Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“ความเชื่อ ความรู้สึกของคนทุกคน หรือความรักที่แต่ละคนมีให้กับใคร จริงๆ มันมีรากแล้วก็มีที่มา มันไม่ได้แปลว่าเหตุผลเท่านั้น หมอชอบเทียบว่าเหมือนเด็กๆ เชียร์แมนยู ลิเวอร์พูลอย่างนี้ บางทีถึงแม้จะเล่นห่วยอย่างไร เล่นไม่ดีอย่างไร เพราะรักมันก็เชียร์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิราภรณ์ อรุณากูร หรือ หมอโอ๋ กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น รพ.รามาธิบดีฯ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน กล่าวเปรียบเทียบเรื่องความเชื่อความรักและความศรัทธาของมนุษย์ ท่ามกลางสถานการณ์การเมือง และความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัวที่มีความเห็นแตกต่างกัน

โพสต์ใน Facebook ที่ถูกแชร์และได้รับความสนใจจำนวนมากท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ คือ โพสต์ที่พูดถึงทางออก มุมมอง เมื่อลูกเห็นต่างทางการเมือง และ เมื่อลูกเห็นต่างทางการเมือง จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน เผยแพร่ออกมาในเวลาใกล้เคียงกัน เขียนโดย หมอโอ๋ หลังจากที่มีทั้งผู้ปกครอง และเด็กวัยรุ่น เข้ามาปรึกษาเรื่องนี้กับคลินิกจำนวนมาก และยังมีส่งข้อความมาขอคำปรึกษาในเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ด้วยคำถามประมาณว่า “ไม่อยากให้ลูกไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง”  “ลูกก้าวร้าวไม่ฟัง”  “จะอยู่กับพ่อแม่อย่างไรในเมื่อเขาไม่รับฟัง เขาเห็นต่างจากเรา” ทำให้เห็นชัดเจนว่าปัญหาความไม่เข้าใจกันในครอบครัวเพราะความเห็นต่าง เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข

ปรับ Mindset เปิดพื้นที่สื่อสารสร้างความเข้าใจ

พญ.จิราภรณ์ กล่าวว่า การเรื่องปรับ Mindset เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการที่เราจะสื่อสารกันโดยที่ต่างฝ่ายต่างมี Mindset แบบหนึ่ง หรือว่ามีอคติในรูปแบบหนึ่ง หรือว่าเราตีตราอีกฝ่ายหนึ่ง นั้นทำให้เราเปิดพื้นที่สื่อสารกันยาก ดังนั้นจึงอยากให้แต่ละฝ่ายปรับวิธีการเป้าหมายของการสื่อสารกับคนในครอบครัวว่าเราไม่ได้มาพูดคุยเพื่อคำให้อีกฝั่งคิดเหมือนเรา แต่เราจะมาพูดคุยกันเพื่อเราอยากเข้าใจว่าอีกฝั่งมีความรู้สึกอึดอัดอะไร มีความต้องการอะไร และเพื่อศึกษาว่าสิ่งที่อีกฝ่ายให้คุณค่ามีอะไรอยูในนั้น แทนที่จะถกเถียงกันเฉพาะข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างได้รับมาไม่เหมือนกัน

“คือมองเข้าไปจริงๆ มันคือสิ่งที่อยู่ข้างใต้ มันไม่ใช่แค่เรื่องของความคิด แต่ความคิดนี้มันมีที่มา ที่มาที่มันขับเคลื่อนอยู่มันคืออะไร ทีนี้เวลาเราพูดเรื่องข้อมูลเฉยๆ แล้วมาเถียงกัน มันก็จะนำมาสู่การทะเลาะ เพราะแต่ละคนโตมากับข้อมูลคนละชุดมันก็จะมีการเห็นว่าอีกฝั่งไม่รู้เรื่อง ส่วนอีกคนก็เห็นว่าอีกฝั่งถูกล้างสมอง เพราะฉะนั้นมันคุยกันไม่ได้ จริงๆ สิ่งที่แต่ละฝั่งให้คุณค่าไม่ใช่เรื่องผิด สิ่งที่แต่ละฝั่งรู้สึกก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ถ้าเราเริ่มคุยกันไปในระดับนี้ได้ เราจะเริ่มเข้าใจกันมากขึ้น” หมอโอ๋ กล่าว

เติบโตมาด้วยข้อมูลคนละชุด การให้คุณค่าต่างกัน

หมอโอ๋ อธิบายว่าช่วงอายุ สังคม วัฒนธรรมของคนรุ่นพ่อแม่ กับวัยรุ่นแตกต่างกัน มีที่มาต่างกัน ทำให้สิ่งที่ได้รับมาอาจเป็นข้อมูลคนละชุด
“พ่อคุณแม่อาจจะเติบโตมากับวัฒนธรรมความเชื่อในเรื่องของการให้ความเคารพ พ่อแม่ส่วนหนึ่งก็เป็นลักษณะของ Conservative ไม่อยากเปลี่ยนแปลงไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แล้วก็เคารพในสิ่งที่ตัวเองเคารพ รวมไปถึงเติบโตมากับความรู้สึกว่าเด็กต้องอยู่ใต้อำนาจของผู้ใหญ่ เด็กต้องเชื่อฟัง เด็กยุคนี้เขาโตมากับการให้คุณค่าคนละเรื่อง เขาให้คุณค่ากับสิทธิเสรีภาพ ให้คุณค่ากับเรื่องของการเคารพความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม คุณค่าของความถูกต้อง ยุติธรรม ความเคารพของเด็กยุคใหม่เกิดจากคุณลักษณะที่น่าเคารพ นอกจากนี้ข้อมูลที่พ่อแม่โตมากับเด็กโตมาก็เป็นข้อมูลกันคนละชุด พ่อแม่โตมากับข้อมูลที่ผ่านหนังสือพิมพ์กับข้อมูลจากทีวีบางช่อง เด็กๆ โตมากับข้อมูลที่ผ่าน Twitter เด็กไม่ได้เรียนรู้แค่ผ่านการฟังพ่อแม่ในครอบครัว เด็กคุยกับเพื่อนทั้งประเทศไทย คุยกับเพื่อนผ่านสิ่งที่มีหลักฐานชัดเจน บางอันเป็นหลักฐานที่ต่างประเทศพูด เราไม่ได้พูด มันก็เลยทำให้เด็กมีข้อมูลเหล่านี้ที่เยอะมาก ทำให้แนวคิดต่างๆ ของเด็กยุคใหม่ ก็มีความเปลี่ยนไปจากที่ผู้ใหญ่เคยคิด”

การตั้งคำถาม – และแสดงออก เป็นคุณลักษณะสำคัญ

การที่เด็กสามารถคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และตั้งคำถามได้ ถือว่าเป็นคุณลักษณะที่ดี ที่เขาลุกขึ้นมาถามคำถามกับสิ่งที่กำลังเติบโต และสิ่งที่เด็กตั้งคำถาม เขาไม่ได้แค่สงสัยแต่กล้าหาญที่จะออกมาถามคำถามออกไปแบบเสียงดังๆ กล้าจะมาเรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง “เราไม่ได้พูดว่าสิ่งที่เขาเรียกร้องถูกหรือไม่ถูกนะคะ แต่การขับเคลื่อนแบบนี้ จริงๆเป็นพลังงานที่ดีมาก เขาตั้งคำถามกับสิ่งที่เขาเห็น เขาตั้งคำถามกับสิ่งที่เขาถูกกระทำ เขาตั้งคำถามกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จุดที่มันปะทุเด็กๆ ทั้งหลาย มันไม่ได้เป็นกระแสแล้วก็แห่กันไป หมอว่ามันมีในเรื่องของการสั่งสมของการตั้งคำถามกับคำว่าอำนาจโดยเฉพาะเรื่องของอำนาจนิยมในโรงเรียนและในบ้าน”

แต่อย่างไรก็ตามคุณหมอระบุว่าการแสดงออกต้องไม่ละเมิดความเชื่อของคนอื่น คำว่าประชาธิปไตย ไม่ได้แปลว่าเราทุกคนต้องคิดเหมือนกัน รวมไปถึงคำว่าประชาธิปไตยที่หมายถึงเรามีพื้นที่ยืนให้กับคนที่เห็นต่าง หลายครั้งที่เราบังคับให้พ่อแม่รับฟังเราไม่ได้ เราทำหน้าที่นั้นก่อนได้ เราเปิดใจรับฟังสิ่งที่พ่อแม่เชื่อ สิ่งที่พ่อแม่รู้สึก สิ่งที่พ่อแม่ให้คุณค่า เมื่อพ่อแม่เขาได้พูดหลายครั้งเขาก็เปิดใจที่จะรับฟัง

พ่อแม่ต้องสร้างพื้นที่ความปลอดภัยให้ลูก

ในขณะเดียวกันพ่อแม่เองต้องเป็นคนสร้างพื้นที่ความปลอดภัยให้ลูก ซึ่งพื้นที่ปลอดภัยตรงนี้ หมอโอ๋ หมายถึง พื้นที่ที่สามารถยอมรับกับความเห็นต่างกันได้ และการยอมรับกับความเห็นต่าง ไม่ได้แปลว่าเราเห็นด้วยกับความเห็นต่าง หรือเราต้องเชื่อกับความเห็นต่างนั้น แต่เราต้องมีพื้นที่ที่จะให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พื้นที่ที่จะรับฟังกัน เพื่อที่จะหาข้อมูลเพื่อเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน และที่สำคัญต้องไม่มี Mindset ที่มีอคติไว้ก่อนว่า “โง่”  “ถูกจูงจมูก”  “มีคนอยู่เบื้องหลัง” เพราะนี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถเข้าไปถึงการเข้าใจความคิดของเด็กได้จริงๆ

ฟังสัมภาษณ์เต็มๆ ได้ที่นี่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า