SHARE

คัดลอกแล้ว

มีความเห็นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี 3 แกนนำชุมนุม เข้าข่ายการกระทำล้มล้างสถาบัน

วันที่ 10 พ.ย. 2564 นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ร้องขอให้ศาล รธน.วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาล รธน.อ่านคำวินิจฉัยคดีเสร็จสิ้นว่า กระบวนการหลังจากนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอัยการที่จะนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปดำเนินคดีอาญา โดยยอมรับว่า หลังมีคำตัดสินชี้ขาดมา ส่วนตัวไม่ได้สบายใจ หรือสุขใจ เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในประเทศไทยและไม่ต้องการให้มีกระบวนการที่อยู่เบื้องหลังการล้มล้างทำลายสถาบัน

“มั่นใจต่อคำร้องนี้เนื่องจากมีพยานหลักฐาน ปัจจุบันมีกระบวนการชักศึกเข้าบ้าน นำองค์กรต่างชาติเข้ามาดำเนินการกับประเทศไทย พร้อมกับตั้งคำถามว่า การล้มล้างสถาบันประชาชนได้อะไร ซึ่งหากเป็นการดำเนินการเพื่อปัญหาปากท้องของประชาชนจะเกิดประโยชน์กว่า ส่วนตัวอยากให้แก้ไขปัญหาเรื่องสัญญาณดาวเทียม น้ำมัน จะดีกว่า” นายณฐพร กล่าว

นายณฐพร กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ของฝ่ายการเมือง ยืนยันว่าจากคำวินิจฉัยจะทำให้คำร้องเอาผิดและยุบพรรคก้าวไกลดำเนินการได้ หลังยื่นคำร้องกับ กกต.ไว้ตาม ม. 92 เชื่อว่า กกต.จะขอคัดถ่ายสำเนาคำวินิจฉัยของวันนี้ และไปดำเนินการเนื่องจากพรรคการเมือง และ ส.ส.ของพรรคดังกล่าวให้การสนับสนุนทางการเงิน และการประกันตัวผู้ต้องหา รวมถึงอ้างว่ามีการไปร่วมชุมนุมถือเป็นความผิด ซึ่งเชื่อมั่นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันนี้จะเป็นสารตั้งต้นในการฟ้องร้องเอาผิดต่อผู้กระทำการละเมิดต่อสถาบัน

ด้าน น.ส.ปนัสยา อ่านแถลงการณ์ยืนยันว่า 10 ข้อเรียกร้องไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือมีเจตนาเป็นไปเพื่อล้มล้างการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่นายณฐพรร้อง

ขณะที่ นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า หลังจากนี้จะนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้ง ว่ามีส่วนใดที่คำวินิจฉัยเกินอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมถึงไปกระทบต่อสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญกำหนดตามมาตรา 49 วรรค 2 หรือไม่ เนื่องจากมีคำสั่งห้ามบุคคลอื่นหรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการในลักษณะนี้อีกในอนาคต และคำวินิจฉัยนี้จะผูกพันไปทุกองค์กร อาจถูกนำมาเป็นบรรทัดฐานอ้างอิงในคดีอาญาอื่นๆ ส่วนแกนนำจะเคลื่อนไหวต่ออีกหรือไม่ ถือเป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคลที่จะพิจารณา

ด้าน ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทวีตข้อความว่า คำตัดสินวันนี้: 1.เขียนรธน.ขึ้นมาใหม่เสียเองโดยคณะบุคคลที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน 2.สร้างหลักการปกครองแบบใหม่ที่ออกนอกกรอบ constitutional monarchy 3. ทำลาย/บิดเบือนหลักการ constitutional monarchy ที่บัญญัติใน รธน.ของไทยและสากล 4.ทำลายหลักการเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า