SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลยกคำร้องประกันตัว ‘ทานตะวัน’ ครั้งที่ 2 หลัง ‘พิธา’ ใช้ตำแหน่ง ส.ส. ยื่นขอประกันตัว ฝากขังต่อในเรือนจำอีก 5 วัน

วันที่ 17 พ.ค. 2565 เวลา 13.30 น. ศาลอาญา นัดไต่สวนคำร้องขอฝากขัง น.ส.ทานตะวัน (ตะวัน) ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรม วัย 20 ปี ในคดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการไลฟ์สดเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565

โดยตำรวจขอฝากขังอีก 12 วัน ระบุความจำเป็น รอเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชา ยอมรับ แม้ศาลจะปล่อยตัว น.ส.ทานตะวันก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 15.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง น.ส.ทานตะวัน ต่ออีก 5 วัน หลังตำรวจให้เหตุผลจำเป็นที่จะต้องส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา และผู้บังคับบัญชาอาจตีกลับสำนวนให้สอบสวนในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องอีก

ด้าน น.ส.ทานตะวัน ซึ่งถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. 2565 เริ่มอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัว เป็นระยะเวลารวม 28 วันแล้ว โดย ทานตะวัน เปิดเผยว่า อดอาหาร 28 วัน รู้สึกอ่อนเพลียมาก หน้ามืดวันละหลายหน ร่างกายไม่ไหวแล้ว

ขณะที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางไปที่ศาลอาญา เพื่อใช้ตำแหน่งส.ส. เป็นหลักประกัน ในการขอประกันตัว น.ส.ทานตะวัน เป็นครั้งที่ 2 หลังจากศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว

นายพิธา กล่าวตอนหนึ่งว่า นอกจากที่จะเป็นห่วง ทานตะวัน ในเรื่องร่างกาย การมาในวันนี้เพื่อยืนยันในหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิการเมือง ที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ทานตะวัน เป็นผู้บริสุทธิ์ หลักการดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ให้ไว้กับ ICCPR และระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรค 2 เกี่ยวกับสิทธิในการประกันตัว สิทธิในการออกมาสู้คดี เป็นสิทธิของพลเมือง ซึ่งที่ผ่านมาทานตะวัน ไม่มีพฤติกรรมหลบหนี ทั้งนี้ กฎหมายอาญา 108/1 ระบุเหตุในการฝากขังได้ไว้ทั้งหมด 5 ข้อ การกระทำของ ทานตะวัน ไม่อยู่ในเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อ ที่จะฝากขังได้ จึงคิดว่าเป็นการผิดหลักสิทธิในการต่อสู้ที่ ทานตะวัน ควรได้รับต่อกรณีนี้

“กรณีนี้ยังเเสดงให้เห็นถึงปัญหาของการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งในเรื่องของตัวบท ทั้งในเรื่องของการบังคับใช้ที่ตีความกว้างเกินไป ทั้งยังมีโทษสูงเกินไปอย่างไม่ได้สัดส่วนต่อการกระทำ” นายพิธา ระบุ
ล่าสุด ศาลยกคำร้องขอประกันตัว น.ส.ทานตะวัน โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส.ของ นายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ศาลชี้ไม่ปรากฏหลักฐานเงินเดือน (สลิปเงินเดือน) ของผู้ร้อง และไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่น ที่จะพิจารณาคำร้องได้

ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า นายพิธาได้ขอประกันโดยแนบหนังสือรับรองจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ที่ระบุอัตราเงินเดือนไว้ชัดเจน และเวลาต่อมา นายพิธา ได้ทวีตเอกสารที่ยื่นให้ศาล

ที่มา : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า