SHARE

คัดลอกแล้ว

ปลัด สธ.ประชุมติดตามสถานการณ์โควิด 19 กำชับเฝ้าระวัง ‘โอไมครอน’ ย้ำยังไม่พบในไทย ขอประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาล เพื่อลดความวิตกกังวล ขณะที่ นพ.นิธิ แนะดูแลตัวเอง รักษาระยะห่าง เตือนอย่าทำให้ปีใหม่นี้เหมือนกับสงกรานต์ที่ผ่านมา

วันที่ 28 พ.ย.2564 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด-19 (EOC) ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศ และข้อมูลการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โอไมครอนในทวีปแอฟริกาโดยสั่งการให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งสื่อสารข้อมูลให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า ในการรับมือกับโรคโควิด-19 ได้กำชับให้ทุกจังหวัดกำกับติดตามมาตรการ VUCA คือ การฉีดวัคซีน การป้องกันตนเองขั้นสูงสุด การทำพื้นที่ปลอดภัยจากโควิดและการตรวจคัดกรองด้วย ATK โดยเน้นเฝ้าระวังตรวจจับการระบาดในชุมชน/ชุมชนที่มีแรงงานต่างด้าว เร่งฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ทั้งในโรงพยาบาล เช่น คลินิกโรคเรื้อรัง,คลินิกฝากครรภ์ และนอกโรงพยาบาล เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย-กลุ่มเปราะบาง จุดลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งในชุมชน และสื่อสารให้ประชาชนใช้มาตรการป้องกันตนเองสูงสุด (Universal Prevention) ทุกที่ ทุกเวลา

“ขณะนี้ยังไม่พบสายพันธุ์โอไมครอนในไทย และเราได้ปรับมาตรการคัดกรองป้องกันให้รัดกุมยิ่งขึ้น จึงขอให้ประชาชนคลายความกังวล และติดตามข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยทางการแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ มาตรการ Universal Prevention ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันโควิด 19 ได้ทุกสายพันธุ์ ขอให้ประชาชนปฏิบัติเป็นปกติวิสัย ในระยะนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน สวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง ลดการสัมผัสกัน ถ้าป่วยมีอาการทางเดินหายใจ หรือมีความเสี่ยงสงสัยติดเชื้อให้ตรวจด้วย ATK หรือไปตรวจที่สถานพยาบาล” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

สำหรับจำนวนผู้เดินทางเข้าไทยทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1-27 พฤศจิกายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 116,323 ราย พบติดเชื้อ 149 ราย คิดเป็น 0.13% เฉพาะวานนี้ (27 พ.ย. 64) เดินทางเข้ามา 6,115 ราย พบผู้ติดเชื้อ 5 ราย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อทุกรายถูกส่งเข้าระบบการรักษาพยาบาลและส่งตรวจหาสายพันธุ์เพื่อการเฝ้าระวัง โดย 10 ประเทศที่มีผู้เดินทางเข้ามามากที่สุดคือ USA เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส UAE และสิงคโปร์

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก “Nithi Mahanonda” ระบุว่า โอไมครอน อาจมีมาพักหนึ่งแล้ว แต่เกิดและหลบอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีการเฝ้าระวังจริงจัง จากการดูจุดกลายพันธุ์น่าจะวนเวียนอยู่ในตัว host มาพักนึง แล้วก็โผล่ขึ้นมาจากการเคลื่อนย้ายของคนที่เป็น host เข้ามาในเมือง

ยังหวังว่าระบบภูมิต้านทานอื่นๆ ในตัวนอกจากแอนตี้บอดี้ (ที่ทำท่าว่ามันอาจจะเก่งหลบหลีกภูมิจากวัคซีนได้) ยังพอช่วยประทังได้ อย่าเพิ่งตื่นเต้นรอข้อมูลกันนิดว่ามันหลบได้ดี ระบาดได้เร็วมากน้อยแค่ไหน ขณะนี้ใส่หน้ากากเลี่ยงที่อากาศไม่ถ่ายเท และรักษาระยะห่างจะปลอดภัย อย่าให้หลังปีใหม่นี้ เหมือนหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา กระจายเร่งการฉีดวัคชีนให้ทั่วถึงทุกที่ ทุกกลุ่ม ทุกอายุ เอาหลักวิชาการ(ทั้งสังคมและวิทยาศาสตร์) และความจริงเข้ามาเป็นหลักลดกรอบเดิมๆ ลดอัตรา และตัดสินใจให้เร็ว ยืนยันเหมือนเดิมที่เคยว่าไว้ ว่าโรคนี้ต้อง เอาตัวรอดไปด้วยกันทุกคนทุกกลุ่ม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า