SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ประชุมสภาฯ เห็นชอบส่งแนวทางเสนอกฎหมายบำนาญแห่งชาติ ให้รัฐบาล หวังลดเหลื่อมล้ำ- เป็นสวัสดิการถ้วนหน้า ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้สูงอายุและกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน

วันที่ 27 พ.ค. 2565 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณารายงานการศึกษา เรื่องแนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาเสร็จแล้ว

นายสมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น พรรคเศรษฐกิจไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาแนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญแห่งชาติ ชี้แจงว่า ปัจจุบันระบบบำเหน็จบำนาญในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 เสาหลัก คือ 1. การคุ้มครองจากภาครัฐ 2. การออมภาคบังคับ และ 3. การออมภาคสมัครใจ ซึ่งขาดความครอบคลุม

โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงานนอกระบบ ทำให้คนกลุ่มนี้ขาดรายได้ที่เป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตยามชราภาพ ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน เพราะต้องพึ่งพาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นแหล่งรายรับเพียงแหล่งเดียวหลังเกษียณ ดังนั้นจากรายงานการศึกษาเรื่องนี้ จึงเสนอให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิบำนาญพื้นฐาน ให้มีการตั้งกองทุนเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านงบประมาณที่เป็นภาระของรัฐ และระบบบำนาญพื้นฐานฯ ควรเป็นสวัสดิการถ้วนหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และไม่ห่างจากเส้นแบ่งความยากจน

จากนั้นสมาชิกทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ร่วมกันอภิปรายแสดงความเห็น ส่วนใหญ่สนับสนุนรายงานการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเงินบำนาญ 3,000 บาท จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้สูงอายุ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน แต่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ควรหาวิธีบริหารรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่แบบราชการ เพราะมีข้อจำกัดมากทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งหวังว่ากฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ จะเป็นการปักธงสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

ด้านนายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย อภิปรายตอนหนึ่งว่า กฎหมายบำนาญแห่งชาติ จะเป็นการสร้างสถานภาพผู้สูงอายุให้ดีขึ้น จากที่ได้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาท คิดเป็นวันละ 20 บาท ตนอเนจอนาถใจที่ผู้สูงอายุที่เคยสร้างคุณูปการให้กับประเทศ ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุแค่วันละ 20 บาท ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองเศรษฐกิจที่ไม่เหมือนเดิม

ขณะที่นายรงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) อภิปรายว่า ชื่นชมที่ กมธ.ทำรายงานอย่างมีทิศทางน่าประทับใจ เพื่อเสนอแนะไปยังรัฐบาล ที่จะเปลี่ยนจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่ประชาชนจะได้บำนาญแห่งชาติ แต่ตนคิดว่า ควรจะนิยามคำว่าผู้สูงอายุให้ชัดเจน เพื่อความครอบคลุม และเสมอภาค โดยไม่ต้องสนใจที่มาของผู้สูงอายุ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องมีปัญญา และวุฒิภาวะ หาเงินมาเติมให้ได้มากกว่านี้ รัฐสภามีเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น นอกจากนี้ ควรเพิ่มสิทธิให้ผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มมีศักยภาพแตกต่างกัน เพื่อสร้างทิศทางการดูแลที่เหมาะสม

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายว่า การที่ประเทศไทยไม่มีรัฐสวัสดิการ ทำให้คนวัยกลางคนไม่กล้าเสี่ยง เพราะต้องดูแลพ่อแม่ และลูกหลาน ทำให้ไม่สามารถทำตามศักยภาพของประเทศได้ บำนาญจึงเป็นเรื่องจำเป็น เราต้องคิดว่าเป็นไปได้ และมีพลวัติ อย่าคิดว่าเป็นรายจ่าย แต่ให้คิดว่าเป็นการลงทุน ถ้ารอเวลาจะต้องใช้งบประมาณมากกว่านี้ในการแก้ปัญหา แต่ถ้าเริ่มทำตั้งแต่วันนี้จะใช้งบ 4 แสนล้านบาท วันนี้รายงานฉบับนี้จึงถือว่าเป็นสารตั้งต้นอย่างดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ใช้เวลาพิจารณารายงานการศึกษาแนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ เกือบ 5 ชม. ได้ผ่านความเห็นชอบต่อรายงานดังกล่าว เพื่อให้สภาส่งต่อไปยังรัฐบาล ให้ดำเนินการตามรายงานต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า