SHARE

คัดลอกแล้ว

‘พิธา’ ชำแหละร่างงบฯ ปี 66 เป็น “งบของช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้” 70% ถูกใช้กับอดีต ละเลยคนตัวเล็ก

วันที่ 31 พ.ค. 2565 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ปีนี้เป็นปีที่ 4 โดยสรุประบุว่า การจัดงบประมาณปีนี้สำคัญ ไม่ใช่ว่าปีนี้เป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลชุดนี้ ไม่ใช่เพียงแค่วาระของรัฐบาลชุดนี้กำลังจะหมดไป แต่เป็นปีนี้เป็นปีแห่งการฟื้นฟูประเทศ เป็นปีแห่งความหวัง ที่ประชาชนจะสามารถลืมตาอ้าปาก แล้วก็เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่เคยถามหาเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะสถานการณ์โควิดมีอัตราการติดเชื้อ รวมทั้งการเสียชีวิตลดลง อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวกำลังจะกลับมาอีกครั้ง ขณะที่การเมืองเพิ่งผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เห็นได้ชัดว่า ประชาชนมีความหวังในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และปีหน้ากำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่ ในจังหวะที่ประเทศกำลังมีความหวัง

ดังนั้นงบประมาณของปี 2566 จึงเป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้าน้ำขึ้นและกระบวยที่ลงทุนเล็ก ก็ตักน้ำไม่ได้อยู่ดี ปีนี้จำเป็นต้องลงทุนประเทศ ส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าจัดงบปี 2566 ดี ประเทศจะทะยานไปข้างหน้า นี่คือจุดตัดจุดเปลี่ยนของประเทศ แต่ถ้าจัดงบไม่ดี ทศวรรษหน้าก็จะเป็นเหมือนทศวรรษที่ผ่านมา แต่เท่าที่สแกนดูแล้ว ปีนี้เป็น “งบประมาณของช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้” รายได้ผันผวน รายจ่ายแข็งตัว การกู้จะหลุดกรอบ

โดยรายได้ประมาณการ จะเก็บได้ที่ 2,490,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,185,000 ล้านบาท จำเป็นต้องกู้เพิ่ม 695,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของรายได้คือ การเก็บภาษีที่ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หลุดเป้าปีละ 200,000-300,000 ล้านบาท พึ่งพาโครงสร้างธุรกิจแบบเดิม เน้นอุตสาหกรรมยานยนต์ พลังงาน ท่องเที่ยว ขณะเดียวกันแรงงานทั้งประเทศ 40 ล้านคน มีแค่ 4 ล้านคนเสียภาษี เมื่อรายได้ไม่เพียงพอจึงต้องกู้ตลอดเวลา และที่หลายประเทศกำลังเจอคือภาวะเงินเฟ้อสูง ทำให้ภาระในการกู้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม พบว่า วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาทของร่างฯ งบปี 2566 โดยส่วนที่สูงสุดคือ เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท สูงกว่างบกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวง ขณะที่รายได้ ปี 2562-2564 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โครงสร้างงบประมาณตั้งแต่ปี 2563 มีการจัดแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง 3 ใน 4 เป็นงบประจำทั้งหมด ไม่ได้ตอบสนองกับวิกฤต หรือโอกาสที่เราจะได้เจอในปีหน้าแต่อย่างใด เป็นโครงสร้างงบประมาณที่น่ากลัว เป็นยาขมที่พวกเราต้องกลืน

นายพิธา ได้ยกตัวอย่างว่า โครงสร้างรายจ่าย ทุกๆ 100 บาท 40 บาทหมดไปกับรายจ่ายบุคลากร 10% ชำระหนี้และดอกเบี้ยเก่า 10% หมดไปกับการอุดหนุน อปท. 7% สวัสดิการที่เป็นนโยบายในอดีต 5% ภาวะผูกพันในอดีตเหลือ 29% เป็นพื้นที่ทางการคลัง ที่จะทำให้กระบวยเราใหญ่ เวลาน้ำขึ้นจะตักได้ โดยเงินบำนาญข้าราชการขึ้นเป็น 2 เท่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา (2557-2564) แค่บำนาญเกินงบประมาณที่ต้องใช้ จำเป็นต้องส่งสัญญาณไปถึงพี่น้องข้าราชการว่า ต้องช่วยกันคิดแล้วว่ากระบวนการรัฐข้าราชการอุ้ยอ้ายแบบนี้จะไปต่อกันอย่างไร เพราะในปี 2580 งบในส่วนนี้ จากกว่า 300,000 ล้านบาท จะกลายเป็นกว่า 800,000 ล้านบาท

หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายไปที่งบภาคเกษตรที่ระบุว่า จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกษตรกร เป็นงบสูงถึง 79,000 ล้านบาท แต่ในรายละเอียด ปรากฏว่า งบภาคการเกษตร 57,000 ล้านบาท เป็นการชำระหนี้ให้กับนโยบายประกันกับจำนำ ย้อนหลังไปถึงปี 2551 ส่วนแผนบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ 27,000 ล้านบาท เป็นการชำระใช้หนี้ ธกส. ย้อนหลัง รวม 84,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าแผนยุทธศาสตร์ภาคการเกษตร เป็นงบ “ไม่ตรงปก” จำเป็นต้องปรับประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิด “ส้มหล่นภาคเกษตร” เกิดขึ้นได้จริง ส่วนงบอุดหนุนเครื่องจักรที่ตั้งไว้ 15,000 ล้านบาท ใช้กับ 4.6 ล้านครอบครัว หารแล้วก็จะเท่ากับได้ครอบครัวละ 3,000 บาท ตนไม่แน่ใจว่าจะให้ซื้อเครื่องจักรแบบไหน ซื้อปุ๋ย 2 ลูกก็หมดแล้ว ไม่เหมือนที่นายกฯ โฆษณาไว้

ขณะที่ งบเกี่ยวกับ Soft power ในกระทรวงวัฒนธรรม ตั้งไว้แค่ 60 ล้านบาท แต่ในรายละเอียดพบว่า โครงการภาพยนตร์ มี KPI คนดูแค่ 50,000 คน หลังจาก มิลลิไปกินข้าวเหนียวมะม่วง แต่งบไม่ตรงกับ Soft power สุดท้ายงบ EEC 11,000 ล้าน คนที่รับนักลงทุนต่างชาติ นายทุนใหญ่ ส่วน SME มีงบ 2,700 ล้านบาท คนที่รับคือ SME มี 3 ล้านราย เท่ากับคนละ 900 บาท ซื้อปุ๋ยได้ครึ่งลูก แสดงให้เห็นว่าการใช้งบฟื้นฟูเศรษฐกิจละเลยทุนคนตัวเล็กตัวน้อยอย่างเห็นได้ชัด ไม่ยุติธรรม ไม่สร้างสรรค์ และไม่มีประสิทธิภาพ

นายพิธา ระบุว่า ไม่สามารถรับหลักการร่างงบฯ ปี 66 ได้ พร้อมเสนอให้จัดงบประมาณ “กระจายไม่กระจุก” โดยรายได้ อปท. ปัจจุบันแบ่งได้ 70:30 ตัวเลขนี้ พรรคก้าวไกลเห็นว่า ควรเป็น 50:50 จะให้รายได้จาก 700,000 ล้านบาท ขึ้นทันทีเป็น 1,200,000 ล้านบาท 89 ล้านบาท กลายเป็น 153 ล้านบาท จะนำไปเสริมสร้างท้องถิ่นได้อย่างตรงจุด ระเบิดเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นต้องพึ่งแต่ทุนใหญ่ จัดงบจากข้างล่างไม่ใช่มาจากข้างบน คือหมดยุคมากๆ ที่เน้นพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดใหญ่ ต้องช่วยเหลือ SME ให้ไปสู่ดิจิทัล และจัดงบจากข้างนอกมาหา ไม่ใช่เอาตัวเราไปขายข้างนอก ทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โตด้วยแบรนด์ดิ้งไทย ส่งเสริม Soft Power

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า