Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไฟเขียว พ.ร.ก.หนี้กองทุนน้ำมัน ด้าน รมว.พลังงานยันมีความจำเป็น เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจและสถานการณ์น้ำมันโลก ขณะที่ ‘กรณ์’ ย้ำต้องรีบเก็บให้ได้ก่อนโรงกลั่นปันผลกำไรสิ้นปี วิธีการต้องไม่เป็นภาระประชาชน ไม่ต้องกู้ ‘เทวัญ’ ชี้ถ้าทำได้ ราคาน้ำมันลง กองทุนติดหนี้น้อยลง

 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณา พ.ร.ก.ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำทันเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน ชี้แจงความจำเป็นการตรา พ.ร.ก.ครั้งนี้ ว่า เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและสถานการณ์น้ำมันโลก ช่วง 2-3 ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 ที่โควิด-19 ระบาด เป็นจุดเริ่มต้นต้องนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 36,000 ล้านบาท ไปช่วยค่าใช้จ่ายค่าครองชีพประชาชน  เข้าไปดูแลการลดค่าก๊าซหุงต้ม การตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 35บาทต่อลิตรในช่วงราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งสูงต่อเนื่อง บวกกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯติดลบ 1.3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ส.ส.หลายคนทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอภิปรายโจมตี พ.ร.ก.ดังกล่าวที่ไปกู้เงินมา 1.5 แสนล้านบาท นำมาใช้ในกองทุน แต่ไม่มีรายละเอียดกู้มาแล้วจะนำเงินไปทำอะไร เอาเงินที่ไหนมาใช้หนี้ มีรายละเอียดแค่ 3 แผ่น ส่งผลน่าเป็นห่วงต่อหนี้สาธารณะในอนาคต อาทิ นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่มีรายละเอียด วันนี้ต้องประกาศให้ประชาชนรู้ รัฐบาลชุดนี้เอาแต่กู้ ไม่เห็นหัว หลังจากอภิปรายครบถ้วนแล้ว

ภายหลังการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง นานเกือบ 5 ชม. ท้ายที่สุดที่ประชุมลงมติเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวด้วยคะแนน 239 ต่อ166 งดออกเสียง 3 ไม่ลงคะแนน 3 เสียง

ด้าน ‘ชาติพัฒนากล้า’ เสนอรัฐเร่งออก พ.ร.ก.เก็บภาษีลาภลอยโรงกลั่น 

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า แถลงภายหลังสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ พ.ร.ก.ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้กองทุนน้ำมัน 1.5 แสนล้านบาท ว่า หากไม่มี พ.ร.ก.ฉบับนี้ รัฐบาลจะไม่มีเงินมาแทรกแซงราคาน้ำมันให้น้ำมันถูกลงได้ แต่สิ่งที่นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เลขาธิการพรรค ได้อภิปรายต่อสภาฯ คือ การหาทางออกด้วยการปฏิรูปโครงสร้างพลังงาน เพื่อลดภาระกองทุนน้ำมันและประชาชน จะได้ไม่ต้องออกพระราชกำหนดในลักษณะนี้อีก ด้วยการใช้อำนาจออกพระราชกำหนดเก็บภาษีลาภลอยโรงกลั่น มาชดเชยหนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรรีบดำเนินการ เพราะสิ้นปีนี้บริษัทโรงกลั่นต่างๆ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องปิดบัญชี จ่ายกำไรปันผลให้ผู้ถือหุ้นแล้ว ถ้ายังช้าจะไม่สามารถเก็บภาษีได้

“ค่าการกลั่นปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 3.70 บาท สูงสุดเคยขึ้นไปถึง 8 บาทกว่า ช่วงเดือนมิถุนายน ทั้งที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 90 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งค่าการกลั่นประเทศไทย ไปเทียบเคียงกับราคาน้ำมันสิงคโปร์ ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับต้นทุนที่แท้จริงของโรงกลั่นในประเทศ กลายเป็นต้นทุนที่เป็นภาระประชาชน ซึ่งนายเทวัญได้อภิปรายทวงถาม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เคยบอกว่า มีการเจรจากับโรงกลั่น ว่าจะปันส่วนกำไรเดือนละ 8,000 ล้านบาท 3 เดือน รวม 24,000 ล้านบาท มาช่วยลดหนี้กองทุนน้ำมัน ลดภาระประชาชน แต่มาถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการดำเนินการ เป็นสาเหตุทำให้หนี้กองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกวัน สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ ต้องออกกฎหมายให้ชัดเจนเหมือนหลายประเทศ มีข้อกฎหมายให้โรงกลั่นบริจาคเงินเข้ากองทุนได้” นายกรณ์ กล่าว

นายกรณ์ ย้ำว่า เมื่อ พ.ร.ก.ผ่านแล้ว สิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป คือการออกมาตรการลดภาระให้ประชาชน ลดราคาน้ำมันลงมาแบบถาวร โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการกู้ยืม เพื่อเป็นภาระประชาชนอีกต่อไป

นายเทวัญ ลิปตพัลลภ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า ตัวเลขกำไรโรงกลั่นน้ำมัน หลังจากที่มีค่าการกลั่นสูง ตัวเลขมันฟ้องอยู่ที่กำไรของโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งบางโรงกลั่นน้ำมัน กำไรปีที่แล้วทั้งปีกำไร 12,000 ล้าน แต่ปีนี้แค่ครึ่งปี กำไรสูงถึง 3 หมื่นกว่าล้าน บางโรงกลั่นปีที่แล้วกำไร 4,000 กว่าล้าน ปีนี้แค่ครึ่งปีเท่านั้นสามารถทำกำไรได้ถึง 12,000 ล้านบาท กำไรสูงขึ้นถึง 3 เท่าตัว ซึ่งเห็นชัดเจนว่า ถ้าเราสามารถนำค่าการกลั่นมาชดเชยกับกองทุนน้ำมัน พี่น้องประชาชนก็จะได้รับผลทำให้น้ำมันถูกลง กองทุนน้ำมันที่เคยติดลบสูง ก็จะติดลบน้อยลง จึงฝากถึงรัฐบาลให้พิจารณาเรื่องค่าการกลั่นและค่าการตลาดที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า