SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาองค์กรของผู้บริโภค ยื่นหนังสือกระทรวงพลังงาน เสนอแนวทางแก้ไขปํญหาราคาไฟฟ้าแพง พร้อมระบุมีหลายปัจจัยส่งผลให้พลังงานแพงไม่ได้เกิดจากภาวะสงครามหรือราคาก๊าซธรรมชาติเท่านั้น

วันที่ 21 มี.ค. 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค พร้อมเครือข่าย นำโดย นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสภองค์กรของผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึง นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผ่านนายสมภพ พัฒนอริยางกูล โฆษกกระทรวงพลังงาน กรณีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กกพ. มีมติปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือน พ.ค.-ส.ค.65 ที่ 24.77 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์/หน่วย เป็น 4.00 บาท/หน่วย และคาดว่าจะมีการทยอยนำไปปรับขึ้นค่าเอฟทีต่อไปอีกในอนาคต

โดยสภาองค์กรของผู้บริโภค มองว่า ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นไม่ใช่จากภาวะสงครามหรือราคาก๊าซธรรมบาติขยับสูงขึ้น แต่มีปัจจัยอื่น เช่น การวางแผนการผลิตไฟฟ้าที่ขาดการคำนึง จนตอนนี้มีพลังงานไฟฟ้าเกินความจำเป็น โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งปี 46,136.4 เมกะวัตต์ ขณะที่มียอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีละ ประมาณ 30,000 เมกะวัตต์ (อ้างอิงปี 2562-2564) ซึ่งทำให้มีไฟฟ้าล้นความต้องการ ปีละ 10,000เมกะวัตต์ คิดเป็นมีกำลังผลิตสำรองสูงถึง 50%

ทั้งที่ตามหลักการแล้ว ควรจะต้องมีกำลังผลิตสำรองไฟฟ้า 15% เท่านั้น ซึ่งจากปริมาณไฟฟ้าผลิตสำรองที่มากถึง50% ส่งผลให้ต้องรัฐต้อง จ่ายค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าปีละ 49,000 ล้านบาทต่อปี ให้กับเอกชนเจ้าของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพราะได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าลักษณะไม่ซื้อก็ต้องจ่าย ซึ่งมีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 8 ใน12 แห่ง ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเต็มที่ แต่ได้รับเงินค่าพร้อมจ่ายทุกปี โดยเงินจำนวนที่จ่ายให้โรงไฟฟ้า มาจากประชาชนที่จ่ายค่าไฟฟ้าด้วย

นอกจากนี้ ประชาชนต้องแบกรับภาระจากที่รัฐรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในราคาสูงถึง 4 บาทต่อหน่วย แต่ละปีมีปริมาณการซื้อไฟฟ้ามากถึง 18,014 ล้านหน่วย เป็นเงินกว่า 73,261 ล้านบาท ซึ่งสิ้นเปลือง และเป็นราคาที่แพง มีข้อมูลว่า โรงไฟฟ้าขนาดเล็กทั้งหมด 155 โรง เป็นโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงมากถึง 76 โรง คิดเป็น 49% ซึ่งมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวีบนแค่ 74โรงเท่านั้น อีกทั้งที่ผ่านมาประชาชนต้องรับภาระค่าสถานีบริการและค่าผ่านท่อ จากไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ โดยใช้ราคา POOL ก๊าซ ซึ่งตามหลักแล้วก๊าซธรารชาติเราได้จากอ่าวไทย ตามข้อเท็จจริงไม่ควรคิดรวมกัน

ส่วนข้อเสนอของสภาองค์กรผู้บริโภคต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้สนับสนุนประชาชนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ทุกบ้าน โดยให้การไฟฟ้าเปลี่ยนระบบการคิดค่าไฟฟ้าเป็นแบบเน็ตมิเตอริ่ง หรือระบบคิดค่าไฟฟ้าแบบหักลบ-กลบหน่วย และให้ขยายระยะเวลาการับซื้อไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 10 ปี เป็น 20-25ปี หรือตามอายุการใช้งานของแผงโซลาร์ พร้อมทั้งจัดหาแหล่งทุนกู้ยืมดอกเบี้ยร้อยละหนึ่งต่อปี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ได้อย่างแท้จริง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า