SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้มีโอกาสได้ไปเดินเล่นแถวย่านสะพานควาย และระหว่างที่กำลังจะมุ่งหน้าไปยังสวนจตุจักรนั้น ก็รู้สึกคอแห้งเล็กน้อย ก็เลยพยายามมองหาร้านกาแฟซึ่งถือเป็นเครื่องดื่มคู่ใจของคนยุคใหม่ ก็หันมาเจอ POST Café พร้อมสีสันแดงขาวที่แสนจะคุ้นตา แต่ก็สารภาพตามตรงว่า ทีแรกไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของ จนได้เดินเข้าไปในร้าน พร้อมทำการสำรวจร้านถึงได้รู้ว่าเจ้าของแบรนด์ร้านกาแฟแห่งนี้คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

โลกวันนี้พัฒนามาไกล ใครจะไปคิดว่าวันนี้ผู้นำด้านระบบการจัดการการส่งสินค้ารายใหญ่ของไทยที่มีจุดการให้บริการมากกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ จะก้าวเข้ามาในพื้นที่ธุรกิจยอดฮิตอย่าง “ร้านกาแฟ” ต้องบอกว่ามันค่อนข้างเหนือความคาดหมายไปสักนิด

POST Café

แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคนับตั้งแต่ยุคหลังโควิด-19 มามีการเปลี่ยนแปลงไปมาก พวกเขาดื่มกาแฟเยอะขึ้น ในราคาที่แพงขึ้น เมนูที่หลากหลายมากขึ้น ในร้านที่สามารถมอบบรรยากาศซึ่งนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ หรือบอกความเป็นตัวตนของพวกเขาได้มากขึ้น

เมื่อบวกกับปัจจัยการทำงานและเรียนจากที่ไหนก็ได้ การค้าขายออนไลน์ที่เฟื่องฟู คนมีอาชีพที่หลากหลายมากกว่าหนึ่ง ทำให้ธุรกิจการจัดการและส่งสินค้ากลายมาเป็นส่วนสำคัญในการหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของไทย

ตัวธุรกิจโลจิสติกส์เองมีคู่แข่งเยอะจำต้องดึงและตรึงลูกค้า พร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อไม่ให้พวกเขาหันไปหาแบรนด์อื่น ตรงนี้อาจจะเป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่วันนี้ ไปรษณีย์ไทย เดินหน้าเข้าสู่ตลาดธุรกิจร้านกาแฟมูลค่า 30,000 ล้านบาท

ธุรกิจร้านกาแฟในวันนี้เติบโตมากๆ ดูได้จากการตั้งเป้าขยายสาขาและยอดขายของแบรนด์ร้านกาแฟดังๆ ในไทยอย่าง ‘คาเฟ่ อเมซอน’ ที่วางเป้าขยายสาขาให้ได้ 350 สาขาในปี 2567 โดยงบลงทุนของบริษัทแม่อย่าง OR มีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Lifestyle (คาเฟ่ อเมซอนอยู่ในกลุ่มนี้) ตลอด 5 ปีจากนี้มากถึง 17,944.5 ล้านบาท คิดเป็น 26.6% มากเป็นอันดับ 2 ของงบลงทุนรวม

เช่นเดียวกับ ‘แบรนด์กาแฟพันธุ์ไทย’ ที่มีเจ้าของอย่าง พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) เจ้าของปั๊มพีที ก็มีการเติบโตด้านยอดขายอยู่ที่ 80% และกำไรโต 2 เท่าในปี 2565 พร้อมแผนขยายสาขาให้ได้ 5,000 สาขาภายในปี 2570

POST Café

ขณะที่ตลาดกาแฟซึ่งเป็นภาพใหญ่กว่าก็จะยิ่งเห็นแนวโน้มชัดขึ้น ข้อมูลจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเผยว่า ในปี 2564-2566 ตลาดกาแฟของไทยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 9% ต่อปี โดยมูลค่ารวมของตลาดอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท กาแฟชงสดหน้าร้านมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดที่ 27,000 ล้านบาท คนไทยกินกาแฟมากถึง 70,000 ตันต่อปี ผลิตได้เองแค่ 10,000 ตันต่อปี เฉลี่ย 300 แก้วต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้วกินเฉลี่ยอยู่ที่ 370 แก้วต่อคนต่อปี ส่วนฝั่งประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปเฉลี่ยอยู่ที่ 600 แก้วต่อคนต่อปี

แนวโน้มตรงนี้ช่วยยืนยันภาพในระยะยาวของธุรกิจนี้ว่า ตลาดยังมีช่องว่างให้เติบโตไปได้อีกมากสำหรับในประเทศไทย และเราก็จะเห็นว่ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่นั้นใช้ร้านกาแฟเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบนิเวศน์ของพวกเขาให้เติบโตและสมบูรณ์ เพื่อความพร้อมสำหรับการแข่งขันในระยะยาว และฝ่าด่านวิกฤตผ่านการลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก

ตัวไปรษณีย์ไทย เองก็ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องนี้เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว การก้าวเดินเข้าไปในพื้นที่ใหม่ๆ อย่างธุรกิจร้านกาแฟภายใต้แบรนด์ POST Café กลายเป็นเรื่องจำเป็น เพราะสถานที่ส่งของในวันนี้ไม่ใช่แค่สถานที่ส่งของอีกแล้ว มันกำลังจะกลายเป็นสถานที่ทำงาน ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ซึ่งส่งเสริมชีวิตผู้บริโภคให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันกับธุรกิจ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า