Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=qK3kj4nAxsg&feature=youtu.be&fbclid=IwAR0uLSpgpCaHHD9Q6Lg1sORKuwH8jBrfvlIeyYOW-2mU5USRP5_kFYxWTrw

เป็นเวลากว่า 15 ปี ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษเพื่อรักษาความสงบ ขณะที่กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนออกมาระบุว่า การใช้กฎหมายพิเศษทำให้เกิดการอุ้มซ้อม อุ้มหาย จึงเรียกร้องให้มีกฎหมายคุ้มครองป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย

พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า

ประชาชนกว่าร้อยละ 70 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ต้องการให้คงกฎหมายพิเศษไว้ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยืนยันว่าเป็นผลสำรวจทัศนคติของประชาชนทุก 3 เดือน ของศูนย์ประเมิน

ตลอด 15 ปี มีเสียงสะท้อนว่ากฎอัยการศึกอาจขัดต่อกติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายฯ ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี แต่ยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้สูญหาย ซึ่งเครือข่ายสิทธิมนุษยชนพยายามผลักดันให้รัฐบาลออก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยเฉพาะร่างจากกระทรวงยุติธรรมที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย เช่น ฝ่ายความมั่นคง

แต่ท้ายสุด สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่นำร่าง พ.ร.บ.มาพิจารณา

สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แสดงความกังวลในรายละเอียดของร่างที่อาจจะขาดหายไป โดยเฉพาะในมาตรา 11 การกำหนดสถานะของรัฐ
มาตรา 12 การไม่ส่งบุคคลออกนอกราชอาณาจักรที่อาจทำให้เกิดการทรมานหรือสูญหาย
รวมถึงมาตรา 13 กำหนดให้ญาติหรือครอบครัวผู้สูญหายอยู่ในคณะกรรมการฯ

นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เชื่อว่า หากมี พ.ร.บ.ฉบับนี้จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะสามารถปิดช่องโหว่การอุ้มหายและการซ้อมทรมานที่ทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

โดยเฉพาะ มาตรา 6 กำหนดถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่จับ ขังมีความผิดกระทำให้บุคคลสูญหาย และมาตรา 21 กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลร่างกายผู้ถูกจับ และต้องยินยอมเปิดเผย

แต่ในความไม่แน่นอนว่าคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เมื่อใด จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า