Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระบุคนทำงานหนักจนเกิด โรค Karoshi หรือ “ทำงานจนตาย” มีปัจจัยจาก ระยะเวลาทำงานที่ยาวนาน และมีความเครียดในงานมากเกินไป

จากกรณีที่มีรายงานข่าวเรื่องนักจัดผังรายการของสถานีโทรทัศน์เสียชีวิตขณะอยู่ที่โต๊ะทำงาน โดยเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจากการทำงานหนักจนเกินไป จนกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคม และนำไปเปรียบเทียบกับกรณีของ “โรคคาโรชิ” (Karoshi) ในสังคมญี่ปุ่น

ในเรื่องนี้ นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า “โรค Karoshi หรือ ที่เรียกว่าทำงานจนตาย เป็นปัญหาต่อเนื่องในสังคมการทำงานของประเทศญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานเกือบ 50 ปี จนเกิดคำศัพท์ “คาโรชิ” (Karoshi) ขึ้น โดยหากแปลตามอักษรคันจิทีละตัว จะแปลได้ว่า ka (มากเกินไป) ro (การทำงาน) และ shi (ความตาย)”

หากนำความหมายมารวมกันแล้ว จะแปลได้ว่า การทำงานมากเกินไปจนถึงแก่ความตาย โดยคำว่า “Karoshi” ได้ถูกนำไปใส่ไว้ในพจนานุกรม Oxford English Dictionary ในปี 2002

 

สมองหลั่งฮอร์โมนเมื่อเครียด

สาเหตุของ Karoshi เมื่อมีความเครียดสมองจะสั่ง ให้หลั่งฮอร์โมน เราเรียกว่า Sympathetic Adrenomedullary System  โดยจะหลั่งฮอร์โมน Catecholamine ออกมาสองตัวคือ Epinephrine และ Norepinephrine และ ต่อมใต้สมองโดย Hypothalamic pituitary Adrenocortical System จะหลั่ง Cortisol ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้เราเรียกว่าตัวชี้วัดความเครียด (Stress Indicator) เนื่องจากจะวัดได้ในเลือดและปัสสาวะเวลาร่างกายเกิดความเครียด 

เมื่อเกิดความเครียดฮอร์โมนเหล่านี้จะถูกหลั่งออกมาในเลือดทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน น้ำตาล และกรดไขมัน ทำให้เกิดการตอบสนองต่อความเครียดซึ่งเป็นปฏิกิริยาช่วยชีวิตในคน โดยเฉพาะเมื่อเจอภาวะฉุกเฉิน เมื่อมนุษย์พบเหตุการณ์เครียดก็จะมีกลไกตอบสนอง เพื่อลดความเครียดนั้นลง การตอบสนองขึ้นกับสภาวะทางสรีระหรือจิตใจของคนนั้นๆ 

ถ้าไม่สามารถจัดการความเครียดได้ก็จะหลงเหลือความเครียดอยู่ (Residual Stress) ซึ่งทำให้เกิดกลไกจิตบังคับกาย หรือแสดงออกทางร่างกาย หรือเกิดโรคได้ ความเครียดที่หลงเหลือทำให้มีระดับ catecholamine สูงในเลือดตลอด และทำให้ความดันโลหิตขึ้น ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดแข็งและหนาตัว เกิดความดันเลือดสูงขึ้นอีก และทำให้เป็นโรคของหลอดเลือด นอกจากนี้ฮอร์โมนเหล่านี้ยังทำให้เกิดระดับไขมันในเลือดสูง มีการแข็งตัวของเลือด และหลอดเลือดตีบ 

โดยฮอร์โมน Epinephrine และ Norepinephrine จะเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ส่วน cortisol ยังทำให้เกิดโรคของหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ลดภูมิคุ้มกัน และภาวะพุทธิปัญญาเสื่อมลง มีงานวิจัยพบว่าผู้หญิงที่ทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 50 ชั่วโมงจะมีระดับ Cortisol สูงเป็นสองเท่าของผู้หญิงที่ทำงานปานกลาง

 

ปัจจัยทางจิตวิทยา

นพ.เกรียงไกร  นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี  เปิดเผยว่า การทำงานจนตาย ยังมีปัจจัยทางจิตวิทยาเช่นปัจจัยเรื่อง Job Demand Control ตามทฤษฎีของ Karasek และ Theorell ถ้าเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างความต้องการจากงาน (Job Demand) กับการควบคุมงาน (Job Control) อาทิ มีความต้องการปริมาณงาน เช่นงานที่ต้องใช้ทักษะ แต่คนทำงานไม่มีประสบการณ์ทำให้ไม่สามารถควบคุมงานให้เป็นไปดังใจได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเครียดขึ้น

อีกปัจจัยสำคัญคือ Work-life Balance ซึ่งเป็นภาวะที่มีความสมดุลโดยคนทำงานสามารถจัดลำดับความสำคัญให้เกิดความเท่ากัน ระหว่างสิ่งที่ทุ่มเทให้กับงานเท่ากับสิ่งที่ทุ่มเทให้กับชีวิตส่วนตัว เหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถเกิด work life balance ได้คือ การเพิ่มความรับผิดชอบในงานทำให้ทิ้งงานไม่ได้ การทำงานมากชั่วโมงเกินไป การเพิ่มความรับผิดชอบหน้าที่ที่บ้าน การมีลูก

การมี Work-life Balance จะทำให้เกิดผลเชิงบวกหลายอย่างเช่น ลดความเครียด ลดโอกาสหมดไฟ และมีความรู้สึกว่าตนเองมีความสบายใจ นายจ้างที่มุ่งมั่นจะจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้สนับสนุน Work-life Balance กับลูกจ้างจะช่วยลดค่าใช้จ่าย มีการลาป่วยน้อยลง และลูกจ้างจะมีความภักดีและทำงานให้เต็มที่

 

โดย นพ.เกรียงไกร ได้เผยถึงวิธีการทำงานเพื่อให้เกิด Work-life Balance 7 ข้อ ได้แก่ 

1.การยอมรับว่าไม่มี Work-life Balance ที่สมบูรณ์แบบ เช่นทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือในชั่วโมงทำงานไม่ต้องมาคิดเรื่องการเรียนของลูก ในความเป็นจริงบางวันเราจะเน้นงานมาก เนื่องจากสนุกและมีสมาธิ บางวันเราอาจเน้นเวลาส่วนตัวและครอบครัวมากกว่าเวลาทำงาน การรักษาสมดุลให้ได้จะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ออกแบบวันต่อวัน แต่ควรเปิดตัวเองให้ย้อนกลับและประเมินความต้องการของเราเองให้ได้ว่าเราต้องการอะไร 

2. ทำงานที่ตัวเองชอบ ไม่จำเป็นที่เราต้องรักงานเราในทุกด้านแต่น่าจะมีด้านใดด้านหนึ่งกระตุ้นให้เราอยากลุกจากที่นอนไปทำงานในตอนเช้า ถ้างานของเราทำให้เราเครียด วิตกกังวล และกินเวลาพักผ่อน ส่วนตัว งานนั้นน่าจะมีปัญหา ถึงเวลาที่ต้องหางานใหม่ 

3. สุขภาพเราสำคัญที่สุดทั้งสุขภาพกายและจิต ถ้าต้องรักษาก็รีบไปรักษาแม้จะต้องเลิกงานก่อนเวลาหรือต้องหยุดงานเราอาจจะทำงานได้น้อยลง แต่เราจะมีความสุขมากขึ้น และทำงานได้ผลผลิตมากขึ้น 

4. อย่ากลัวที่จะถอดปลั๊กตัวเองหรือหยุดพักร้อน การถอดปลั๊กง่ายๆ คืออ่านหนังสือที่ไม่เกี่ยวกับงาน เป็นหนังสือที่เราอยากอ่าน นั่งสมาธิ เลิกการติดต่อที่เกี่ยวกับงานทุกอย่างชั่วขณะหนึ่ง การหยุดพักร้อนเป็นเวลาหลายวันเพื่อ recharge ตัวเอง 

5. พยายามหาเวลาให้ครอบครัว อย่าสัญญาอะไรที่ทำไม่ได้ ให้นึกไว้ว่าครอบครัวสำคัญรองจากสุขภาพ 

6. ตั้งระยะเวลาการทำงาน เพื่อป้องกันการหมดไฟ เมื่อเลิกงานควรหยุดคิดเรื่องงานหรือตอบปัญหา Email 

7. ตั้งเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญโดยจัดเวลา ตัดงานที่ไม่มีคุณค่าหรือไม่มีความสำคัญก่อน เลิกดู social ระหว่างทำงาน เพราะจะดึงสมาธิ การที่เรามุทำงานจะเพิ่มผลผลิตซึ่งหมายถึงเวลาว่างที่มากขึ้น เพื่อที่จะมีเวลาผ่อนคลายหลังเลิกงาน

 

สำรวจตัวเองว่ากำลังเป็นโรค Karoshi อยู่หรือเปล่า? 

หากคุณกำลังสงสัยว่าตนเองกำลังเข้าข่ายเป็นโรค Karoshi หรือไม่ ทาง JobsDB แพลตฟอร์มหางานชื่อดัง ได้มีการเผยเช็กลิสต์สำหรับการสังเกตอาการเบื้องต้นดังนี้

-คิดหมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา เหมือนสมองไม่ได้พักผ่อน บางครั้งอาจเก็บไปฝัน

-ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

-ใช้เวลาในการทำงานเยอะมาก เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน

-ไม่สามารถลางานได้ ไม่มีโอกาสลางาน หรือแทบไม่ได้ใช้วันลา ทั้งลาป่วย ลาพักผ่อน และลากิจ

-เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน

-แทบไม่เคยใช้วันลาหยุด ไม่ว่าจะลาป่วย หรือลาพักร้อน

-นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ

-แทบไม่มีเวลาพักผ่อน จำไม่ได้ว่าได้พักผ่อนจริง ๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่

-ไม่มีเวลาให้ตัวเองและคนที่เรารัก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า