SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังมีความเคลื่อนไหวในกลุ่มบ้านใหญ่ชลบุรี ย้ายไปสังกัดพรรคใหญ่ และอาจจะมีบางคนไม่ตามไป ‘นิด้าโพล’ สำรวจ ‘คนชลบุรีเลือกพรรคไหน’ ปรากฎว่า พรรคเพื่อไทย มาเป็นลำดับหนึ่งทั้ง ส.ส.เขต และบัญชีรายชื่อ ขณะที่นายกรัฐมนตรีสนับสนุน ‘แพทองธาร’ 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนชลบุรีเลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนชลบุรีเลือกพรรคไหน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนชลบุรีจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 31.00 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร 

อันดับ 2 ร้อยละ 18.82 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา 

อันดับ 3 ร้อยละ 17.36 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ กล้าคิด กล้าทำ ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล 

อันดับ 4 ร้อยละ 9.55 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ 

อันดับ 5 ร้อยละ 6.91 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ชื่นชอบวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคเสรีรวมไทย 

อันดับ 6 ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย 

อันดับ 7 ร้อยละ 3.18 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา 

อันดับ 8 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ กล้าคิด กล้าทำ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ในการบริหาร และชื่นชอบแนวคิดในการทำงาน 

อันดับ 9 ร้อยละ 1.73 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นคนที่มีประสบการณ์ด้านการบริหาร 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ

ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 3.36 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับพรรคการเมืองที่คนชลบุรีมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 38.82 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 

อันดับ 2 ร้อยละ 19.55 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 

อันดับ 3 ร้อยละ 16.18 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 

อันดับ 4 ร้อยละ 4.73 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย 

อันดับ 5 ร้อยละ 4.55 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ 

อันดับ 6 ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 

อันดับ 7 ร้อยละ 3.27 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

อันดับ 8 ร้อยละ 2.64 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย 

อันดับ 9 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.09 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 2.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ พรรครวมพลัง และพรรคเศรษฐกิจใหม่

ด้านพรรคการเมืองที่คนชลบุรีมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 38.82 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย 

อันดับ 2 ร้อยละ 19.55 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล 

อันดับ 3 ร้อยละ 16.09 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ 

อันดับ 4 ร้อยละ 5.55 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ 

อันดับ 5 ร้อยละ 5.00 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย 

อันดับ 6 ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ 

อันดับ 7 ร้อยละ 3.27 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

อันดับ 8 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย 

อันดับ 9 ร้อยละ 2.27 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.09 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 2.09 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ พรรครวมพลัง พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรคเศรษฐกิจไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า