Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในเดือนแห่งความรัก ‘สมรสเท่าเทียม’ หรือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ พ.ศ. ….  ใช้เวลาเดินทางมายาวนาน จนได้มาเป็นวาระของสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 30 ในวันพุธที่ 9 ก.พ. 2565

ร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ มีรายละเอียดชัดเจน คือการแก้ไขให้ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ ได้หมั้น แต่งงาน มีสิทธิต่างๆ ในแบบคู่สมรส ที่ชอบตามกฎหมาย รวมถึงสิทธิทางด้านมรดก ทรัพย์สิน การรับบุตรบุญธรรม และอื่นๆ เช่นเดียวกับที่กฎหมายเก่า อนุญาตให้ชายและหญิงเท่านั้น

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นตัวแทนอภิปรายนำเสนอร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ได้กล่าวทั้งน้ำตากลางสภาโดยเน้นย้ำว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียม มันไม่ได้เป็นเรียกร้องมากกว่าในสิ่งที่มากกว่าผู้อื่น แต่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เรากำลังบอกกับท่านผู้มีอำนาจว่า สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวนี้พวกท่านพรากพวกเราไป และสิทธิในการตั้งครอบครัวนี้ เป็นสิทธิที่เราต้องมีอยู่แล้ว

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายตอนหนึ่งโดยสรุปว่า สำคัญมากที่สุดในการอภิปรายครั้งนี้ คือนึกถึงเยาวชน รุ่นลูกรุ่นหลานอีกมากมายมหาศาลในประเทศไทย ที่กำลังพยายามทำความเข้าใจกับตัวเองอยู่ว่า ทำไมเสียงที่เขาบอกตัวเอง กับเสียงจากสังคมภายนอกกำลังพูดกับเขาอยู่มันไม่เหมือนกัน และกำลังเจ็บปวดอยู่ในห้องเงียบๆ คนเดียว มันคือการส่งสัญญาณไปยังเยาวชนคนหนุ่มสาวและผู้ปกครองที่มีบทสนทนาที่แสนจะกระอักกระอ่วนใจในช่วงข้าวมื้อเย็น เรากำลังบอกเขาว่าสังคมนี้ยอมรับในความหลากหลายว่า เยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานของเรา ไม่ได้ผิดปกติ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่สภากำลังบอกกับสังคม เรากำลังทำตามให้ทันกับสังคม เราไม่ต้องการให้สภาเปลี่ยนแปลงอะไรประเทศนี้ สังคมเปลี่ยนไปแล้ว เรามีหน้าที่ตามให้ทันสังคมแค่นั้น

นอกจาก ส.ส.ของพรรคก้าวไกลที่อภิปรายสนับสนุน กฎหมายที่ทำให้การสมรสนั้นเท่าเทียมแล้ว ยังมี ส.ส. จากซีกรัฐบาล อภิปรายสนับสนุนด้วย เช่น

กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังท้องถิ่นไท (อดีต ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่) อภิปรายสนับสนุนยกตัวอย่างว่า ข้าราชการในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก มีสิทธิ มีสวัสดิการมากมายยกตัวอย่างเช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล บิดามารดารวมถึงคู่สมรส สิทธิในการได้รับค่าชดเชยต่างๆ …เพียงเรื่องที่นี้ที่กฎหมายเปิดช่องให้คู่สมรสของข้าราชการนั้นเขาสามารถที่จะได้รับสิทธิต่างๆ ได้ ปัญหาอยู่ที่การสมรสในกฎหมายบ้านเราตอนนี้จะสมรสได้เฉพาะหญิงและชายเท่านั้นไม่ได้เปิดช่องให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศเลย ฉะนั้นข้าราชการที่อยู่ในกลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศจะถูกตัดสิทธิไปโดยปริยายซึ่งผมมองว่ามันไม่ยุติธรรมเพราะสิทธิตรงนี้ควรได้รับเท่าเทียมกันทุกคน

สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปเยอะมาก ปัจจุบันเราเห็นซีรีส์ หนัง เราเห็นภาพยนตร์ที่เขาเรียกว่าหนังวาย มีนิยายบางเรื่องที่เป็นนิยายที่ขายดีมากในโลกในปัจจุบันนี้ ก็เป็นหนังในทำนองที่เป็นหนังวายเช่นเดียวกัน ก่อนที่จะถึงช่วงการเลือกตั้ง จำได้ว่า 3 ปีที่แล้ว ทุกพรรคการเมืองมีการพูดคุยกันเรื่องนี้ ได้มีโอกาสไปรับปากเพื่อนหลายคน ที่เขามีความหลากหลายทางเพศ รับปากเขาว่าถ้ามีโอกาสเป็น ส.ส. จะเข้ามาช่วยผลักดันให้ วันนั้นสิ่งที่เรียกร้องอยากจะได้คือ ความเท่าเทียมในการที่จะมีชีวิตคู่กับคนที่เขารักอย่างไร สิทธิทางกฎหมายที่จะได้รับการคุ้มครองจะเป็นอย่างไร

เช่นเดียวกับ องอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศอะไรก็ตาม แต่คุณคือคน ที่ควรใช้ชีวิต เช่นคนๆ หนึ่ง พึงใช้ชีวิตเหมือนคน เพราะฉะนั้นถ้ามีกฎหมาย มีข้อบังคับ หรือมีกฎเกณฑ์กติกาใดๆ ในสังคมที่มากีดกันมาเป็นอุปสรรค มาเป็นปัญหา ที่จะทำให้คนๆ หนึ่งในสังคมไม่ว่า เขาจะเป็นเพศอะไรก็ตาม เขาไม่สามารถที่จะคงสภาพความเป็นคน  ผมคิดว่าเราจะต้องช่วยกัน ปรับปรุง ช่วยกันแก้ไข ช่วยกันเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เรากำลังช่วยกันปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้สังคมของเราทั้งสังคม สามารถเดินหน้าไปได้ สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความรัก ความเข้าใจ ความผูกพัน เหมือนที่พวกเราทุกๆ คนถือกำเนิดเกิดมาบนโลกใบนี้

ขณะเดียวกัน ก็มีฝ่ายพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ไม่เห็นด้วย ไม่รับหลักการของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ ซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ ได้กล่าวตอนหนึ่ง ในหลักการของศาสนาอิสลามนั้น คำว่าสามีภรรยาคือผู้หญิงกับผู้ชาย ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเขียนชัดในบทของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน และก็มีบทลงโทษ …

อย่างไรก็ตามแม้ไม่สามารถรับหลักการได้ แต่ ส.ส. ซูการ์โน ก็ได้เสนอให้ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เพิ่ม บทเฉพาะกาล ยกเว้นไม่บังคับใช้กับผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อให้ประชาชนไทยมุสลิมกว่า 10 ล้านคนจาก 70 ล้านคน ได้ปฏิบัติตามแนวทางศาสนาของตนเอง

ในท้ายที่สุดแล้ว สภาผู้แทนราษฎร ลงมติ เห็นด้วย 219 เสียง ให้ส่งร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้คณะรัฐมนตรีศึกษาก่อนส่งกลับมาให้สภาพิจารณาภายใน 60 วัน คือประมาณ 2 เดือน กฎหมายนี้จึงจะได้กลับเข้าสภาอีกครั้ง…

หลังจบการประชุมสภา ทีม workpointTODAY ได้มีโอกาสพูดกับชายคนหนึ่งที่มีคู่รักเป็นชาย เพื่อสอบถามความเห็นเรื่องสมรสเท่าเทียม ซึ่งทั้งคู่อนุญาตให้เปิดเผยเฉพาะข้อมูล “อายุ” ที่มากกว่า 50 ปี และใช้ชีวิตร่วมกันมาครบ 22 ปีแล้ว โดยที่ครอบครัวทั้งสองฝ่ายและคนรอบข้างเปิดรับ

ได้ให้ความเห็นในอีกมุมหนึ่งต่อการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมว่า แต่ก่อนเคยอยากได้สิทธิรักษาพยาบาล แต่สุดท้ายก็หาอย่างอื่นมารองรับแทน และไม่ได้มีปัญหาอะไร เคยพูดคุยกันว่า เราเขียนพินัยกรรมไว้ได้ เพราะครอบครัวสองฝ่ายเราเข้าใจ และเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามที่เราต้องการหากเราคนใดคนหนึ่งจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ถ้าถามว่า มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมดีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ดีกับหลายๆ อย่าง อย่างบางเคสที่ผ่าตัดไม่ทัน เพราะพ่อแม่โน่นนี่นั่น ด้วยกฎหมายที่ล้าหลังของเรา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องบอกว่าสังคมก็อาจจะยังมีความหลากหลายอื่นๆ ที่เราไม่รู้ด้วย

นับจากนี้ ติดตามกันต่อไปว่า การเดินทางของ กฎหมายเพื่อการเกิดสมรสที่เท่าเทียมกัน ไร้ข้อจำกัดเรื่องเพศ ซึ่งจะสร้างประวัติศาสตร์ พลิกโฉม ‘สิทธิ’ ของคนไทยให้เปลี่ยนแปลงไปจะเกิดขึ้นเมื่อใด…

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า