Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“นายกฯ ต้องมีความเป็นสากล” พิธา เสนอทางแก้ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ยกเครื่องโครงสร้างอำนาจ ออกกฎหมายใหม่ เพิ่มอำนาจให้ ‘อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ’ ออกคำสั่งกำจัดต้นตอได้ ไม่ใช่ทำได้แค่ขอความร่วมมือเหมือนปัจจุบัน

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมจัดเวทีพบปะประชาชน ที่จังหวัดน่าน โดย นายณัฐชา ส.ส.กทม. เขตบางขุนเทียน พรรคก้าวไกล ชูนโยบายรัฐสวัสดิการของพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะเรื่องเงินผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่จะปรับจาก 600 บาทต่อเดือน ให้เป็น 3,000 บาทต่อเดือน โดยได้ศึกษาแล้วว่า แหล่งรายได้ที่จะนำมาใช้ทำนโยบายดังกล่าวมาจากไหน และสามารถทำได้ทันที หากพรรคก้าวไกลได้รับความไว้วางใจจากประชาชน

ได้มี 1 ในคำถามสำคัญจากวงพูดคุย เกี่ยวกับปัญหาฝุ่น pm 2.5 ที่นับวันสถานการณ์เลวร้ายลง ทางพรรคก้าวไกลมีนโยบายอย่างไร นายพิธา ได้ตอบคำถามว่า ปัญหาฝุ่น pm 2.5 เป็นปัญหาที่มีต้นตอจากหลายสาเหตุที่แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ หากเป็นเขตเมือง ก็มักเกิดจากรถยนต์ โรงงานและการก่อสร้าง ส่วนในพื้นที่ชนบท มักเกิดจากการเผาไหม้จากภาคเกษตร การใช้พลังงานถ่านหิน หรือการเผาป่าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ สาเหตุเหล่านี้เป็นที่รับรู้กันมายาวนาน แต่การแก้ไขปัญหาไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะโครงสร้างอำนาจที่มีปัญหา

เนื่องจาก ปัญหาของฝุ่น pm 2.5 เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของ “อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ” แต่ความรับผิดชอบที่อธิบดีมีอยู่นั้น ไม่ได้มาพร้อมกับอำนาจ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษไม่สามารถสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยมลพิษออกมาตรการเพื่อระงับฝุ่น pm 2.5 ได้ ผลก็คือที่ผ่านมา มีเพียงการขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่างๆ ซึ่งส่วนมากก็มักไม่ได้รับความร่วมมือกลับมา

ดังนั้น สิ่งที่พรรคก้าวไกลเล็งเห็นว่า เป็นมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาในภาพใหญ่ คือ ในด้านโครงสร้างอำนาจ จะต้องมีการผ่าน พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สิ่งแวดล้อม ฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจแก่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สามารถบังคับใช้มาตรการควบคุมมลพิษได้

ส่วนปัญหาฝุ่นที่มีต้นตอในต่างประเทศเราต้องมีนายกรัฐมนตรีที่มีความเป็นสากล สามารถใช้กลไกอาเซียนเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาร่วมกับชาติอาเซียนได้

สำหรับมาตรการอื่นๆ นั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน อาทิ เปลี่ยนรถเมล์เก่าให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV bus) ทั้งหมดภายใน 7 ปี ส่งเสริมให้เกิด car free day ด้วยการงดเก็บค่าบริการขนส่งสาธารณะ เลิกการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินภายในปี 2580 การกระจายอำนาจการดับไฟป่าไปให้ท้องถิ่น ไม่ให้อยู่ที่ส่วนกลางที่มีแต่ความไม่โปร่งใส และการแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาการเผาไหม้ป่า

“เรื่องของฝุ่น pm 2.5 อาจกล่าวได้สั้นๆ ว่า เป็นปัญหาจากโครงสร้างอำนาจ ที่กรมควบคุมมลพิษไม่สามารถออกมาตรการเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ การมีกฎหมายมารองรับให้อำนาจส่วนนี้ จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง บวกกับการเพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นมากขึ้น ให้สามารถออกแบบนโยบายที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ในแต่ละพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง จะช่วยให้เกิดการกระจายการแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ทำได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น แม้จะเป็นปัญหาที่ยาก แต่หลายประเทศสามารถทำให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้ และประเทศไทยก็ต้องทำให้ดีขึ้นได้เช่นกัน” นายพิธา กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า