SHARE

คัดลอกแล้ว

“ถึงไม่ได้เป็น ส.ส. ก็ไม่เสียใจ เพราะได้ทำหน้าที่หยุดความเสียหายให้กับประเทศชาติ”

เปิดใจ ‘ถาวร เสนเนียม’ หนึ่งใน ส.ส.แกนนำ กปปส. ก่อนวันศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะภาพ ส.ส. 8 ธ.ค.นี้

วันที่ 8 ธ.ค. 2564 เป็นอีกครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยเรื่องสำคัญ กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้พิจารณาวินิจฉัย

1. นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์

2. นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์

3. นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์

4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ

5. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ

จากกรณีศาลอาญามีคำพิพากษาลงโทษจำคุก ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.317/2564 เมื่อวันที่ 24 ก.พ.64 และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง นายชุมพล นายอิสสระ และนายณัฏฐพล 5 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา โดยศาลอาญาออกหมายจับคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและขังบุคคลทั้ง 5 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

ต่อมาบุคคล ทั้ง 5 ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และ กกต. เห็นว่า นายชุมพล นายอิสสระ และ นายณัฏฐพล เป็นบุคคลที่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง และต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล ส่วนนายพุทธิพงศ์และนายถาวร เป็นบุคคลต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล เป็นเหตุให้สมาชิกภาพ ส.ส.ของบุคคลทั้ง 5 สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 ( 6 ) ประกอบมาตรา 98 ( 4 ) (6) และมาตรา 96 (2) และเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายพุทธิพงษ์ นายถาวร และ นายณัฏฐพล สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170(4) ประกอบมาตรา 160 ( 6) (7) มาตรา 98 (4) (6) และมาตรา 96(2)

ทั้งนี้ นายณัฏฐพล ได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา

workpointTODAY สัมภาษณ์ นายถาวร เสนเนียม ก่อนถึงวันศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ เวลา 15.00 น. ว่า พร้อมเดินทางไปรับฟังคำวินิจฉัย ไม่ต้องเตรียมตัวอะไร เพราะทุกอย่างได้ทำหนังสือชี้แจงแล้ว โดยข้อต่อสู้ชี้ให้ศาลเห็นในประเด็นเจตนารมณ์การออกมาเคลื่อนไหวในฐานะแกนนำ กปปส. เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลในขณะนั้นบริหารงานก่อให้เกิดการทุจริต รวมถึงการขอให้ปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง รวมถึงไม่ให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอยเพื่อช่วยใครบางคน ซึ่งการต่อสู้ดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนั้นการออกมาเคลื่อนไหวในนาม กปปส. นั้นมีเหตุจูงใจ ไม่ใช่กระทำด้วยการกระทำแบบโจรผู้ร้าย

อีกเหตุผลสำคัญ เมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 ได้ทำเรื่องยื่นประกันตัววันที่ 25 ก.พ. 2564 และได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 26 ก.พ. 2564 ดังนั้นกระบวนการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการขอประกัน จะเรียกว่าเป็นการถูกขังหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่ชี้ให้ศาลเห็นว่าคุณสมบัติ ส.ส.น่าจะไม่ขาด เพราะตามรัฐธรรมนูญ ม.125 วรรค 1 ระบุว่า ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือเป็นการจับในขณะกระทำความผิด

ขณะที่วรรคสุดท้าย ระบุว่า ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญาไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมก็ได้แต่ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา ดังนั้นการออกหมายขังจึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

นายถาวร บอกด้วยว่า จากประสบการณ์การเป็นทนายความ 4 ปี อัยการ 19 ปี และเมื่อลาออกมาทำงานการเมือง เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มา 50 กว่าปี และยังเป็นคณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ดังนั้นหากผลตัดสินออกมาเป็นทางบวกจะได้เป็น ส.ส.ต่อไป แต่สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี แต่หากผลเป็นทางลบขาดคุณสมบัติ ส.ส.ทันที แล้วมีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน และจะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.ได้อีก เพราะขาดจากการเป็นสมาชิกภาพพรรคการเมือง

“เวลาที่หายไปกว่า 10 เดือน ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ ส.ส.หากจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จริง ไม่ได้รู้สึกเสียใจ เพราะถือว่าได้ทำหน้าที่ของประชาชนที่หยุดความเสียหายของประเทศชาติได้หลายแสนล้านบาท จากหลายๆ โครงการของรัฐบาลในขณะนั้น เพราะถ้าไม่ทำความเสียหายอาจถึงหนึ่งล้านล้านบาทได้” นายถาวร กล่าวทิ้งท้าย

การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 8 ธ.ค. 2564 จึงมีความหมายอย่างมากกับนายถาวรและนายพุทธิพงษ์ เพราะศาลไม่ได้ตัดสิทธิ์ทางการเมือง หากข้อโต้แย้งรับฟังได้ยังมีโอกาสรักษาสถานะการเป็น ส.ส.แต่กรณีนายอิสสระและนายชุมพล ศาลตัดสินตัดสิทธิ์ทางการเมืองห้าปี ดังนั้นจึงมีการมองว่าทั้งสองคนอาจจะขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า