SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ปิยบุตร’ อภิปรายเสนอเปลี่ยนที่มาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากองค์กรศาล-ส.ส.รัฐบาล-ส.ส.ฝ่ายค้าน สัดส่วนเท่ากัน ใช้เสียง 2 ใน 3 สภาโหวตเลือก

วันที่ 16 พ.ย. 2564 นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้แทนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 135,247 คน อภิปรายร่างแก้รัฐธรรมนูญ โดยชี้แจง 2 ข้อเสนอ 1. ปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญและองค์การอิสระ 2. ลบล้างผลพวงของรัฐประหารและการป้องกันรัฐประหาร

ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เข้ามามีบทบาทอย่างมากตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ ปี 2540 หลังเกิดรัฐประหารปี 2557 มีรัฐธรรมนูญ ปี 2560 วุฒิสภา (ส.ว.) ที่จะเป็นผู้เคาะว่าใครได้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ นั่นคือวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช. และมีผู้ดำรงตำแหน่งอีกหลายคนที่มาจากความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในสมัยคสช. มีการตั้งคำถามจากประชาชนทั่วไป แต่ไม่ได้หมายความประเทศใดเป็นประเทศเดียวที่เป็นแบบนี้ หลายประเทศก็มีปัญหา เพราะเพิ่มอำนาจให้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทุกฝ่ายประสงค์จะเข้ามาช่วงชิง ครอบงำตรงนี้

ข้อเสนอของเราคือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้มี 9 คนเหมือนเดิมให้สัดส่วนหนึ่งมาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเป็นผู้คัดเลือกเสนอชื่อมา 6 คน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเสนอ 6 คน และส.ส.ฝ่ายค้านเสนอ 6 คน รวม 18 คน เสร็จแล้วให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเลือกให้เหลือ 3 : 3 : 3 โดยใช้เสียง 2 ใน 3 ของสภา

ถ้าคุณต้องมีศาลรัฐธรรมนูญ คุณจำเป็นสร้างความชอบธรรมทางประชาธิปไตยให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญเป็น องค์กรที่ใช้อำนาจแล้วเผชิญหน้ากับองค์กรนิติบัญญัติในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น คนที่มาเป็นศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยพอฟัดพอเหวี่ยงกัน จึงเป็นที่มาให้การออกแบบให้ ส.ส. เข้ามามีบทบาทให้การเลือกศาลรัฐธรรมนูญ และกลัว ส.ส. เสียงข้างมากยึดไปหมด เลยใช้มติเสียงที่สูง เราก็จะได้องค์กรที่ได้มาอย่างมีดุลยภาพ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระ อย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ในอดีตที่ผ่านมาเราสร้างศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติ ที่ผ่านสภาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ปรากฏว่านานวันเข้าไปเพิ่มอำนาจแปลกๆ ใหม่ๆ เพื่อพัวพันกับการเมืองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยุบพรรค ตัดสิทธิ์ ส.ส. การตรวจสอบคุณสมบัติต้องห้ามของรัฐมนตรี เป็นต้น ทำให้หลีกหนีไม่พ้นว่าศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น ทั้งนี้เสนอให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ คงเหลือตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติฯ และชี้ขาดความขัดแย้งระหว่างองค์กร นอกจากนี้เสนอให้ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องไม่เคยเป็นคนที่เคยดำรงตำแหน่งจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารปี 2549 และปี 2557 พร้อมเสนอให้มีระบบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง โดยใช้มติเสียง 3 ใน 4 ซึ่งต้องใช้เสียงสูงมากไม่ใช่ถอดถอนได้ง่ายๆ และยังเสนอให้มีผู้ตรวจการศาล และองค์กรอิสระ จาก ส.ส.รัฐบาล 5 คน ส.ส.ฝ่านค้าน 5 คน

นายปิยบุตร อภิปรายเรื่องลบล้างผลพวงของรัฐประหารและป้องกันรัฐประหารต่อไป เสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ที่รับรองให้บรรดาประกาศคำสั่งคสช. และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2560 การเขียนแบบนี้เป็นการสร้างหลุมดำให้รัฐธรรมนูญ เพราะยิ่งเขียนให้ชอบแสดงว่าไม่ชอบ และเรายังเขียนให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิ และหน้าที่ในการต่อต้านรัฐประหาร ข้าราชการ มีหน้าที่ไม่ฟังคำสั่งของคนทำรัฐประหาร และห้ามมิให้ศาลพิพากษาในลักษณะที่เป็นการยอมรับรัฐประหาร

“ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่ง เพราะเชื่อมั่นว่าการเขียนรัฐธรรมนูญที่ดี การออกแบบรัฐธรรมนูญที่ดี จะต้องออกแบบในลักษณะที่สร้างกติกาที่เป็นกลาง ไม่ให้ใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบไปกว่ากัน… แล้วมาสู้ทางการเมืองด้วยกติกาที่เป็นกลาง …ผมขอความเห็นชอบจากเพื่อนสมาชิกทุกท่านลงมติรับหลักการในวาระที่ 1 ไปก่อน อย่างน้อยๆ เป็นการแสดงออกว่าพวกท่านไม่ได้ปิดประตูใส่ผู้เข้าชื่อเสนอกันมา… ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน คนทำรัฐประหารจะต้องถูกดำเนินคดี และการรัฐประหารจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต” นายปิยบุตร กล่าวตอนหนึ่งในช่วงท้ายของการอภิปราย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า