SHARE

คัดลอกแล้ว

‘พิธา’ อภิปรายตัดงบสำนักนายกฯ เหตุซ้ำซ้อน-ไร้ประสิทธิภาพ ชี้ควรเอาไปพัฒนาเรื่อง “ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ” ของประเทศ

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายแปรญัตติ ตัดลดงบประมาณในส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรี (มาตรา 7) ลง 40% โดยระบุว่าเนื่องจากเป็นงบประมาณที่ไม่มีเหตุผลความจำเป็น และมีความซ้ำซ้อนฟุ่มเฟือย มีงบประมาณที่ไม่ควรอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่แรก และยังมีงบประมาณที่ใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ สำนักนายกรัฐมนตรีมีทั้งหมด 28 หน่วยงาน แต่เกือบ 80% อยู่กับ 5 หน่วยงาน กล่าวคือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) 5,435 ล้านบาท โดย 3,713 ล้านบาท เป็นงบประมาณเกี่ยวกับเบี้ยเลี้ยงกำลังพลทั้งสิ้น ซึ่งซ้ำซ้อนกับงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัดที่มีทั้งเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และเงินพิเศษให้อยู่แล้ว และยังมีศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ที่ของบประมาณมา 1,256 ล้านบาท เป็นงบประมาณในการสร้างบ้านพักและสำนักงาน รวมทั้งซื้อเรือเพิ่ม 766 ล้านบาท ซึ่งไม่มีความจำเป็น เพราะเป็นเพียงการรวมบุคลากรเท่านั้น ไม่ใช่การเพิ่มบุคลากรที่ทำให้จำเป็นต้องมีบ้านพักหรือสำนักงานเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ยังมีราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาและวิจัย ที่น่าจะอยู่กับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แต่กลับมาอยู่ในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรีโดยกินงบประมาณถึงไป 21% ของทั้งสำนัก ส่วนงบประมาณในหน่วยงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หากลงไปดูในรายละเอียด จะพบว่า มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของนายกรัฐมนตรีจริงๆ เพียง 13% เท่านั้น ที่เหลือเป็นงบประมาณที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น งบประมาณเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง และม้าทรง ที่ควรย้ายไปอยู่ใน มาตรา 36 หรือราชการส่วนพระองค์มากกว่า และยังมีงบประมาณลับ 558 ล้านบาทด้วย

พิธา อภิปรายต่อไปว่า ในส่วนของงบประมาณของกรมประชาสัมพันธ์ 1,454 ล้านบาท จะพบว่าที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้ว่ายอดผู้ติดตามในช่องทางต่างๆ เช่น เฟซบุ๊กของกรมประชาสัมพันธ์ มีผู้ติดตามอยู่ 4.1 แสนคน เท่ากันกับอีกหน่วยงาน คือเฟซบุ๊กของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ใช้งบประมาณเพียง 14 ล้านบาท หรือต่างกัน 100 เท่า แต่กลับมีผลลัพธ์ที่เท่ากัน การจัดสรรงบประมาณของสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นนี้ จึงเป็นการเบียดเบียนพื้นที่การคลังที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศและประชาชนโดยตรง เช่น งบประมาณที่ควรจัดสรรให้ธนาคารที่ดิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน ซึ่งได้รับงบประมาณเพียง 37 ล้านบาทเท่านั้น เช่นเดียวกับสำนักงานทรัพยากรน้ำ ที่ใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง, สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เกี่ยวกับการยกระดับซอฟต์พาวเวอร์, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ล้วนแต่ได้งบประมาณเพียงน้อยนิดเท่านั้น

“ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน เรื่องของน้ำ รัฐบาลดิจิทัล การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เปรียบได้เป็น ‘ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ’ ของประเทศทั้งนั้น นี่คือปัญหาของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เบียดบังงบประมาณที่ควรนำไปพัฒนาเรื่องที่มีความสำคัญของประเทศมากกว่านี้” ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าว

ภาพจาก : พรรคก้าวไกล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า