Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์ไม่หนุนใช้กัญชาใน เด็ก-หญิงตั้งครรภ์-ครอบครัวจิตเวช ย้ำจุดยืนใช้ทางการแพทย์ เฝ้าระวังห้องฉุกเฉิน หวั่นเกิดเหตุผลกระทบเฉียบพลัน ด้านกรมอนามัยออกประกาศการนำใบกัญชามาใช้ปรุงอาหาร

วันนี้ (13 มิ.ย. 2565) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงจุดยืนสนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ แต่ไม่สนับสนุนการใช้กัญชาในเด็กว่า กรมการแพทย์สนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์มาตลอด ไม่สนับสนุนการใช้สันทนาการและในเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี

“ยืนยันว่าเราไม่อยากให้ใช้ในเด็กต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจริงๆ ผู้เชี่ยวชาญของกรมการแพทย์ศึกษาและแนะนำขอให้ใช้ในกลุ่มที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ เพื่อความปลอดภัย เพราะกัญชามีผลต่อพัฒนาการสมอง การเรียนรู้ และระบบประสาท ต้องขอความร่วมมือ โรงเรียน ครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครอง ทุกภาคส่วนช่วยกันเฝ้าระวัง หากจะใช้ในเด็ก ต้องใช้กรณีเด็กที่มีโรคลมชักไม่สามารถรักษาด้วยยาต่างๆ หรือดื้อยาแล้ว และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง คือ กุมารแพทย์และประสาทวิทยาและขอให้งดใช้ในครอบครัวที่มีผู้ป่วยจิตเวช และหญิงตั้งครรภ์” นพ.สมศักดิ์กล่าว

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า กรมการแพทย์มีระบบติดตามเฝ้าระวังการใช้กัญชาภาพรวมทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลศึกษาต่อไป ทั้งนี้การใช้กัญชามีทั้งผลดีผลเสีย อย่างผลดีเราทราบดี แต่ผลเสียมีการเสพติดและไปขับขี่รถจนเกิดอุบัติเหตุจราจร ซึ่งมีรายงานในต่างประเทศแล้ว ขณะนี้สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จัดทำ LINE Official “ห่วงใย” เพื่อให้ประเมินตัวเองได้ว่า ติดหรือไม่ติดกัญชา มีสายด่วน 1665 ให้โทรปรึกษา และกรมการแพทย์ออกคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้กัญชาด้วย

ด้าน นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์จะดูแล 2 ส่วนในการเฝ้าระวัง คือ ส่วนแรกระยะเฉียบพลัน เฝ้าระวังห้องฉุกเฉิน อย่างช่วงแรกจะพบผู้ใช้ไม่ถูกวิธีก็จะมาที่ห้องฉุกเฉิน เป็นอาการทางระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก และส่วนที่สอง โดย สบยช. มีการเฝ้าระวังการใช้ในไปในทางเสพติด ซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่า มีการใช้กัญชาสูงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์จากกัญชาในพื้นที่ค่อนข้างเยอะ ขณะที่ภาคใต้จะเป็นกระท่อม

ส่วนข้อห่วงใยเรื่องการใช้กัญชาขับรถเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ทางกรมการแพทย์ได้หารือร่วมกับกรมควบคุมโรค ในการติดตามข้อมูลนี้เพื่อเสนอให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้สำหรับการควบคุมการใช้กัญชาขณะขับขี่ โดยในอนาคตอาจจะมีการบรรจุเป็นข้อกำหนดในการประเมินสมรรถนะ ของผู้ขับขี่เหมือนกรณีการเป็นโรคลมชักห้ามขับรถ ทั้งนี้ ย้ำว่า เมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาขอให้งดขับรถ งดใช้เครื่องจักรภายใน 6 ชั่วโมง

กรมอนามัยออกประกาศการนำใบกัญชามาใช้ปรุงอาหาร

ด้านนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคต่อการนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร ที่มีนำส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษไปใช้ในอาหาร โดยขาดการใช้ที่รัดกุมเพียงพอ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาได้

กรมอนามัยจึงได้ออกประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งสถานประกอบกิจการอาหาร ในประกาศฯ ดังกล่าว หมายรวมถึง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร และการจำหน่ายในที่ หรือทางสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่จะนำไปใบกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร เพื่อจำหน่าย ในสถานประกอบกิจการอาหารนั้น

จากเดิมตามประกาศประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำประกอบหรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ที่มีการลงนามเมื่อ 30 มีนาคม 2565 ซึ่งในข้อ 3 กำหนด ให้สถานประกอบกิจการอาหาร ต้องจัดหาใบกัญชาจากแหล่งปลูกหรือแหล่งผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด และต้องเปิดเผยเอกสารหรือแสดงหลักฐานแหล่งที่มา และวัตถุประสงค์ในการนำใบกัญชามาใช้ประโยชน์ เป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อการจำหน่ายในสถานประกอบกิจการอาหาร
ขณะนี้กรมอนามัยได้ออกประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมานี้ โดยให้ยกเลิกความในข้อ 3 เปลี่ยนเป็นกำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร มีการจัดเก็บ ใบกัญชาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสีย แทน

สำหรับข้อกำหนดอื่น ๆ ในประกาศยังคงเหมือนเดิม คือ สถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และต้องจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่
1.จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา
2.แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร ตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู
4.แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
5.แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที” “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน” “อาจทำให้ ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”
6. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า