SHARE

คัดลอกแล้ว

วัยเรียนของคุณเป็นแบบไหน

เผ็ด เปรี้ยว ซ่า ชนิดโดนเรียกเข้าห้องปกครองไม่เว้นวัน ค่อนข้างธรรมดา หรือออกไปทางน่าเบื่อหน่าย

สำหรับ ติณห์ ตันโสภณ ผู้ก่อตั้ง post-thesis แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น ที่มีแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจาก ‘ชุดนักเรียน’ เขาบอกว่า “สมัยเรียนเราเรียบร้อยมากนะ เป็นเด็กติ๋มๆ” คำตอบนี้ดูขัดกับผลงานของ ติณห์ อยู่ไม่น้อย เพราะใครก็ตามที่ได้ชมเสื้อผ้าของ post-thesis ต่างลงความเห็นว่าเป็น ‘ชุดนักเรียน’ ที่ท้าทายไม้เรียวเหลือเกิน

จุดเริ่มต้นของ post-thesis

“ถ้าตามชื่อ post-thesis ก็คือหลังจากธีสิส” ติณห์ เล่าว่าเขาสนใจแฟชั่นมาตั้งแต่เด็ก เริ่มติดตามผลงานของรุ่นพี่ จนกระทั่งได้เข้าเรียนที่ภาควิชาการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ช่วงเรียนอยู่ชั้นปี 3 ในวันว่างวันหนึ่ง ติณห์ ลองหยิบชุดนักเรียนซึ่งยังเก็บไว้ในตู้ออกมามิกซ์แอนด์แมทช์เล่นๆ ดู แล้วเขาก็พบว่า “ชุดนักเรียนเป็นแฟชั่นได้หนิ”

“เราเริ่มมาจริงจังกับคอนเซ็ปต์ชุดนักเรียนตอนปี 4 ที่ทำธีสิส เพราะมันต้องโฟกัสแล้วว่าจะทำเรื่องอะไรกันแน่ ด้วยความที่เรารู้สึกอินกับโรงเรียน เรื่องการใช้ชีวิตในโรงเรียนที่มีนักเรียนเป็นตัวดำเนินเรื่อง ก็เลยให้ความสำคัญกับชุดนักเรียนมากขึ้น มากขึ้น จนเป็นแรงบันดาลใจหลักของเราในธีสิสอันนี้”

เมื่อพบจุดโฟกัส อันดับถัดมาคือการค้นคว้าข้อมูล ติณห์ ศึกษาประวัติความเป็นมาของชุดนักเรียน องค์ประกอบของชุดนักเรียนแต่ละแบบ ทั้งลายปัก คู่สี ลักษณะของผ้า ทรงเสื้อ กระโปรง กางเกง รวมถึงรายละเอียดเล็กน้อยอื่นๆ “เราทำรีเสิร์ชเยอะขึ้น เพื่อที่ว่าเวลาออกแบบจะได้หยิบองค์ประกอบที่ถูกต้องจริงๆ มาประยุกต์” เขาตั้งใจคงเอกลักษณ์ของชุดนักเรียนแบบดั้งเดิมเอาไว้ ให้คนทั่วไปมองแล้วยังรู้ว่านี่คือ ชุดนักเรียน แต่เพิ่มดีไซน์และแนวความคิดที่ตัวเองต้องการจะสื่อสารเข้าไป

“อย่างเสื้อคอซองกะลาสีเรือ ทุกคนจะคิดว่าเป็นชุดนักเรียนหญิง หรือเสื้อเชิ้ตต้องคู่กับกางเกงเป็นชุดนักเรียนชาย แต่ในคอลเลกชั่นของผมจะมีเสื้อคอซองกะลาสีเรือที่ออกแบบให้ transgender ใส่ เราตีกรอบออก แสดงว่าชุดนี้ไม่ได้อยู่แค่ผู้หญิงอย่างเดียว คนข้ามเพศก็สามารถใส่ได้”

สังคมคือความหลากหลาย

“เรามองเรื่อง diversity เป็นสิ่งที่สำคัญมากในยุคปัจจุบัน” ไม่ใช่แค่เรื่องเพศเท่านั้น แต่ ติณห์ หมายรวมถึงการแต่งกาย และตัวตนของปัจเจกบุคคลในมิติอื่นๆ เขาจึงคิดว่าการบอกให้เด็กแต่งชุดนักเรียนเหมือนๆ กัน มันไม่ส่งเสริมเรื่องความหลากหลาย

“บางคนเขาอาจจะบอกว่าชุดนักเรียนมันสร้างขึ้นมาเพื่อให้เด็กอยู่ในกาลเทศะ ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นเด็ก แต่เรามองว่ามันไม่ค่อยสมเหตุสมผล เพราะตอนที่เราใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน มันก็มีการใช้สิ่งของบางอย่างที่ห้ามกันไม่ได้ เช่น กระเป๋า กล่องดินสอ โทรศัพท์ คือเราไม่สามารถไปบอกคนอื่นว่า อุ๋ย พวกนี้มันบ้าแบรนด์วะ ไม่ได้ปะ ก็ความชอบเขา การมีแบรนด์เนมมันไม่ใช่สิ่งที่ผิด สุดท้ายแล้วคุณบังคับเด็กมากแค่ไหน เด็กแต่ละคนก็มีพื้นฐานไม่เหมือนกัน มันคือโลกแห่งความเป็นจริง แต่เราจะทำยังไงให้เขาอยู่ร่วมกันได้ ต้องทำยังไงให้เขาเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ทุกอย่างมันคือการปลูกฝัง การสั่งสอนในเรื่องของการเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การบอกให้แต่งกายเหมือนกันทุกคน”

อ่านถึงตรงนี้ คุณอาจคิดว่าสมัยเรียน ติณห์ จะต้องเป็นเด็กแสบหรือหัวโจกที่นำเพื่อนๆ ทำผิดระเบียบและถูกคุณครูลงโทษบ่อยๆ อย่างแน่นอน แต่ความจริงนั้นตรงกันข้าม

“สมัยเรียนเราเรียบร้อยมากนะ เป็นเด็กเนิร์ดนิดนึง เป็นเด็กติ๋มๆ แล้วก็อยู่แก๊งเพื่อนผู้หญิง ตอนเด็กๆ ชอบถูกล้อ แบบไอตุ๊ด ก็เยอะ โดนมาตั้งแต่เด็ก” ณ วันนี้ เหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีตไม่ใช่ปมด้อยฝั่งใจ ติณห์ มันกลับจุดประกายให้เขามั่นใจกับสิ่งที่ตัวเองเป็น แต่ถึงอย่างนั้นการบูลลี่ (bully) ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

“มันต้องมาจากตัวเองก่อน เราเชื่อว่าเราสามารถเป็นอะไรก็ได้ เรามีสิทธิที่จะเป็นอะไรก็ได้ แต่สังคมคือสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการปลูกฝังสังคมเด็กในโรงเรียนให้เด็กเคารพซึ่งกันและกัน ให้เด็กเคารพสิทธิ ถ้าเริ่มอย่างนี้ตั้งแต่แรกมันจะไม่เกิดเหตุการณ์บูลลี่” และที่สำคัญกว่านั้น คือ คุณครูเองก็ควรจะเคารพสิทธิของเด็กเช่นกัน “การลงโทษที่ไม่สมเหตุสมผลมันเป็นค่านิยมที่ถูกปลูกฝังกันมานาน อย่างเด็กผมยาว ไปโกน มันคือการลิดรอนสิทธินะ”

ติณห์ ไม่ได้ปฏิเสธกฎระเบียบอย่างสิ้นเชิง “กฎระเบียบยังต้องมี” เขายอมรับ แต่ก็มองว่าโรงเรียนคือสถานที่ที่มีขึ้นมาเพื่อให้เด็กๆ ได้เข้าไปเรียนรู้ แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้พัฒนาชีวิต “ครูคือผู้สั่งสอน นักเรียนคือผู้ที่ถูกสั่งสอน ผลลัพธ์สุดท้ายของระบบการศึกษามันก็คือนักเรียน ดังนั้น กฎระเบียบควรอยู่บนฐานที่คิดถึงเด็กด้วย”

ร่วมแคมเปญกับ Wacoal

หลังจากผ่านไป 1 ปี นับตั้งแต่งานแฟชั่นโชว์จบการศึกษา ติณห์ กำลังคิดจะทำเสื้อผ้าคอลเลกชั่นใหม่ ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ทางแบรนด์ชุดชั้นใน Wacoal ติดต่อเข้ามาชวน post-thesis ร่วมแคมเปญพอดี

“คอลเลกชั่นนี้เราทำเป็นแคมเปญพิเศษร่วมกับ Wacoal คือ Wacoal พยายามพูดถึงไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงปัจจุบัน เราควรปลูกฝังความมั่นใจของเด็กผู้หญิงในวัยเรียน ให้มีความมั่นใจในทุกๆ อิริยาบถ ในทุกๆ กิจกรรม มันไม่ใช่เรื่องน่าอายที่เด็กใส่ชุดชั้นใน เพราะชุดชั้นในคือส่วนหนึ่งของผู้หญิงทุกคน ไม่ใช่แค่ผู้หญิงด้วยซ้ำ อย่างแคมเปญ Wacoal ที่เราทำ เรามี transgender เข้ามาร่วมแคมเปญด้วย transgender ที่เขาแปลงเป็นผู้หญิง เขามีหน้าอก เขาก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุดชั้นในด้วยเหมือนกัน ดังนั้น เราละทิ้งเขาไม่ได้”

https://www.facebook.com/postthesis/videos/1155894521433792/?epa=SEARCH_BOX

ชุดนักเรียนทุกแบบในคอลเลกชั่น Wacoal x post-thesis ทำขายจริง แต่เป็นการสั่งตัดแบบ pre-order เท่านั้น “เพราะชุดของเรามันค่อนข้างมีการดีไซน์ที่เยอะพอสมควร อาจจะไม่ได้เข้าถึงคนเยอะขนาดนั้น บางคนที่เขาไม่ได้ชอบแต่งตัวเยอะ เขาอาจจะมองว่ามันเยอะเกินไปหรือเปล่า”

“ซื้อเสื้อตัวละ 2,000 บาทขึ้นไป มันอาจจะแพง เราไม่ได้มองว่าเขาซื้อไม่ได้นะ เพราะหลายๆ คนก็ซื้อ แล้วแต่ละคนที่ซื้อเสื้อผ้าของผมจะได้เลขที่ไม่เหมือนกันเลยสักคน จริงๆ มันก็คือคอนเซ็ปต์ที่เอามาจากชุดนักเรียน คือ เลขประจำตัวนักเรียน สมัยเรียนเราจะได้เลขประจำตัวไม่เหมือนกัน การที่เราเอาอันนี้มาใช้ในการออกแบบเล็กๆ น้อยๆ มันทำให้เสื้อผ้าดูมีความน่าสนใจมากขึ้น บวกกับคุณภาพที่ผมทำขึ้นมาด้วย เลยอาจจะราคาสูงนิดนึง” แต่ในอนาคตอันใกล้ ติณห์ วางแผนจะผลิตสินค้าแฟชั่นที่เข้าถึงคนได้ง่ายขึ้น และอยู่ในราคาที่ผู้ซื้อสบายใจ

“ตอนนี้เราอยู่ในช่วงพัฒนาแบรนด์ มันเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ส่วนตัวเราก็ยังบอกไม่ได้ว่า post-thesis จะไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน แต่เราเชื่อว่าเรายังมีไอเดียความคิดสร้างสรรค์อยู่ แล้วไอเดียความคิดสร้างสรรค์มันมีราคา”

ปัจจุบัน post-thesis ประกอบด้วย ติณห์ ซึ่งทำหน้าที่คิดคอนเซ็ปต์และดูแลเรื่องการสื่อสาร กับเพื่อนสนิทของเขาอีกคนนึง ทำหน้าที่ตัดเย็บ เนรมิตจินตนาการของ ติณห์ ให้ปรากฏเป็นเสื้อผ้าที่สมบูรณ์ “เขาเก่งเรื่องทำแพทเทิร์น เก่งเย็บผ้า ส่วนเราไม่เก่งทำเสื้อ แต่ได้เรื่องของการคิดคอนเซ็ปต์ จุดนี้เป็นจุดเด่นของเรา เราไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว มันเป็นสิ่งที่ดีที่มีคนสามารถซัพพอร์ทเราได้”

บรรยากาศโรงเรียนในฝัน

“เราอยากเห็นเด็กๆ แต่งชุดนักเรียนที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎที่วางไว้ขนาดนั้น มันอาจจะดูแบบว่า อุ๊ย แหกกฎหรือเปล่า แต่เรามองว่ามันคือการพัฒนาความคิดเด็ก ปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ ลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าสมมติคุณครูมีโปรเจกต์ให้เด็กๆ แต่งตัวแบบไหนก็ได้ ให้ยังดูเป็นชุดนักเรียนอยู่ เรามองว่าเด็กสนุก เด็กได้ไอเดีย เด็กได้ความคิด มันพัฒนาความคิดเด็กได้นะ แล้วมันส่งผลต่อเด็กในอนาคตได้อีกเยอะ” ติณห์ ทิ้งท้าย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า