SHARE

คัดลอกแล้ว

‘กัณวีร์’ เตือน รบ. ตัดสินใจอย่างระวัง เปิดสนามบินแม่สอดให้เครื่องบินพม่าใช้ ล่าสุด โฆษกรัฐบาล โพสต์ “ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือน ไม่มีการเลือกข้าง”

กรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ที่ชื่อ ‘เอก เกียรติศักดิ์ แม่สอด..’ โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ในวันที่ 7 เม.ย. 67 ว่า “20.30 น.เครื่องบินโดยสารจากเมียนมาลงจอดท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดแล้ว …เอกแม่สอด”

https://www.facebook.com/Aek64/posts/pfbid02A8TXmiA52otR6ZwRR2pJfB74JWgQHK2VN3mBGmtj7jAPDURa38jAiQ3jAyjzd5h8l

 

ต่อมาโพสต์อีกครั้งว่า “22.00 น.เครื่องบินโดยสารจากเมียนมาบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด มุ่งหน้าประเทศเมียนมาจำนวน 1 ลำ จบงานคืนนี้…เอกแม่สอด”

https://www.facebook.com/Aek64/posts/pfbid0JEHG4ovgJyjTqRqjhwDdT8e5AvQanPNSGEh15kzi4quEHFgLs4yWZfC9MR1WLtsPl

 

วันนี้ (8 เม.ย. 67) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความ ในเอ็กซ์ (ทวิตเตอร์) ส่วนตัวว่า “ไม่ว่าใครจะรบกับใคร ใครจะขัดแย้งแบ่งฝ่ายกับใคร แต่ทุกฝ่ายย่อมเห็นตรงกันว่า “ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อพลเรือน ไม่มีการเลือกข้าง”

 

ด้าน กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 67 ว่า ไทยต้องตัดสินใจอย่างระมัดระวังที่จะเปิดสนามบินแม่สอดส่งกลับทหารพม่าที่แพ้สงคราม แม้ทำได้ตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ IHL แต่อาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงและการอพยพของผู้ลี้ภัยจากเมียวดี เพราะสถานการณ์ที่อ่อนไหวบริเวณชายแดน จากกรณีทหารพม่าขอให้ส่งเชลยศึกและครอบครัว จำนวน 617 คน ที่แพ้สงครามกับกองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธบริเวณเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง พม่า กลับพื้นที่ส่วนกลางประเทศพม่าที่เป็นพื้นที่การดูแลของทหารพม่า โดยผ่านการใช้ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด จังหวัดตากนั้น ซึ่งไทยสามารถพิจารณาปรับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับการร้องขอส่งกลับเชลยศึกพม่าผ่านพรมแดนไทย

“หลายคนถามว่าทำได้มั้ย และควรจะเป็นอย่างไรถึงแม้ผมยังไม่ได้ทำงานเต็มร้อยในกรรมาธิการของสหภาพรัฐสภาโลกด้านการส่งเสริมการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ แต่ขออนุญาตให้ความเห็นตรงนี้ว่า ตามกฎหมายด้านนี้ “ทำได้” เพราะเจตนารมย์ของกฎหมายก็เพื่อให้ความคุ้มครองต่อ “เชลยศึก” (Prisoners of War-POWs) ให้ถูกละเมิดให้น้อยที่สุดและให้การละเมิดจบโดยเร็วที่สุด โดยการที่กำหนดว่าหลังการปะทะและสงครามเสร็จสิ้นแล้ว สมควรจะต้องส่งกลับเชลยศึกโดยเร็วที่สุดโดยปราศจากความล่าช้าทุกประการ คือ เราควรเห็นว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ต้องปรับใช้ในยามสงคราม”

นายกัณวีร์ ยอมรับว่า ยังมีข้อกังวลอีกมาก หากไทยอนุญาต แต่ตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรมสามารถทำได้ ทั้งการถูกมอบอำนาจโดย “ฝ่ายที่ชนะ” และการเป็น “ประเทศที่เป็นกลาง” ในการดูแลและการส่งกลับเชลยศึก กฎหมายนี้จะใช้เฉพาะเมื่อสงครามเกิดทั้งสงครามระหว่างประเทศ (international armed conflicts) และสงครามที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ (Non-international armed conflicts) เพียงเท่านั้น

“หากไทยถูกร้องขอให้ช่วยในฐานะประเทศที่เป็นกลาง (neutral country) เราก็ควรทำให้เป็นไปตามเจตจำนงและเจตารมณ์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศฉบับนี้เสียและที่สำคัญที่สุดเชลยศึกผู้ถูกส่งกลับแล้ว ต้องไม่กลับไปเป็นกองกำลังอีก นี่คือหลักการที่สำคัญของกฎหมายนี้”

ส่วนข้อกังวลที่ว่าทหารพ่ายศึกจะถูกดำเนินคดีใดๆ หรือไม่ นายกัณวีร์ ระบุว่า ต้องแยกออกเป็นสองเรื่อง คือหนึ่งระเบียบปฏิบัติและกฎหมายภายในกองทัพพม่า ก็ว่ากันไปตามกฏและระเบียบภายในซึ่งใครก็คงไม่สามารถไปแทรกแซงได้ สองในขณะที่ไทยต้องรับผิดชอบดูแลเชลยศึกใดๆ ก็ตาม หากมีข้อกังวลอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับเจ้าตัวเชลยศึกเอง และเป็นการร้องขอใดๆ ตามหลักการร้องขอด้านมนุษยธรรม ไทยก็มีสิทธิเด็ดขาดในการพิจารณาตามหลักการของไทยและรวมถึงจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะเรื่อง หลักการไม่ส่งกลับ (non-refouelment) ซึ่งก็คงต้องว่าไปเป็นรายกรณี

“สถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีก จึงขออนุญาตเสนอให้ไทยทำระเบียบปฏิบัติประจำ (รปจ.) หรือ standard operating procedures (SOPs) ด้านนี้รอไว้ได้เลยครับผม แต่อย่างไรก็ตามต้องคอยดูสถานการณ์ดีๆ และต้องระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือต่อการสนับสนุนให้เกิดความรุนแรงด้วย และเป็นเรื่องที่ไทยจะต้องเตรียมตัวรับมือ”

นายกัณวีร์ ระบุด้วยว่า นี่จึงเป็นการตัดสินใจที่ยากสำหรับรัฐบาลไทย และต้องระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือต่อการสนับสนุนให้เกิดความรุนแรงด้วย และเป็นเรื่องที่ไทยจะต้องเตรียมตัวรับมือ นอกจากมีผู้ลี้ภัยที่อยู่ประชิดชายแดนกว่า 6 แสนคนแล้ว สถานการณ์ในเมียวดีจะกระทบโดยตรงกับไทย ซึ่งน่าเสียดายที่ข้อเสนอการเปิด Safety Zone ระยะ 5 กิโลเมตร ชายแดนพม่า ยังไม่เกิดขึ้น แต่ก็อยากให้ผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เช่นเดียวกับ ระเบียงมนุษยธรรม และระเบียงสันติภาพ ที่ต้องเริ่มทำได้แล้ว

 

https://www.facebook.com/NolKannavee/posts/pfbid0JzQJ9vUjD6V1YVgQ2Vb7uutby9jJxK2bSKEvuLHec3rRcVqPbNg8d3HQa6hAVochl

 

ล่าสุด รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์แสดงความเห็นว่า “เรื่อง เมียนมา อยากให้ช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิดครับ เพราะเรื่องนี้เป็นการตัดสินใจที่ไม่ฉลาดของรัฐบาลไทยอย่างมากในการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกขนส่งทหารของรัฐบาลทหารเมียนมาที่ยอมแพ้ไปก่อนหน้านี้และพวกทรัพย์สินเงินทองของฝั่งเมือง เมียวดี มาสู่สนามบินแม่สอดเพื่อที่จะส่งกลับไปภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารพม่าต่อไป

แนวทางแบบนี้นี่แหละครับคือการชักศึกเข้าบ้าน สงครามกลางเมืองในเมียนมาเราไม่ควรที่จะวางตัวในการสนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมาแบบนี้ ตอนนี้หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าอาจจะมีการระเบิดปูพรมในเมียวดีซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตและอาจนำไปสู่การหนีภัยการสู้รบมาที่ประเทศไทยได้ นานาชาติจะมองประเทศไทยว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่องนี้อย่างแน่นอนและที่สำคัญก็จะเป็นประเทศไทยนี่แหละครับที่จะต้องรองรับผู้หนีภัยการสู้รบเหล่านี้”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า