Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อชีวิตเดินทางมาจนเข้าสู่วัย 40 อัพ ‘Midlife Crisis วิกฤติวัยกลางคน’ อาจทำให้คนที่เข้าใกล้วัยนี้หรืออยู่ในวัยนี้แล้ว เกิดการตกใจ คิดไปต่างๆ นานาว่า ตัวเองแก่แล้ว เป็นกังวล อาจคิดว่าเหลือเวลาในชีวิตอีกไม่มาก อยากทำอะไรก็ทำเลย อาจตัดสินใจลงมือทำอะไรอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต หลังการตัดสินใจนั้นได้ มักเครียด น้อยใจ วิตกกังวล ในสิ่งที่ทำและตัดสินใจไปแล้ว

บทความนี้เราได้รวบรวมมุมมองการใช้ชีวิตและการมองโลกในแบบของคนอารมณ์ดี ป๋อมแป๋ม-นิติ ชัยชิตาทร เป็นที่รู้จักในนาม “ยายป๋อมแป๋ม” พิธีกร นักแสดง นักเขียน และโปรดิวเซอร์ ที่มีชื่อเสียงจากรายการ เทยเที่ยวไทย และ ทอล็ก-กะ-เทย วัย 42 ปี ที่มาพูดคุยด้วยบทสนทนาภาษาอังกฤษอย่างเป็นกันเอง ในรายการ AIM HOUR by TODAY ที่เผยแพร่ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2567

เจ้าตัวบอกเล่าตัวเองถึงสิ่งที่ถนัดที่สุดว่า คือการสร้างเรื่องใหม่ๆ แต่ไม่ถนัดเรื่องการจัดการ ยังมีความคิดสร้างสรรค์ในฐานะโปรดิวเซอร์ ชอบหยิบสิ่งนั้นสิ่งนี้มาทำให้เกิดสิ่งใหม่ และเป็นอะไรที่ทำแล้วยังสนุกอยู่ เช่น รายการล่าสุด One Upon a Good Time ซึ่งชื่อเดิมของรายการนี้ก็คือ “เกิดไม่ทันคือเรื่องของ…” โดยในการทำงานนั้นมีความสุขมาก เช่น EP ที่ ‘สันติสุข-จินตหรา’ มานั่งให้สัมภาษณ์ด้วยกัน ทั้งๆ ทื่เขาอยู่ในวงการนี้มาไม่เคยให้สัมภาษณ์พร้อมกันเลย หรือตอนที่ทีมนักแสดง O-negative มานั่งคุยคนละเรื่องพร้อมๆ กัน เป็นเสน่ห์ของวันเก่าๆ ที่ยังมีความสุขที่ได้ทำ

มาถึงคำถามเรื่อง ‘วิกฤติวัยกลางคน’ หรือ วิกฤติของคนที่มีอายุวัย 40 ปีขึ้นไป คุณป๋อมแป๋ม บอกว่า วิกฤตินั้นมันคือความสับสน ความไม่แน่ใจ เป็นการตั้งคำถามว่า ที่ผ่านมาครึ่งชีวิต เราทำอะไรอยู่ มันคุ้มไหม? มันถูกต้องไหม? เราเดินมาถูกทางไหม? แล้วเราก็จะอยู่ได้อีกไม่นาน เราได้ทำอะไรเพื่อตัวเองเพื่อโลกนี้มากพอหรือยัง ซึ่งส่วนตัวคิดว่าที่ผ่านมาได้สร้างอะไรๆ ไว้มากพอแล้ว แต่ยังไม่ทำอะไรเพื่อตัวเองเท่าไหร่

หลังจากสถานการณ์โควิด คุณป๋อมแป๋ม ได้เรียนเขียนบทภาพยนตร์ กลับมาเล่นเทนนิสบ่อยขึ้น และเรียนทำอาหารด้วย และทำให้ได้พบว่าเขาสามารถทำอะไรได้อีก นอกเหนือจากงานด้านสื่อสารมวลชนผ่านหน้าจอโทรทัศน์ที่ผู้คนคุ้นเคย

[ ถ้าบอกอะไรตัวเองตอนอายุ 20-30-35 ปี อยากบอกอะไรบ้างไหม ]

“อาจจะบอกให้ทำงานน้อยๆ หน่อย จัดการเวลาให้ดีกว่านี้ เวลามีคนขอความช่วยเหลือ ต้องรู้จักปฏิเสธให้เก่งกว่านี้ เรียกว่าโรคคนดี กลัวไม่ถูกรัก กลัวถูกโกรธ”

คุณป๋อมแป๋ม ยังยอมรับว่า เป็นคนที่มีเรื่องกังวลเหมือนกัน แต่ก็พร้อมที่จะด่าทุกอย่างไปพร้อมกันได้ ความกังวลที่มีไม่ได้ซ่อน เพียงแค่มีคนที่เราคุยได้ ปรึกษาได้ ร้องไห้ด้วยได้ มีคนที่พร้อมฟังเราบ่นได้ ด่าทุกอย่างบนโลกนี้ให้ฟังได้ แต่ไม่ใช่โซเชียลมีเดีย และคิดว่าตรงนั้นไม่ใช่ที่ที่จะไปร้องไห้ให้ใครปลอบ หรือด่าอะไรใคร และตัวเองก็ไม่เล่นเฟซบุ๊กมาเกิน 12 ปีแล้ว

[ ‘สนับสนุน’ สำคัญต่อ ‘ความสำเร็จ’ ]

พิธีกรดัง ยืนยันว่า การมีคนสนับสนุนนั้นเป็นสิ่งนี้สำคัญมาก และคนส่วนมากไม่รู้ว่าตัวเองก็มีสิ่งๆ นั้น หรืออาจรู้แต่ไม่ได้เห็นคุณค่า อย่างช่วงหนึ่งที่เคยทำ ทุกๆ วันศุกร์ จะชวนคนมาแชร์สิ่งที่ทำให้ยิ้มได้ในอินสตาแกรม ซึ่งบางทีอ่านคอมเมนต์พวกนั้นไปก็ยิ้มไป เห็นทุกคนออกมาแชร์รอยยิ้ม ส่งต่อพลังบวกแล้วก็ทำให้ยิ้มตาม แต่มันมีบางคอมเมนต์ บอกว่าไม่มีอะไรให้ยิ้มเลยวันนี้ ไม่มีอะไรที่ทำให้ตัวเองมีความสุขได้เลย นั่นแปลว่าเขาไม่ได้คอมเมนต์อะไรเลย  จึงทำให้รู้เลยว่าคนเราไม่ยอมรับพลังบวกเข้ามา หรือถ้าเวลาเราอยากจมอยู่กับความทุกข์ เขาจะไม่มองสิ่งรอบตัวเลย อยากจะจมอยู่กับตัวเอง เพราะบางคอมเมนต์เรื่องเล็กมากๆ บางคนยิ้มกับกาแฟ มันทำให้เรารู้สึกดีขึ้นนิดนึงก็ได้ ดังนั้น ความสุขอยู่รอบตัวเรา ไม่ได้โลกสวย แต่เชื่อว่ามีอีกหลายอย่างที่สร้างความสุขให้เราได้ บางครั้งมันเป็นเรื่องเล็กน้อยมากๆ แค่อย่ามองข้าม

หลังจากสถานการณ์โควิด มุมมองความสุขมันเปลี่ยนไปเลย ฝันให้ไกลไปถึงถึง จริงหรือเปล่า… จะถึงไหม? ฝันใกล้ๆ ก่อน และเก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุด (Just dream small and collect it.) เท่าที่จะทำได้มันน่าจะดีกว่า ในช่วงเวลาแบบนี้

คุณป๋อมแป๋ม พร้อมเล่าด้วยว่า เคยได้รับเชิญไปพูดเรื่องความสุขในบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ทำงานเกี่ยวกับ Call Center  แล้วมีคนบอกว่า รู้ว่าอารมณ์คนเราแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับอย่างแรกที่ทำในตอนเช้า แต่คนทำงาน Call Center สายแรกของวัน ก็คือสายโทรเข้ามาก็โดนด่า แล้วจะให้ทำยังไง เลยบอกไปว่า อย่างแรกที่เราทำตอนเช้าไม่ใช่การรับสายโทรศัพท์ อย่างแรกคือการแปรงฟัน ล้างหน้า กินข้าว หรือแม้แต่ขับถ่าย มีเวลา 1-2 ชั่วโมงให้เก็บเกี่ยวก่อนไปรับสายโดนด่า ถ้าเราเก็บเกี่ยวมันได้มากพอ ถึงจะโดนทำลายความมั่นใจขนาดไหน ความสุขนั้นก็ยังจะคอยดึงเราไว้อยู่

ชมคลิปบทสนทนาภาษาอังกฤษ ‘ป๋อมแป๋ม’ ฉบับเต็ม ที่นี่

อ้างอิงข้อมูล : 

ทำความรู้จัก Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า