SHARE

คัดลอกแล้ว

เพื่อไทย ยืนยัน 15 ส.ค.นี้ไม่ร่วมลงมติพิจารณากฎหมายลูกเลือกตั้งเพื่อความถูกต้อง ตามหลักกฎหมาย – เจตนารมณ์ ปชช. ขณะที่ ‘วันชัย’ หวั่นเกิดสูญญากาศกฎหมายเลือกตั้ง ด้าน ‘สมชัย’ ชี้ หาก ส.ส.พปชร.มาไม่ครบทำองค์ประชุมล่ม ถือว่าคำสั่งหัวหน้าพรรคไม่มีความหมาย ‘ประวิตร’ ควรพ้นจากเก้าอี้หัวหน้าพรรค

 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา มีคำสั่งให้นัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 14 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) ในวันที่ 15 ส.ค. 2565 ซึ่งจะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือ กฎหมายเลือกตั้ง เพื่อหาสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่จะครบกำหนด 180 วัน ในวันที่ 15 ส.ค.นี้  เพื่อเป็นการคัดค้านและยับยั้งการกระทำที่เป็นขัดหลักการ และขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) พุทธศักราช 2564 มาตรา 91 ที่มีใจความสำคัญว่า “ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองต้องเป็นสัดส่วนสัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวม” ซึ่งต้องหารที่ 100 และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ จะเป็นกระบวนการตรากฎหมายที่ไม่ชอบ

 ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย มีข้อสรุปร่วมกันว่า 

1.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยมีความคิดเห็นตรงกันว่า จะไม่เป็นองค์ประชุมในการประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 15 ส.ค.65 

2.หากเกิดกรณีเปิดประชุมร่วมรัฐสภาได้ ตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยจะเข้าร่วมประชุม  โดยจะอภิปรายคัดค้านสูตรหาร 500 ให้ถึงที่สุด หากจบการอภิปรายแล้ว พรรคเพื่อไทยจะไม่เป็นองค์ประชุมและจะไม่ร่วมลงมติต่อ

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า เราสามารถทำให้กฎหมายเป็นกฎหมายที่ตอบสนองประชาชนและสังคมไทยได้ด้วยการหยุดยั้งกระบวนการการต่อรองรูปแบบเดิมๆ เพื่อประโยชน์ของตน พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าสร้างสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งได้  อย่างไรก็ตามรู้สึกเห็นใจประธานรัฐสภา ที่อาจจะถูกแรงกดดันจากพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้ทำงานในวันสุดท้ายของการพิจารณา

 “พรรคเพื่อไทยยืนยันไม่ร่วมสังฆกรรมในการตรากฎหมายที่สุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญ การยับยั้งไม่ให้กฎหมายที่บิดเบี้ยวผ่านสภาคือหน้าที่ของตัวแทนประชาชนที่เราได้รับมอบหมายมา เราไม่ได้โดดงาน ส.ส.ทำงานทุกวัน พรุ่งนี้ (15 ส.ค.) วันประชุมร่วมรัฐสภา  เรายังจับตา ติดตาม ว่า ส.ส. ส.ว.จะทำอะไร หวังว่าความตั้งใจของเรานั้นจะประสบความสำเร็จ สามารถผ่านพ้นเสียงข้างมากที่ไม่ชอบธรรมในการพยายามผ่านกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญนี้ไปให้ได้ อยากให้ประชาชนสบายใจว่า ส.ส.ของท่าน ส.ส.เพื่อไทย ทำประโยชน์เพื่อประชาชนไม่ใช่เฉพาะวันนี้ แต่หมายถึงอนาคตที่เราจะเดินไปด้วยกัน  อยากให้ประชาชนช่วยกันจับตาการทำงานของสมาชิกรัฐสภาในวันพรุ่งนี้ (15 ส.ค.) ด้วย” น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว

‘สมชัย’ ย้ำ ‘ประวิตร’ สั่ง ส.ส.พปชร.เข้าประชุม หากรัฐสภายังล่ม ต้องพ้นหัวหน้าพรรค

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย  ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ…. รัฐสภา กล่าวถึงการนัดประชุมร่วมรัฐสภา วันที่ 15 ส.ค.ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของ ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. ก่อนจะครบกำหนดระยะเวลา 180 วันในเวลาเที่ยงคืนวันที่ 15 ส.ค.ว่า มีประเด็นต้องจับตาว่าการประชุมนัดดังกล่าวจะสามารถดำเนินการประชุมได้หรือไม่ หรือจะล่มเหมือนทุกครั้งและหากดำเนินการได้ การลงติในวาระสามจะเป็นเช่นไร อย่างไรก็ตามในทิศทางยอมรับว่าส.ส.พรรคเพื่อไทยคงยืนยันในวิธีการที่ไม่แสดงตนร่วมเป็นองค์ประชุม ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์  ยืนยันจะร่วมประชุมเต็มที่ ดังนั้นคงเหลือเพียงพรรคพลังประชารัฐเท่านั้นว่าจะมีจุดยืนอย่างไร

“จากการสัมภาษณ์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐที่พูดกับลูกพรรคให้ร่วมประชุม แปลความหมายได้ว่า ให้ ส.ส.เข้าร่วมประชุม ซึ่งในวันที่ 10 ส.ค.นี้ ที่ส.ส.พลังประชารัฐไม่ร่วมประชุมอ้างสาเหตุถึงการไปร่วมงานกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านที่ต่างจังหวัด ไม่ใช่เพราะเงื่อนไขทางกฎหมาย ดังนั้นการประชุมรอบนี้ไม่มีสาเหตุที่อ้างไม่ว่าไม่เข้าประชุมอีก ดังนั้นผมมั่นใจว่า หาก ส.ส.พลังประชารัฐเข้าประชุมองค์ประชุมต้องครบและเดินหน้าได้ แต่หากยังมีปัญหาอีก แสดงว่าคำพูดของ พล.อ.ประวิตร ไม่มีความหมาย ไม่สมควรเป็นหัวหน้าพรรคต่อไป” นายสมชัย กล่าว

นายสมชัย กล่าวว่า ขณะที่ ส.ว. หากพบว่าขาดประชุมต้องรับผิดชอบพอสมควร อย่างไรก็ตามเห็นความพยายามของนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาที่ต้องการให้รัฐสภา ทำหน้าที่อย่างถึงที่สุดไม่ให้เป็นที่ติฉินของประชาชนว่ารัฐสภาไม่ทำงาน ปล่อยกฎหมายตกไป  

เมื่อถามว่า เหตุการณ์รัฐสภาล่มตอนโหวตมาตรา ร่างพ.ร.ป.เลือกตั้ง ทั้งที่ก่อนหน้าแสดงตนด้วยการขานชื่อมาครบ สะท้อนจุดยืนของสมาชิกรัฐสภาที่ไม่เอาสูตรหาร500 ได้หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า ไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น เพราะการตรวจสอบองค์ประชุมด้วยการขานชื่อทำให้จังหวะพิจารณาเสียไป หากประธานที่ประชุมขณะนั้นเฉลียวให้ประชุมต่อไม่ขานชื่อ การประชุมจะดำเนินต่อไปได้ แต่เมื่อให้ขานชื่อทำให้เวลาเสียไป 2  ชั่วโมง คนที่ขานชื่อแสดงตนลำดับต้นๆ ออกไปทำภารกิจนอกห้องประชุม แต่เมื่อขานชื่อเสร็จให้กดบัตรลงคะแนนทันที ทำให้กลายเป็นข้อขัดข้องทางเทคนิค

 “ผมไม่เชื่อว่าจะไม่มีใครเอาสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยจำนวน  500 คน หาค่าเฉลี่ย เพราะเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 ส.ค. เป็นอุบัติเหตุจากการไม่เฉลียวของคนทำหน้าที่ประธานที่ประชุมขานชื่อเสร็จให้โหวตต่อทันที ทำให้เป็นปัญหา ทั้งที่ควรแจ้งล่วงหน้าว่าเมื่อขานชื่อแล้วจะให้ลงมติ ขอให้เตรียมความพร้อม” นายสมชัย กล่าว

นายสมชัย กล่าวด้วยว่า   สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ว่าจะใช้สูตรหารด้วย 100 คนหรือ 500 คน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญทั้ง 2 แบบ ดังนั้นเข้าใจว่าจะไม่เป็นปัญหาในชั้น กกต. แต่ในชั้นศาลรัฐธรรมนูญ อาจมีประเด็นที่สามารถชี้ได้ว่า ทั้ง 2 กรณีนั้นขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ มีถ้อยคำของส.ส.พึงมีบัญญัติไว้

วันชัย ยันเป็นพวก 100 หาร ไม่ร่วมสังฆกรรมประชุมสภา เตือนล้มหัวฟาดพื้นแน่

ด้านนายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา (..)โพสต์ระบุว่าแล้วจะรู้สึก เมื่อเกิดสุญญากาศทางกฏหมายเลือกตั้งว่า ถ้ามีการประชุมรัฐสภาในวันที่ 15 ..เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (...)ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส..ต่อได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง ที่ประชุมก็ต้องโหวตว่าจะเอากฎหมายฉบับ 500 นี้หรือไม่ ถ้าโหวตไม่ผ่าน กฎหมายฉบับนี้ต้องตกไป ต้องไปเริ่มนับหนึ่งกันใหม่ทั้งกระบวนการ ใช้เงินใช้เวลาอย่างที่เป็นมานี่แหละ ถ้าโหวตผ่าน ประมาณการได้ว่าไปตกในชั้นศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน เพราะรู้อยู่ว่ามันขัดต่อรัฐธรรมนูญชัดๆ ในที่สุดก็ต้องมาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่อีก ทั้งสองแนวทางนี้นำไปสู่สูญญากาศทางกฎหมายเลือกตั้งทั้งนั้น ถ้าจะมีการเลือกตั้งระหว่างนั้นขึ้นมาจริงๆจะทำอย่างไร ทีนี้แหละจะเข้าทางใครหรือไม่ หรือใครจะได้เปรียบใคร คิดดูเอาเองก็แล้วกัน ถึงตอนนั้นจะรู้สึก

โดยส่วนตัวของผมเห็นว่าการคำนวณ ส..โดยเอา 500 หารนั้นมันผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญจะแจ้งซึ่งหน้ากลางวันแสกๆ เดินไปก็ล้มหัวฟาดพื้นแน่นอน ผมจึงไม่เดินไปด้วย มันฝืนกฎหมายฝืนจริยธรรมที่เรารู้ทั้งรู้ยังขืนทำไปได้ สมัยผมเรียนกฎหมายมีคำพิพากษาฎีกาว่าคนที่เข้าร่วมประชุมในการวางแผนปล้นทรัพย์ แม้ไม่ได้ไปร่วมในการปล้นด้วยก็ถือว่ามีความผิดเป็นตัวการร่วม เรื่องโหวตร่าง พ...ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ที่กำลังพิจารณากันอยู่มันก็น่าจะมีนัยยะแบบเดียวกัน ผมจึงเห็นว่าเป็นจริยธรรมทางความรู้สึกและทางกฎหมายที่ต้องปฏิเสธต่อการกระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ผมยึดหลักนี้ในการตัดสินใจ จึงไม่เข้าร่วมสังฆกรรม ไม่ใช่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทั้งไม่เป็นพวกของพรรคการเมืองใด มาจากความรู้สึกแท้ๆตั้งแต่ต้นว่าถูกคือถูก ผิดคือผิด เดินไปตามแนวทางที่เราตัดสินใจไปให้สุด เคารพตนเอง เคารพกฎหมาย นั่นคือจริยธรรมในการทำหน้าที่ ผมจึงยืนอยู่ที่พวก100 มาตั้งแต่ต้นจนจบนายวันชัย ระบุ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า