่ไปตามกระแสก็มีเหมือนกัน ส่วนตัวเวลาคุยกับชาวบ้านเขาบอกว่า การเมืองใหญ่เขาก็จะเลือกตามกระแส ตามพรรคที่เขาชอบ แต่ถ้าเป็นการเมืองท้องถิ่นก็เน้นตัวบุคคลมากกว่าเขาพูดอย่างนั้น เพราะผมสัมผัสเขาตลอดเวลาไม่เคยทิ้ง”

ลูกสาวไม่เข้ามายุ่งกับเรื่องการเมืองของพ่อที่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์

“เรื่องนี้เขาไม่ยุ่ง ไม่ยุ่งกับผมเลย เราอยู่ที่ไหน สำคัญที่อุดมการณ์เป็นอย่างไร ผมยังเชื่อมั่นว่า ประชาธิปัตย์มีอุดมการณ์ที่ดีที่สุดในตอนนี้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่มี ก็มีพรรคอื่นมาชวนไปเหมือนกัน ส.ก. ของประชาธิปัตย์ย้ายไปเยอะเลย คนเก่าเหลือไม่ถึงครึ่ง ผมว่าเขากลัว เพราะที่ผ่านมา ประชาธิปัตย์ตกหมดเลย ส.ส. ไม่เหลือสักคน ไม่ใช่ว่าตกธรรมดา แต่คะแนนมาเป็นอันดับ 3 อันดับ 4 ทั้งกทม. น้อยมากที่เป็นอันดับ 2  คิดว่า คนที่เขาไม่มั่นใจ คงคิดว่าอยู่ประชาธิปัตย์น่าจะไม่รอด แต่เรายังมั่นใจ เราทำงานตลอดไม่ทิ้ง”

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด กทม. มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุดของประเทศ ‘นภาพล’ บอกว่า ตอนลงพื้นที่เจอชาวบ้านไม่มีที่รักษาตัว ต้องกักตัวอยู่กับบ้าน ทางภาครัฐยังเข้าไม่ถึง เลยใช้เงินส่วนตัวส่งข้าวกล่องให้ชาวบ้านที่ไม่มีที่รักษาตัว วันละ 2 มื้อต่อคน ติดต่อกัน 141 วัน จนมี Home Isolation และยังเข้าไปฉีดยาฆ่าเชื้อให้ทั้งเขตบางกอกน้อยและแจกเจลแอลกอฮอล์เป็นแสนหลอด

“แล้วพรรคไม่ผิด แล้วเราจะทิ้ง ผมอยู่ตั้งแต่พรรคตกต่ำ รุ่งเรือง ตอนพรรครุ่งเรืองใครก็อยากเข้า พอพรรคตกต่ำก็ไป เห็นท่านองอาจก็ต้องเห็นผม เคยเป็นผู้ช่วยมาก่อน สนิทกันมาก” นภาพล ย้ำเหตุผลที่ยังคงเลือกอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์

“ผมเป็น ส.ก. 3 สมัย 12 ปี พื้นที่สาธารณะแทบทุกซอย ทำแทบหมด ไฟติดหลายพันดวง อย่างซอย 37 ของเอกชน เคยเป็นซอยอันตราย 1 ใน 10 ของกทม. พอผมเป็น ส.ก. ผมก็ไปแก้ไขระเบียบในกทม. จนติดไฟแสงสว่างได้ 5,000-6,000 ดวง เราสร้างความเจริญให้เขา ชาวบ้านก็เห็นว่าทำให้ ผมให้เขาเห็นตลอด ความใกล้ชิดผมว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญ มากกว่ากระแส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ก่อนหน้านี้ก็เป็นลักษณะนี้ ช่วงนี้ก็มีบ้าง อาจมีบางส่วน โซเชียลมีผลค่อนข้างเยอะพอสมควร ต้องมาเทียบแล้วว่าโซเชียลกับความสนิท แต่เทียบกับ ส.ส. เทียบยาก เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเขต อยู่ที่ใครมีอำนาจรัฐ เขตก็จะเปลี่ยน จะมีอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบค่อนข้างเยอะ แต่อย่างท้องถิ่น ไม่เปลี่ยน 1 เขต ส.ก. 1 คน ยกเว้นเขตที่มีประชากรเกิน 150,000 คน จะมี ส.ก. ได้ 2 คน ไม่มีโอกาสเปลี่ยนเขตไปไหน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของคะแนน ถ้าทำให้ชาวบ้านดี น่าจะเป็นผลหนึ่งในการตัดสินใจของชาวบ้าน”

(ภาพจาก FB : จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ Aoodda 26 พ.ย. 2564)

ฝากถึงครอบครัว-สังคม ที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน

“ผมว่าความเห็นทางการเมือง บางทีเป็นเรื่องส่วนตัว ที่ใครจะเห็นต่างเห็นอะไรกันก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะเห็นตรงกันว่านี้เห็นดี นี้เห็นไม่ดี คือการเมืองถ้าคุยกันในครอบครัว ดีไม่ดีทะเลาะกัน อย่าเพิ่งคุยกัน เพื่อนก็เห็นกันมากมายว่า คุยกันจะทะเลาะกัน ผมว่าบางทีมันต้องเปิดใจ การเมืองต้องเปิดใจและรับฟังทั้งสองฝ่าย แล้วก็ต้องย้อนดูว่า สิ่งที่เกิดมามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ใครทำอะไรให้บ้านเมืองบ้าง ต้องดูยาวๆ นิดนึง อย่าไปดูปัจจุบัน ต้องดูที่ผ่านมาด้วยว่าเป็นอย่างไร แล้วไตร่ตรองเอา อย่าฟังแล้วเชื่อเลย ต้องมาไตร่ตรองแล้วหาข้อมูล

ไม่ว่ารุ่นผม รุ่นน้องๆ ก็ด้วย บางทีอย่าฟังความข้างเดียว ต้องบอกว่าอย่าฟังสื่อข้างเดียว ฟังสื่อข้างนี้ พอสื่อที่เราไม่ชอบใจ ไม่ฟัง ไม่ได้ ฟังให้รอบด้าน แล้วมาวิเคราะห์  ต้องมาดูว่าแล้วที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นในการกระทำของแต่ละคน อะไรอย่างไร มันเป็นอย่างไร ตรงนั้นเราจะสามารถมองได้ว่าฝังนี้พูดอย่างนี้แล้วพฤติกรรมที่ปฏิบัติมันตรงอย่างไรไหม แล้วเราจะสามารถแยกแยะได้ว่า อันไหนถูกอันไหนผิด น่าจะทำให้คนที่รับฟังรอบด้านน่าจะมีความคิด มีความเห็นที่น่าจะชัดเจนขึ้นว่าอะไรดีไม่ดี”

(ภาพจาก IG : focusbabyhippo)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า