SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ก้าวไกล’ ยื่นหนังสือประธานศาลฎีกา ถามแนวทางการให้ประกันตัวผู้ต้องหาจากคดีการเมือง ขอให้ยึดหลักนิติรัฐ-ความยุติธรรม ควรมีเหตุผลพิเศษ และให้แสดงเหตุผลไว้ในร่างคำพิพากษาหรือคำสั่ง

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นำคณะ อาทิ นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรค และ ส.ส. พรรคก้าวไกล ยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เพื่อสอบถามประเด็นบรรทัดฐานในการให้ประกันตัวผู้ต้องหาจากคดีการแสดงออกทางการเมือง ขอให้พิจารณาดำเนินการตามหลักนิติรัฐและความยุติธรรม 

จากกรณีที่ศาลอาญาไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนักกิจกรรมทางการเมือง ส่งผลให้ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ‘ตะวัน’ และ น.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ ‘แบม’ นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ประกาศถอนประกันตนเองและอดน้ำ-อาหาร เพื่อเรียกร้องต่อกระบวนการยุติธรรมให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองทุกคน ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม เป็นต้นมา

จากนั้น นายพิธา อ่านข้อความในหนังสือ มีเนื้อหาสอบถามไปยังประธานศาลฎีกาสรุปว่า ตามที่ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการรายงานคดีสำคัญในศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ต่อประธานศาลฎีกา และการรายงานคดีและการตรวจสำนวนคดีในสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค พ.ศ. 2562 กำหนดให้ในคดีเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107 – 135 ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นต้องรายงานคดีต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค และอธิบดีผู้พิพากษาต้องรายงานคดีต่อประธานศาลฎีกา

โดยกำหนดให้มีการตรวจร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยตามข้อ 14 แห่งระเบียบดังกล่าว ระบุว่า การตรวจร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งตามข้อ 13 ให้ดำเนินการเพื่อรักษาแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้การใช้ดุลพินิจของศาลเป็นไปโดยถูกต้องในแนวทางเดียวกัน ในกรณีที่ต่างไปจากแนวบรรทัดฐาน ควรมีเหตุผลพิเศษ และให้แสดงเหตุผลไว้ในร่างคำพิพากษาหรือคำสั่งด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

จึงขอสอบถามว่า การที่ศาลยุติธรรมมีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาที่เกิดจากการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 112 มาตรา 116 หรือมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าบุคคลดังกล่าวได้กระทำผิดจริงตามคำฟ้อง เป็นคำสั่งอันเนื่องจากการควบคุมความเป็นเอกภาพของคำสั่งศาลตามนัยแห่งระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการรายงานคดีสำคัญในศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ต่อประธานศาลฎีกา และการรายงานคดีและการตรวจสำนวนคดีในสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค พ.ศ. 2562 ซึ่งอยู่ในการควบคุมกำกับดูแลหรือบังคับบัญชาของประธานศาลฎีกาหรือไม่

“สถานการณ์ที่บอบบางต่อการประกันสิทธิเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองไว้ในปัจจุบัน อาจคลี่คลายได้ด้วยการที่ศาลยุติธรรม โดยกำกับดูแลหรือบังคับบัญชาของท่าน เคารพหลักนิติรัฐและจรรโลงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างแท้จริง” นายพิธา กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า