SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก: ทำเนียบรัฐบาล / www.thaigov.go.th

ด้วยความเห็นชอบของรัฐบาลไทย ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ อาร์ชบิชอปพอลชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตแห่งสันตะสำนัก นครรัฐวาติกันประจำประเทศไทย และพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้ทราบว่า “สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 ตามคำเชิญของรัฐบาลไทยและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมีความโสมนัสยิ่งที่การเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยครั้งนี้ เป็นการจาริกเพื่อสันติภาพ และเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา พระองค์จะประกอบพิธีมิสซาแบบสาธารณะ 2 ครั้ง คือสำหรับบรรดาคริสตชนคาทอลิกทั่วประเทศ และอีกครั้งเป็นพิเศษสำหรับบรรดาเยาวชน

บรรยากาศ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงอวยพร จากหน้าต่างสตูดิโอของ บริเวณจัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ ในระหว่างการสวดมนต์วันอาทิตย์ Angelus เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2019 ในวาติกัน (ภาพโดย Filippo MONTEFORTE / AFP)

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก และพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ทรงเป็นพระสันตะปาปา ลำดับที่ 266 มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกลิโอ ประสูติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และประกาศนียบัตรสาขาวิชาปรัชญา จาก ColegioMáximo San José ทรงเป็นอาจารย์วิชาวรรณกรรมและจิตวิทยาที่ Colegio de la Inmaculadaและ Colegio del Salvador ทรงศึกษาวิชาเทววิทยา (theology) และถวายพระองค์เป็นนักบวชบาทหลวงในคณะแห่งพระเยซูเจ้า (เยสุอิต) จากนั้น ทรงดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางเทววิทยา โดยทรงสอนที่มหาวิทยาลัย Facultades de Filosofía y Teología de San Miguel

(ภาพจาก: Andreas SOLARO / AFP)

สำหรับตำแหน่งสำคัญทางศาสนาก่อนได้รับเลือกขึ้นเป็นพระสันตะปาปา พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งจากนักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ให้ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งเขตศาสนปกครองกรุงบัวโนสไอเรส และต่อมาได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระคาร์ดินัล เมื่อปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544)  เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งกรุงบัวโนสไอเรสนั้น พระองค์ทรงดำรงชีวิตแบบสมถะ เช่น มักเดินทางโดยใช้รถประจำทาง หรือรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจและเยี่ยมเยียนคนยากจน ทรงประทับอยู่ในห้องชุดเรียบง่าย ทำอาหารด้วยพระองค์เอง  ชาวบัวโนสไอเรสโดยทั่วไปรู้จักพระองค์ในนามของ “คุณพ่อฮอร์เก”

ต่อมา ภายหลังที่สมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละสมณศักดิ์ เมื่อ ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) จึงทรงได้รับเลือกตั้งจากคณะพระคาร์ดินัล ในการประชุม “คอนเคล็ฟ(conclave)” ให้ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาสืบแทนนักบุญเปโตร หรือเซนต์ปีเตอร์เมื่อวันที่ 13มีนาคม ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ทรงเลือกใช้พระนามว่า “Franciscus” ในภาษาละติน หรือ “Francis”  ในภาษาอังกฤษซึ่งมาจากนามของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี ผู้ก่อตั้งคณะนักบวชฟรังซิสกัน ผู้ถือความยากจน สนใจและเอาใจใส่ผู้ด้อยโอกาส ส่งเสริมสันติภาพ และรักษ์สิ่งแวดล้อม

(ภาพจาก: Tiziana FABI / AFP)

“พระสันตะปาปา” คือ ผู้สืบทอดตำแหน่งของนักบุญเปโตร (เซนต์ปีเตอร์) ที่ได้รับอำนาจสืบทอดมาจากพระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้าบนโลกนี้ นอกนั้นยังถือว่าพระสันตะปาปาคือ บิชอปแห่งกรุงโรม

ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปานั้น มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานประมาณสองพันปี โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อพระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงแต่งตั้งให้นักบุญเปโตร อัครสาวก เป็นผู้นำของบรรดาอัครสาวก จึงถือว่านักบุญเปโตรเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรก และมีผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญเปโตรเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันทั้งนี้ พระสันตะปาปายังถือว่าเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้าในโลก ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งสันตะสำนักและนครรัฐวาติกัน อันเป็นศูนย์กลางการบริหารพันธกิจของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลกอีกด้วย

สำหรับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ปรากฏหลักฐานว่ามิชชันนารีคณะโดมินิกันได้เข้าสู่ประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1511 และได้ตั้งรากฐานอย่างมั่นคงถาวร เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 ทรงสถาปนามิสซังสยามขึ้น (Apostolic Vicariate of Siam) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1669 (พ.ศ. 2212) มิชชันนารีและศาสนิกชนคาทอลิกได้นำวิทยาการจากตะวันตกมาช่วยเสริมในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อีกทั้งยังประกอบกิจเมตตาสาธารณกุศลแก่ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งนี้ คริสตศาสนิกชนยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์มาตลอดระยะเวลาอันยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากราชวงศ์จักรี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปานั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) นักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ระหว่างวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1984/ พ.ศ. 2527 (ภาพจาก: หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ)

การเยือนระหว่างประมุขแห่งรัฐระหว่างราชอาณาจักรไทยและสันตะสำนักแห่งนครรัฐวาติกันนั้น มีขึ้นครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440)  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 11 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาเข้าเฝ้านักบุญยอห์นที่ 23พระสันตะปาปา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)

การเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปานั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) นักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ระหว่างวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1984/ พ.ศ. 2527 (ภาพจาก: หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ)

ด้านความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และสันตะสำนักแห่งนครรัฐวาติกันนั้น การติดต่อทางพระราชไมตรีระหว่างพระมหากษัตริย์สยาม และสมเด็จพระสันตะปาปาแห่งวาติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงปี ค.ศ. 1969 นักบุญเปาโลที่ 6 พระสันตะปาปาจึงทรงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และสันตะสำนักแห่งนครรัฐวาติกันในระดับเอกอัครราชทูต ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย – วาติกันจึงได้กระชับแน่นแฟ้นขึ้นจนถึงปัจจุบัน

สำหรับการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปานั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) นักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ระหว่างวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1984/ พ.ศ. 2527

ภาพจาก: ทำเนียบรัฐบาล / www.thaigov.go.th

ในการเสด็จเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสจะทรงประกอบศาสนกิจ อีกทั้งทรงเยี่ยมเยียนคริสตชนในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 4 วัน ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ก่อนที่จะเสด็จต่อไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 23 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยจะเสด็จเยือนกรุงโตเกียว เมืองนางาซากิ และเมืองฮิโรชิมา ทั้งนี้ กำหนดการต่างๆ ของการเสด็จเยือนโดยละเอียดจะประกาศให้ทราบต่อไป

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรคาทอลิกจำนวน 388,468 คน จากประชากร ทั้งประเทศจำนวนทั้งสิ้น 69  ล้านคน และมี 11 เขตศาสนปกครอง (มิสซัง)

ภาพจาก: ทำเนียบรัฐบาล / www.thaigov.go.th

ที่มา: สำนักงานสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมประเทศไทย (PMS)

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า