SHARE

คัดลอกแล้ว

สุพัฒนพงษ์’ เผย ครม.เห็นชอบ  พลังงาน กู้เงิน 85,000 ล้านบาท บริหารค่า FT   ย้ำมาตรการช่วยเหลือค่าไฟครัวเรือน เข้า ครม.สัปดาห์หน้า ให้มีผลในรอบบิลนี้

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการกู้เงินเพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ตามนโยบายของรัฐบาล ประจําปีงบประมาณ 2566  วงเงินประมาณ 85,000 ล้านบาท  ส่วนการประชุม ครม. ในสัปดาห์หน้า กระทรวงพลังงานจะเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านพลังงานแก่ประชาชนในด้านค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยจะสามารถออกมาตรการช่วยเหลือได้ทันในรอบบิลเดือนนี้

นายสุพัฒนพงษ์กล่าวว่า การประชุม ครม.ในวันนี้ (6 ..) พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงประชาชน โดยเฉพาะภาระค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น แต่รัฐบาลก็ทำควบคู่ไปกับการส่งเสริม การติดตั้ง Solar Rooftop แต่กระบวนการต้องใช้เวลานาน จึงจะบูรณาการทำงาน ทั้งจากกระทรวงพลังงาน  และการไฟฟ้า โดยจะเร่งรัดการดำเนินการให้เร็วขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สำหรับครัวเรือนที่มีศักยภาพในการติดตั้งหรือลงทุนใน Solar Rooftop ได้

ด้านายอนุชา บูรพชัยศรี  รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า สถานการณ์ราคาพลังงานปัจจุบัน ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ กฟผ. ยังคงต้องรับภาระอัตราค่า (Ft) ที่เพิ่มขึ้น โดยชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงงวดตั้งแต่เดือนกันยายนธันวาคม 65 (งวดปัจจุบัน) จากราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ผลักภาระเป็นค่าใช้จ่ายของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล ในการช่วยเหลือลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลอัตราค่าบริการพลังงานไฟฟ้าตามนโยบายภาครัฐได้มอบหมายให้ กฟผ. ช่วยรับภาระอัตราค่า (Ft) ที่เพิ่มขึ้น ชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่งวดเดือนกันยายนธันวาคม 64 จนถึงงวดเดือนพฤษภาคมสิงหาคม 2565 เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 87,849 ล้านบาท (ค่าประมาณการ ณ มีนาคม 2565)  ที่จะเรียกเก็บกับประชาชนในระยะนี้เลื่อนออกไปก่อน ส่งผลให้ กฟผ. ต้องรับภาระอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดลงอย่างต่อเนื่อง  

นายอนุชา กล่าวว่า โดยมีการประมาณการกระแสเงินสดของ กฟผ. ว่า จะขาดเงินสูงสุดในวันที่ 30 มีนาคม 2566  จำนวนเงินประมาณ 74,000 ล้านบาท จึงมีความจำเป็นกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติมจะปีงบประมาณ 2566 เพื่อบริหารภาระค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 84,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan)  กู้เบิกเกินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม(Call Loan)  ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการค้ำประกันการชำระหนี้ของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินของภาครัฐ

ทั้งนี้ มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติครั้งที่ 4 / 2565 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 รับทราบผลการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ของ กฟผ. ซึ่งจะช่วยรับภาระค่า Ftที่เพิ่มขึ้นชะลอการนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงที่สูงขึ้น มาเรียกเก็บกับประชาชนระยะนี้ไว้ก่อน เพื่อช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 และ  29  มีนาคม 2565 ด้วย 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า