Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กมธ.งบฯ เพื่อไทยเผย ถกเครียดงบคลังเจอหนี้บน-ใต้พรมจำนวนมาก ค่าดอกเบี้ยพุ่ง จัดเก็บพลาด ประเมิน ศก.ผิด ขณะที่ก้าวไกล ยังขอให้ถ่ายทอดสดการพิจารณาเพื่อความโปร่งใส

วันนี้ (12 มิ.ย. 2565) นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดเผยว่า การประชุม กมธ.งบฯ ได้พิจารณาสัปดาห์แรกจบไปแล้ว เป็นในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สิ่งที่พบเจอ ล้วนแต่น่าหนักใจ

1.หนี้บนพรมพรึบ หนี้ใต้พรมเพียบ นอกจากหนี้สาธารณะ 4.4 ล้านล้านบาท ที่ถูกสร้างใหม่ขึ้นใน 8 ปี ยังเจอกับหนี้ที่ไม่ถูกบันทึกเป็นหนี้สาธารณะจากมาตรการกึ่งการคลังอีกราว 1 ล้านล้านบาท และพุ่งแรงต่อเนื่องจากมาตรการด้านการเกษตรของรัฐบาล เป็นรายจ่ายก้อนโตทุกๆปี ที่ต้องตั้งงบประมาณจ่ายไปยัง ธกส. เป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญแทบไม่มีข้อมูลเลยว่ารัฐบาลใช้อะไรไปบ้าง ยอดคงค้างเท่าไหร่ ชำระเป็นอย่างไร กมธ.จากพรรคเพื่อไทยได้เรียกขอเอกสารไปทั้งหมด ต้องติดตามกันดูต่อ

2.ค่าดอกเบี้ยพุ่ง การใช้หนี้สาธารณะในส่วนของ สบน. ปีนี้เป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงถึง 192,126 ล้านบาท เกือบ 3 เท่าของการชำระเงินต้น ภาษีประชาชนถูกนำไปใช้หนี้แต่ไปจมอยู่ที่ค่าดอกเบี้ย ยังไม่รวมค่าดอกเบี้ยจากหนี้ใต้พรมอีก นี่คือต้นทุนอันมหาศาลของการกู้เงินและการสร้างหนี้สาธารณะไปเรื่อยๆ ซึ่งในระยะหลังๆเป็นการกู้ที่ไม่สร้างรายได้ให้กับประเทศ

3.ประเมิน ศก. ฝันหวาน : ภาพที่เห็นที่ห้อง กมธ.งบฯ นั้นหน่วยงานที่ชี้แจงเสนอภาพที่เต็มด้วยความหวัง ในขณะที่ฝั่ง กมธ. กลับเห็นภาพที่น่าเป็นห่วง เหมือนอยู่กันคนละประเทศ ต้องเจอทั้งเรื่องเงินเฟ้อ ผลจากการต่อสู้เงินเฟ้อของ FED ต้นทุนการผลิตพุ่ง รวมถึงผลกระทบหากไทยต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การคาดการณ์ GDP สำหรับปี 66 (ซึ่งใช้ทำงบ) ที่ 3.7% ยังคงตัวเลขเดิมตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แม้จะมีปัจจัยลบใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4. จัดเก็บพลาด ปีงบฯ 65 กรมสรรพาสามิตเก็บภาษีพลาดเป้าทุกเดือนติดต่อกัน ต่ำกว่าเป้าถึง 26,501 ล้านบาท และภาษีสำหรับการระดมทุนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล มีแนวโน้มเดินหน้าต่อ ทั้งสองภาษีนี้ทำลายตลาดการระดมทุนของประเทศ ในขณะที่ภาษีที่ควรเก็บเช่น ภาษีมรดก กลับไม่คืบหน้า ย่ำอยู่กับที่ราว 200 กว่าล้าน

5.ธนาคารรัฐ วางบทบาทผิด ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งมุ่งสร้างกำไร มุ่งลด NPL เพิ่ม BIS แต่พันธกิจหลักในการเข้าทำในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากทำ เข้าเสี่ยงในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากเสี่ยง กลับไม่ได้ทำ SME bank ที่มีหน้าที่เข้าช่วย SMEs ในช่วงวิกฤตโดยตรง กลับมี NPL ที่ลดลง ที่น่าตกใจสินเชื่อปล่อยใหม่ตั้งแต่ต้นปี 65 แทบไม่มี NPL เลย อีกทั้งเงินให้กู้ยืมต่อรายกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับพันธกิจที่ต้องยอมเสี่ยงเพื่อช่วย SMEs

6. การคลังชนเพดาน การเงินโดนกดดัน ด้านการคลัง งบฉบับนี้ผ่านการเค้นทั้งการประมาณการรายได้ที่สูงเกินจริง จากการคาดการณ์ที่ GDP ที่สูงเกินจริง ซ้ำยังตั้งขาดดุลเกือบเต็มเพดานเพื่อทำให้มีเงินมาใช้จ่าย จนเรียกได้ว่าการคลังชนเพดาน ส่วนนโยบายการเงินก็ถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศให้ในที่สูงอาจต้องฝืนขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีความพร้อมเลย

ก้าวไกล ขอถ่ายทอดสดประชุม กมธ.งบฯ เพื่อความโปร่งใส

นายกรุณพล เทียนสุวรรณ รองโฆษกพรรคก้าวไกลแถลงข่าวประจำสัปดาห์ ตั้งคำถามถึงงบประชารัฐสวัสดิการที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและส่อมีการทุจริต พร้อมย้ำว่าการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้าจะสามารถตอบโจทย์ของประชาชนได้มากกว่าและไม่สิ้นเปลืองงบฯ ในส่วนของค่าดำเนินการ

นายกรุณพล ระบุว่า ในส่วนของความคืบหน้าการพิจารณางบประมาณปี 2566 ในวาระที่ 2 ของชั้นกรรมาธิการ ในช่วงสัปดาห์แรกของการพิจารณาที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เข้ามาชี้แจงต่อกรรมาธิการครบทุกหน่วยงานแล้ว ประเด็นที่พรรคก้าวไกลมีข้อกังวล คือการจัดสรรงบประมาณกองทุนประชารัฐสวัสดิการ เนื่องจากเป็นการจัดงบประมาณที่ไม่น่าจะเพียงพอ ในร่างงบประมาณปี 2566 งบประมาณในส่วนนี้มีการเพิ่มขึ้นเพียง 18% จาก 3 หมื่นล้านบาท เป็น 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันก็กำลังจะมีการขยายกรอบผู้รับสวัสดิการจาก 13.36 ล้านคน เป็น 20 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ยังไม่นับว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรับลงทะเบียนใหม่และการตรวจสอบสิทธิ รวมทั้งค่าดำเนินการต่างๆ ซึ่งงบประมาณที่อยู่ในแผนไม่น่าจะเพียงพอต่อการจัดการ ซึ่งทางผู้ชี้แจงระบุว่าหากงบประมาณไม่เพียงพอจริง ก็ต้องนำงบกลางมาจัดสรร ทำให้พรรคก้าวไกลต้องตั้งคำถาม ว่าเมื่อรู้อยู่แล้วต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ เหตุใดจึงไม่จัดสรรให้เพียงพอแต่แรก แต่กลับไปหวังนำงบกลางที่ต้องใช้เมื่อยามจำเป็นฉุกเฉิน และตรวจสอบได้ยากหรือไม่ได้เลยมาใช้แทน

นายกรุณพล กล่าวว่า ข้อกังวลที่สอง คือกรณีการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ที่ผ่านมา สตง. มีการสุ่มตรวจผู้ถือบัตร 596 ราย จาก 13 กว่าล้านราย พบว่ามีถึง 350 รายหรือ 58.72% ของการสุ่ม เป็นการใช้บัตรของผู้เสียชีวิตไปแล้ว และยังมีการใช้จ่ายในร้านค้าบางแห่งซ้ำกันจนผิดสังเกต เช่น มีกรณีการซื้อแก๊สหุงต้มในร้านเดียวกันถึง 789 ครั้งในยามวิกาล โดยอาศัยการสวมสิทธิของผู้เสียชีวิตเป็นต้น ดังนั้น สมาชิกกรรมาธิการในสัดส่วนพรรคก้าวไกล ได้พิจารณาแล้วเห็นว่างบประมาณในส่วนนี้ยังมีปัญหาอยู่ และยืนยันว่าการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้าอาจตอบโจทย์มากกว่าการจัดแบบเจาะจงที่ช่วยแต่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการตรวจสอบ มีความยุ่งยาก และอาจมีการสวมสิทธิเกิดขึ้นได้

“ในยุคที่มีความผันผวนไม่แน่นอนสูง การให้แบบเจาะจงอาจทำให้คนตกหล่น เนื่องจากเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ทำให้ปัญหาสังคมไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน งบประมาณที่ต้องใช้ในการดำเนินการก็สูง เช่นการจัดการเอกสาร ที่ต้องใช้งบฯ สูงถึง 500 ล้านบาท แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นการให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้าอย่างที่พรรคก้าวไกลเสนอแทน เราจะสามารถนำเงิน 500 ล้านบาทนี้มาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงได้” นายกรุณพล กล่าว

นายกรุณพล กล่าวว่า ในที่ประชุมกรรมาธิการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาชิกกรรมาธิการได้อภิปรายสนับสนุน เรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมกรรมาธิการงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนและสังคมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบงบประมาณจากภาษีของประชาชน อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ยังมีการถกเถียงในกรรมาธิการอย่างกว้างขวางจากทั้งสองฝ่าย เช่น มีความกังวลว่าอาจถูกฟ้องร้อง หรือการเกิดความลับรั่วไหล เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวไกลยืนยันว่ามีแต่การถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้ร่วมติดตามเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้การพิจารณางบประมาณเป็นไปด้วยความโปร่งใส และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และจะยังคงเรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสดการพิจารณางบประมาณในชั้นกรรมาธิการ ทั้งในปีนี้และปีต่อๆ ไปต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า