SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชลน่าน’ ผู้นำฝ่ายค้านคนใหม่ เตรียมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป รธน. ม.152 แก้กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง 2 ฉบับ ลั่นสมัยประชุมหน้า ยื่นแน่นอน อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พร้อมเสนอแก้ ม.272 ยกเลิกอำนาจ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯ

วันที่ 19 ม.ค. 2565 เวลา 8.30 น. นายชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เข้ารับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้เชิญและอ่านพระบรมราชโองการฯ ในการนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมฝ่ายค้าน และคณะผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมพิธี

สำหรับ นายชลน่าน ศรีแก้ว ถือเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 9 ที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ นับตั้งแต่สภาผู้แทนราษฎรมีตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2518

(ชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ มอบต้นลิ้นมังกร ไม้มงคล แสดงความยินดีกับผู้นำฝ่ายค้านคนใหม่)

นายชลน่าน เปิดเผยว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยภารกิจของผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรนั้น ถือเป็นบทบาทหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหน้าที่สำคัญคือการตรวจสอบถ่วงดุลการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีและรัฐบาล หน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่จะร่วมกันทำงานเพื่อประเทศชาติบ้านเมืองและพี่น้องประชาชนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ รวมทั้งหน้าที่อื่นๆ ที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ ภารกิจแรกที่จะต้องดำเนินการในสมัยประชุมนี้ คือการตรวจสอบการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชนในขณะนี้ คือเรื่องของความเป็นอยู่ที่มีความทุกข์ยากมากในเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพง ทำให้การดำรงชีวิตมีปัญหาและอุปสรรคอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและเสนอแนะแนวทางให้รัฐบาลนำไปแก้ไขปัญหา

โดยจะมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 152 ในสมัยประชุมนี้ และพรรคร่วมฝ่ายค้านก็จะมีการประชุมในวันนี้ เพื่อพิจารณาประเด็นเนื้อหาสาระ การสอบถามข้อเท็จจริง หรือปัญหาที่จะเสนอแนะต่อรัฐบาล ซึ่งพรรคฝ่ายค้านจะทำงานร่วมกันและเสนอญัตติเป็นญัตติเดียว โดยจะยื่นในวันที่ 21 ม.ค. 65 หรืออย่างช้าคือไม่เกินวันที่ 24 ม.ค. 65 และคาดว่า จะมีการอภิปรายในช่วงกลางเดือน ก.พ. 65 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนนั้นมีมาก

ในวันพรุ่งนี้ (20 ม.ค. 65) ทางพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย จะใช้กลไกของสภาผู้แทนราษฎรในการตั้งกระทู้ถามสดรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในเรื่องของโรคระบาดในสุกร และผลกระทบที่เกิดจากสินค้ามีราคาแพง รวมทั้งจะเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรได้ร่วมกันพิจารณาว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใดและจะแก้ไขอย่างไร

นอกจากนี้ พรรคร่วมฝ่ายค้านจะดำเนินการเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่า จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในสมัยประชุมนี้ รวมทั้งพระราชกำหนดอีก 2 ฉบับ ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ไปแล้วและจะนำเข้ามาขอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คือ พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งเป็นฉบับที่ 7 แล้ว

และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญมาก โดยที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเสียเกียรติภูมิไปกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency : WADA) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระระดับนานาชาติ ได้ออกประมวลข้อกำหนดเพื่อให้เป็นธรรมนูญสำหรับประเทศภาคีสมาชิกทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกในองค์กรนี้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา

ดังนั้น เมื่อ WADA มีการออกกฎหรือเปลี่ยนแปลงกติกา ประเทศภาคีสมาชิกก็จะต้องออกกฎหมายภายในประเทศให้มีผลบังคับใช้ตามกฎนั้น แต่ประเทศไทยปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้มาก เพราะตั้งแต่ ม.ค. 64 ถึง ต.ค. 64 ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทาง WADA จึงสั่งห้ามประเทศไทยในทางกีฬา 3 เรื่อง คือ ห้ามจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ห้ามใช้ธงสัญลักษณ์ที่เป็นธงชาติไทยในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และห้ามเป็นกรรมการในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ

โดยทางสภาผู้แทนราษฎรได้เคยมีการตั้งกระทู้ถามในเรื่องนี้ และรัฐบาลได้มีการออกพระราชกำหนด ดังนั้นจึงจะได้พิจารณาว่าพระราชกำหนดดังกล่าวนั้นชอบด้วยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ และประเด็นที่แก้ไขเป็นไปตามที่ WADA เสนอมาหรือไม่

สำหรับในสมัยประชุมหน้านั้นมีเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง คือ ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านจะร่วมกับภาคประชาชนในการยื่นแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่าด้วยอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี และการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 151

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า