SHARE

คัดลอกแล้ว

‘นิกร’ มั่นใจสัปดาห์นี้ กม.ลูกเลือกตั้งแล้วเสร็จ เชื่อ กกต.มีโอกาสพลิกกลับใช้สูตรปาร์ตี้ลิสต์หาร 100 เผย 2 กลุ่ม “ฝ่ายค้าน-กมธ.เห็นแย้ง รอยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ ‘นพ.ระวี’ ระบุมีทีเด็ด ดันร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ให้ผ่านวาระสาม

นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ….ให้สัมภาษณ์กรณีความคืบหน้าในการจัดทำกฎหมายลูกว่า ต้องทำให้เสร็จ เพราะเหลือเวลาอีกไม่มากและต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 15 ส.ค. นี้ หากไม่เสร็จตามรัฐธรรมนูญต้องมีการกลับไปใช้ในร่างเดิมคือร่างของ ครม.ซึ่งเป็นการหาร 100 ทั้งนี้ หากเราดึงข้ามไปแปลว่าสภาฯ ทำงานไม่เสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควร แต่จะออกไปทางใดทางหนึ่งก็ต้องเสร็จ และต้องส่งไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อรอกกต. เสนอความเห็นกลับมา โดยจะหาร 100 หรือหาร 500 ค่อยว่ากัน ดังนั้นเชื่อว่าจะไม่ให้มีปัญหาจนถึง 15 ส.ค. นี้

เมื่อถามว่า หลังจากสภาฯ พลิกมติของกมธ. เสียงข้างมาก จากสูตรหาร 100 เป็นหาร 500 จะมีการเดินหน้าต่ออย่างไร และจะมีการปรับแก้มาตราใดหลังมาตรา 24 ที่กระทบหรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตอนที่แก้ได้เตือนแล้วว่าจะเกิดปัญหา เพราะเราแก้แค่มาตรา 123-128 และคิดว่าจะหารด้วย 100 ง่ายๆ แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้หากมีคนโยงไปถึงส.ส. พึงมีจะพ่วงเป็นหาร 500 ซึ่งเมื่อหาร 500 จะสัมพันธ์กันไปหมด แต่หากมีการเกิดใบแดงขึ้นจะมีส.ส. หายไป 1 คน ซึ่งเมื่อหายไป 1 คนที่แบ่งไว้ว่าพึงได้ก็จะเคลื่อนไปหมด โดยจะทำให้มีปัญหามาก และขณะนี้เรายังเหลืออีก 8 มาตราที่ต้องพิจารณา โดย 2-3 มาตราที่เหลือจะมีปัญหา ซึ่งปัญหาในเรื่องดังกล่าวกมธ.เสียงข้างน้อยไม่ได้มีการเตรียมไว้ตั้งแต่ตอนนั้น และข้ามไปที่มาตรา 24 เลย ดังนั้น จะกลับไปที่มาตรา 23 ไม่ได้  

นายนิกร กล่าวว่า ในการประชุมวันที่ 26 ก.ค.นี้  กมธ.จะไม่สามารถเรียกประชุมก่อนหน้านี้ได้ เพราะถือว่าทำงานเสร็จไปแล้ว และสภาฯ จะต้องมีมติโดยรัฐสภาให้กมธ. ไปคุยกันนอกรอบ ซึ่งจะไปแก้อย่างไรก็ไม่ทราบ ทั้งนี้ขอย้ำว่าต้องทำให้เสร็จก่อนวันที่ 15 ส.ค.นี้ เชื่อว่ากกต.มีโอกาสที่จะกลับมาหาร 100 มากกว่า เนื่องจากกกต.เสนอให้มีการใช้ 100 หารมาตลอด หากมีปัญหาที่กกต. ชี้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้ จะต้องกลับไปหาร 100 เหมือนเดิม หากกกต.แย้งกลับมาสภาจะมี 2 ทางคือ สภาจะเห็นตามกกต. โดยสภาจะมีเวลาแก้ไขภายใน 30 วัน หรืออีกทางคือยึดตามมติสภาเหมือนเดิมคือหาร 500 หากยืนยันตามนั้นก็จะไปเจออีกด่านคือการเสนอให้มีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีกลุ่มที่รอยื่นศาลรัฐธรรมนูญอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มฝ่ายค้านและกมธ.ที่เห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ 

เมื่อถามว่า กรณีที่มีความเห็นว่าระบบเลือกตั้งจะกลับมาใช้บัตรใบเดียว ตามข้อกฎหมายสามารถเป็นไปได้หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตามกฎหมายสามารถทำได้ แต่ในทางการเมืองนั้นทำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในทางกฎหมายก็เป็นไปได้ยาก เพราะเวลาของสภาเหลือน้อย ทั้งนี้ หากมีการแก้ก็จะต้องมีการเสนอร่างเข้ามาใหม่และจะต้องมีการตั้งกมธ. รวมถึงจะต้องมีการแก้กฎหมายลูกอีก แต่ที่เห็นว่าทำไม่ได้คือ ในทางการเมืองเราจะไปบอกประชาชนอย่างไรที่จะกลับไปเป็นเช่นนั้น และทางส.ว.ก็คงไม่กล้าเพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับเขาเนื่องจากเป็นการเลือกตั้งของส.ส.ดังนั้นพรรคเล็กตนก็เห็นว่าไม่พอที่จะมีการเสนอเข้ามาใหม่ เนื่องจากต้องใช้รายชื่อ 100 คน และพรรคการเมืองอื่นก็มีการแก้เป็นบัตร 2 ใบ อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่า เวลาที่เหลืออีก 2 วันคือวันที่ 26-27 ก.ค. กฎหมายลูกจะเสร็จไม่ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งกฎหมายพรรคการเมืองไม่มีปัญหาอะไรมาก ปัญหาเดิมที่เรามีคือความเห็นของ ส.ว.ในการทำไพรมารีโหวต  

 ‘นพ.ระวี’ ระบุมีทีเด็ด ดันร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ให้ผ่านวาระสาม

ด้าน นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ…. รัฐสภา ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 26 ก.ค.นี้  เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ต่อเนื่องในวาระสอง ที่เหลือมาตราที่รอพิจารณาประมาณ 10 มาตรา โดยเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา แม้ฝ่ายกมธ. เสียงข้างมาก พยายามตีรวนให้การพิจารณาวาระสองนั้นมีปัญหาและทำให้สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ กลับไปใช้จำนวน 100 คนหาค่าเฉลี่ย ทั้งนี้มั่นใจว่าการประชุมจะราบรื่น แม้จะมีประเด็นที่ต้องพักการประชุมเพื่อกลับไปแก้ไขมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 23 ว่าด้วยสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่เชื่อว่าจะพักประชุมเพียง 30 นาที เพื่อแก้ไข 2มาตรา

นพ.ระวี เชื่อว่าการประชุมร่วมรัฐสภาวาระสองจะไม่มีปัญหา เพราะจะคลี่คลายได้โดยมีผู้เสนอให้ที่ประชุมแก้ไข 2 มาตรา แม้นายสาธิต ปิตะตุชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกมธ.ฯ จะบอกว่าทำไม่ได้ เสนอไม่ได้ แต่เชื่อว่าที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติให้กระทำได้ ส่วน 2 มาตราที่จะแก้ไขนั้นตนขอเก็บเป็นความลับ และขอให้ติดตามรายละเอียดในที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 26 ก.ค.นี้

“ที่ผ่านมาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในสภา ที่พบว่าเสียงของที่ประชุมชนะกรรมาธิการเสียงข้างมาก ต้องกลับไปแก้ไขเนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาเคยทำกันได้ และเรื่องร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ขณะนี้กฤษฎีกาให้ความเห็นมาแล้ว ดังนั้นประธานกมธ. หรือกมธ. เสียงข้างมากจะอ้างเจตนารมณ์ของตัวเองเพื่อเอาชนะเสียงของสมาชิกรัฐสภาข้างมากได้อย่างไร” นพ.ระวี กล่าว

เมื่อถามย้ำว่า  การพิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. จะสามารถลงมติวาระ 3 ได้ภายในวันที่ 26 ก.ค.นี้ ใช่หรือไม่ นพ.ระวี กล่าวว่า การลงมติ มี 2 ทาง คือ โหวตเห็นชอบ ซึ่งขั้นตอนจะดำเนินการไปตามกฎหมายและถึงศาลรัฐธรรมนูญ และโหวตคว่ำ ซึ่งส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลต้องลงมติคว่ำ เท่ากับว่าไม่เห็นด้วยกับสูตรคำนวณ ส.ส. ทั้งจำนวน 100 คนหาค่าเฉลี่ย หรือจำนวน 500 คนหาค่าเฉลี่ย ซึ่งตนมองว่าหากจะสู้ควรให้เป็นไปตามกระบวนการ อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่าประเด็นความพยายามคว่ำเนื้อหาจะเกิดขึ้นหากอีกฝั่งไม่สามารถสู้เพื่อเอาชนะได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า