SHARE

คัดลอกแล้ว

วิปรัฐบาลเผยมีแนวโน้มไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เพราะยังมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (13 มิ.ย. 2565) นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณาและมติของวิปรัฐบาลต่อ การลงมติต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ.. หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ของนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลและคณะเสนอ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ ว่า มีแนวโน้มว่าจะไม่รับหลักการในร่างดังกล่าว เนื่องจากการชี้แจงของกระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่ายังติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปได้ที่จะรับเฉพาะร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตของรัฐบาล

นายสุรสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ได้พูดคุยทำความเข้าใจกับ ส.ส.ก้าวไกลไปแล้วว่าขอให้ประนีประนอมกัน เพราะนายธัญวัจน์เอง บอกว่าหากทางฝ่ายรัฐบาลไม่รับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ก็จะไม่รับร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตเช่นกัน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาลจะเข้าใจและเห็นด้วยกับวิปรัฐบาล ซึ่ง พ.ร.บ.คู่ชีวิตของรัฐบาล มีสาระสำคัญที่ใกล้เคียงกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ และเชื่อว่าตรงกับวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ได้ครบทุกอย่าง เพียงแต่รูปแบบนิติวิธีทางกฎหมายอาจไม่สอดคล้องกัน

ก่อนหน้านี้กลุ่มทีมประสานงานสมรสเท่าเทียม ให้ 13 เหตุและผลความแตกต่างระหว่างร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

1. เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 บัญญัติให้สิทธิการสมรสเฉพาะเพศชายกับเพศหญิง ทำให้คู่รักหลากเพศ เช่น หญิงรักหญิง ชายรักชาย บุคคลรักได้ทั้งสองเพศ บุคคลข้ามเพศ บุคคลเพศกำกวม บุคคลนอนไบนารี ฯลฯ (LGBTIQN+) ถูกจำกัดสิทธิ ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ขาดสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรีที่พึงมีต่อกัน และพึงได้รับจากการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

2. การเป็น ‘คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (Lawful Spouses)’ เป็นคำที่เป็นสากลและสามารถกล่าวอ้างได้ทั่วโลก ในขณะที่การเป็นคู่ชีวิต (Civil Partnerships) ไม่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศทุกประเทศ

3 . หากประเทศไทยมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมในรูปแบบของ ป.พ.พ. คู่สมรส LGBTIQN+ ที่เป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เช่น นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ ก็จะได้รับการคุ้มครองและมีศักดิ์ศรีตามที่เคยได้รับในประเทศต้นทางที่มีกฎหมายให้ความเสมอภาคในการสมรสเช่นเดียวกัน

4. การขยายการสมรสตาม ป.พ.พ. ไปยังคู่ LGBTIQN+ ช่วยแก้ไขปัญหาการไม่ได้รับรองสิทธิการใช้ชีวิตคู่อย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้คู่รัก LGBTIQN+ได้รับสิทธิหน้าที่ที่คู่สมรสชาย-หญิงทั่วไปได้รับ เช่น สิทธิในการปกครองบุตรบุญธรรมร่วมกัน สิทธิในการดำเนินการตั้งครรภ์แทนโดยอาศัยเทคโนโลยี สิทธิในสวัสดิการภาครัฐและเอกชน ในฐานะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ฯลฯ นอกจากนั้นเด็กที่เลี้ยงดูโดยคู่ LGBTIQN+ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายจากคู่ LGBTIQN+ทั้งสองในฐานะคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เฉกเช่นคู่รักชาย-หญิงทั่วไป ไม่เกิดความแตกต่างแปลกแยก

5. การรับรองสิทธิการใช้ชีวิตคู่ ตามร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในฐานะ ‘คู่ชีวิต (Civil Partnerships)’ ไม่ปรากฏในประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ หรือระเบียบของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใด ๆ มาก่อน ดังนั้นจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายอื่นทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง หากต้องการสิทธิใด ๆ ในฐานะ ‘คู่ชีวิต’ ตามกฎหมายอื่น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลรัษฎากร พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯลฯ

6.การแก้ ป.พ.พ. 1448 หรือสมรสเท่าเทียม จะปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กในครอบครัวเพศหลากหลาย ให้ได้รับสิทธิเฉกเช่นเดียวกับคู่ผู้ปกครองต่างเพศ เช่น เมื่อบุตรเกิดมาจากผู้ปกครองเพศเดียวกัน ไม่ต้องรอผ่านขั้นตอนการรับอุปการะเลี้ยงดูที่อาจใช้เวลานาน แต่ได้รับการรับรองเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย ต่างจาก พ.ร.บ. คู่ชีวิตที่ไม่รับรองการมีบุตรโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ อีกทั้งลดการเลือกปฏิบัติต่อเด็กจากครอบครัวเพศหลากหลาย หรือเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ หากการสมรสครอบคลุมทุกเพศ

7. การออก พ.ร.บ.คู่ชีวิตแยกออกจาก ป.พ.พ. ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการตีตรา การเลือกปฏิบัติ และการใช้ดุลยพินิจในการจำกัดสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกระบวนการหรือสถานที่สำหรับจดทะเบียนคู่ชีวิตมีการปฏิบัติที่แตกต่างจากการจดทะเบียนสมรสตาม ป.พ.พ. อาจถือเป็นเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และ คุณลักษณะทางเพศ (SOGIESC)

8. การจัดทำร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต แทนที่จะไปปรับแก้ ป.พ.พ. เพื่อขยายสิทธิการสมรสให้เท่าเทียม ทำให้เกิดข้อสงสัยต่อศักดิ์ศรีของการก่อตั้งสถาบันครอบครัวของคู่ LGBTIQN+ ว่าด้อยกว่าศักดิ์ศรีของคู่รักต่างเพศอย่างไร

9. ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตที่ผ่านมามีความซับซ้อนในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การตรวจสอบว่าคู่ชีวิตหรือคู่สมรสเคยจดทะเบียนแบบใดมาก่อน เคยจดทะเบียนซ้อนหรือไม่ หรือสิทธิหน้าที่ใดตาม ป.พ.พ. จะสามารถนำมาอนุโลมบังคับใช้ให้กับคู่ชีวิตมากน้อยหรือไม่เพียงใด

10. ร่าง พรบ. คู่ชีวิต มีการบังคับใช้กฎหมายโดยอนุโลม เป็นการผลักภาระหน้าที่ใช้ผู้ใช้กฎหมาย ต้องพึ่งพิงการตีความของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และ หากมีข้อโต้แย้งต้องนำไปสู่การพิจารณาโดยศาล

11. หาก ร่าง พรบ. คู่ชีวิต ประกาศใช้เป็นกฎหมาย อาจทำให้เกิดข้ออ้างว่า มีกฎหมายแล้วจะเรียกร้องอะไรอีก ได้คืบจะเอาศอก ทำให้การผลักดัน ร่าง พรบ. สมรสเท่าเทียม ในอนาคตทำได้ด้วยความยากลำบาก

12. ร่าง พรบ. คู่ชีวิต ที่ให้ศักดิ์ศรี และ สิทธิต่างกับ คู่สมรสชายหญิงทั่วไป ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พรบ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พันธกรณี และหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศและคุณลักษณะทางเพศ (SOGIESC)

13 . การที่รัฐยืนยันที่จะผลักดัน ร่าง พรบ. คู่ชีวิต เป็นการเพิกเฉยต่อการเรียกร้องพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่สนับสนุน ร่างแก้ไข #สมรสเท่าเทียม ผ่านเว็บไซต์ www.support1448.org ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายกว่า 330,000 รายชื่อ

อ้างอิง https://www.facebook.com/support1448/posts/2979449579021742

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า