SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหา “สภาล่ม” ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2565 ที่เกิดเหตุการณ์ล่มครั้งแรกของปี 2565 และครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2565 ที่สภาต้องล่ม เพราะองค์ประชุม ส.ส. ไม่ครบกึ่งหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ 237 เสียง (จากจำนวน ส.ส. ในปัจจุบัน 474 เสียง) หลากความคิดหลายความเห็นในสังคม พุ่งเป้ามาที่ “ส.ส.” สองฝ่าย ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน พร้อมนำเสนอแนวทางแก้ปัญหา “สภาล่ม” ที่น่าสนใจ รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้

(ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต)

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Arthit Ourairat ระบุว่า

“สภาล่มบ่อย ต้องกำหนดว่า ส.ส.ไม่มาประชุม ขาดประชุม ไม่แสดงตนว่าอยู่ในที่ประชุมเกินกี่ครั้งในสมัยประชุม ให้พ้นจากสมาชิกภาพ เหมือนขาดงาน โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่มีเหตุผลอันควร”

ขณะที่ ทีมงานพรรคกล้า ของนายกรณ์ จาติกวณิช ได้เข้ายื่นหนังสือ พร้อมแนบรายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 8,000 รายชื่อ ถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ผ่าน นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับการประชุม เพิ่มโทษทางวินัยแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่บกพร่องในการทำหน้าที่ 3 ข้อ คือ

1. การตัดเงินเดือนในวันที่ไม่แสดงตัว โดยคิดเป็นอัตรารายวัน คำนวนจากฐานเงินเดือน หารด้วยจำนวน 30 วัน หากไม่มีจดหมายลาแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร

2. เมื่อ ส.ส.ท่านใด ขาดการแสดงตัวเกินร้อยละ 25 จะถูกคาดโทษ “ใบเหลือง” คือ การจำกัดสิทธิในการโหวตรับรองร่างกฎหมาย และการอภิปรายในการประชุม 2 ครั้ง

3. เมื่อ ส.ส.ท่านใด ขาดการแสดงตัวเกินร้อยละ 50 จะถูกคาดโทษ “ใบแดง” คือ การจำกัดสิทธิการสมัครลงรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎร และการดำรงตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง ในสมัยเลือกตั้งหน้า

(แฟ้มภาพ : สมชาย แสวงการ)

ด้าน นายสมชาย แสวงการ ส.ว. โพสต์ใน เฟซบุ๊กส่วนตัว โดยสรุป ยื่นคำร้องต่อสภา ตรวจสอบรายชื่อและพฤติกรรม ที่ไม่ร่วมประชุมไม่ร่วมแสดงตนเป็นองค์ประชุมหรือลงมติ เป็นประจำ จนถือเป็นการจงใจทำให้สภาผู้แทนราษฎรล่ม ยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ หาก ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ป.ป.ช. ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกา เพื่อวินิจฉัยต่อไป เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้รับคำร้องไว้ ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที และหากศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ และอาจถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี

นอกจากนี้ในวันที่ 12 ก.พ. 2565 ซูเปอร์โพล ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สภาล่ม กับ เสียงของประชาน จำนวน 1,152 ตัวอย่าง (ระหว่างวันที่ 9-11 ก.พ. 2565) มีหัวข้อ 5 อันดับแรก แนวทางแก้ปัญหา สภาล่ม ดังนี้

ร้อยละ 94.5 ระบุ แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปการเมือง ลดจำนวน ส.ส. เพิ่มบทลงโทษ ส.ส. ขาดจิตสำนึกต้นเหตุสภาล่ม

ร้อยละ 93.7 ระบุ ให้พรรคการเมือง ออกมาแสดงความรับผิดชอบ

ร้อยละ 93.4 ระบุ ทุกภาคประชาสังคมร่วมประณาม จี้ สส.แก้วิกฤตและเคารพประชาชน

ร้อยละ 93.2 ระบุ ขาน ประจานชื่อ สส. ทุกคน ต้นเหตุสภาล่มและไม่เลือกเข้ามา

ร้อยละ 92.4 ระบุ ส.ส. ต้องรีบปรับปรุงตนเอง ทำงานให้คุ้มเงินภาษีของประชาชน ก่อนจะสายเกินไป

สุดท้ายแล้ว ปัญหา “สภาล่ม” จะได้รับการแก้ไขอย่างไรหรือไม่นั้น ต้องติดตามกันต่อไป เพราะก่อน ปิดสมัยประชุมนี้ในวันที่ 28 ก.พ. 2565 การประชุมสภา มีวาระสำคัญๆ ในวันที่ 17 และ 18 ก.พ. จะเปิดอภิปรายรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายสำคัญๆ จ่อคิว อาทิ 23 ก.พ. ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น เสนอโดย นายชิณวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ วันที่ 24 และ 25 ก.พ. พิจารณา พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. หรือกฎหมายลูก

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

“สภาล่ม” เกมวัดเสถียรภาพรัฐบาล บนผลประโยชน์ของประชาชน ?

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า