Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หนังสือ ‘ทำไม NETFLIX ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง’ ได้รับความสนใจจากในแวดวงหนังสือ เป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับที่ชื่อว่า Powerful เขียนโดนอดีตพนักงานที่ชื่อ แพตตี้ แมคคอร์ด (Patty McCord) – ซึ่งสิ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบคือเธอนั้นถูกจ้างออกตั้งแต่ปี 2012 และทำให้เกิดคำถามว่าแม้กระทั่งเธอเองก็เป็นเหยื่อของวัฒนธรรมที่เธอสร้างขึ้นมา

ถ้าหากพูดถึงบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่น และมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทอื่น ๆ ชื่อของ เน็ตฟลิกซ์’ (Netflix) ผู้ให้บริการวิดิโอสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นรายชื่อแรก ๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึง โดยเฉพาะผู้ที่เคยอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรสไลล์เน็ตฟลิกซ์ผ่าน slideshare อันโด่งดัง ที่เผยแพร่โดย รีด เฮสติงส์ (Reed Hastings) ผู้ก่อตั้งบริษัท และ แพตตี้ แมคคอร์ด อดีต Chief Talent Office รวมถึงหนังสือชื่อดังอย่าง ทำไม NETFLIX ถึงมีแต่คนโคตรเก่ง (Powerful : Building a Culture of Freedom and Responsibility) 

แพตตี้ แมคคอร์ด เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบเน็ตฟลิกซ์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเป็นผู้ที่เริ่มทำงานกับเน็ตฟลิกซ์มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี ค.ศ. 1997 จนกระทั้งในปี ค.ศ. 2012 หลังจากทำงานมา 14 ปี เน็ตฟลิกซ์ก็ได้จ้างเธอออกจากบริษัท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรและวิธีการดำเนินงานที่เธอเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและได้สร้างมันขึ้นมา 

การที่เน็ตฟลิกซ์เลิกจากแพตตี้ ทำให้หลายฝ่ายเกิดข้อสงสัยว่าทำไมผู้ที่เคยเป็นหนึ่งในผู้สร้างวัฒนธรรมองค์กรถึงถูกบริษัทเลิกจ้าง บ้างก็วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะแผนการแบ่งบริษัทออกเป็นส่วนที่ดูแลเกียวกับดีวีดี และส่วนที่ดูแลเกี่ยวกับวิดิโอสตรีมมิ่ง แต่ภายหลังแพตตี้ได้ให้สัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวกับการถูกเลิกจ้างจากเน็ตฟลิกซ์กับ Fast Company นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกาว่า การปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทดังกล่าว ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้เธอถูกเลิกจ้าง อีกทั้งยังได้แสดงความคิดเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติมผ่านบทสัมภาษณ์ครั้งนี้

วัฒนธรรมองค์กรสไตล์เน็ตฟลิกซ์ ที่แม้แต่ผู้สร้างก็ต้องถูกจ้างออก 

ดังที่กล่าวไปข้างต้น หากได้ศึกษาสไลด์ที่มีความยาวถึง 124 หน้าหรือหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรที่เขียนโดยแพตตี้ แมคคอร์ด ก็จะพบว่าเน็ตฟลิกซ์มีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างจากที่อื่น เช่น การให้อิสระกับพนักงานให้สามารถลาหยุดกี่วันก็ได้ ตราบเท่าที่รับผิดชอบงานได้และผลงานมีความโดดเด่น การแสดงความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย ให้รางวัลแก่พนักงานที่มีผลงานดีและจ้างพนักงานที่ผลงานกลางๆ ออก รวมถึง การเปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจของบริษัทให้พนักงานได้รู้ถึงความเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น 

โดยหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กรสไลต์เน็ตฟลิกซ์ที่โดดเด่นก็คือ การปฏิบัติหรือการบริหารพนักงานเปรียบเหมือนนักกีฬาที่อยู่ทีมระดับมืออาชีพไม่ใช่ทำงานกันแบบครอบครัว กล่าวคือ พนักงานแต่ละคนในบริษัทจะถูกมองว่าเป็นผู้เล่นหรือนักกีฬาคนหนึ่ง ที่สามารถถูกเปลี่ยนตัวได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการขององค์กร และถึงแม้ว่าพนักงานคนนั้น ๆ จะทำผลงานได้ดีหรือขยันทำงานเพียงใด แต่หากไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรแล้ว พนักงานคนนั้นก็มีสิทธิ์ที่จะถูกเลิกจ้างได้เสมอ 

แพตตี้ แมคคอร์ด เป็นตัวอย่างที่สะท้อนการทำงานแบบ “ทีมกีฬามืออาชีพ” ข้างต้น ซึ่งเธอก็เป็นผู้ที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะดังกล่าวขึ้นมา แต่เมื่อสิ่งที่แพตตี้ร่วมสร้างนั้นมีความมั่นคง ยั่งยืน และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองแล้ว องค์กรจึงไม่ต้องการ ‘ผู้เล่น’ คนนี้อีกต่อไป ถึงแม้จะเคยทำคุณประโยชน์ให้แก่บริษัทมาในอดีตก็ตาม 

กฎสองข้อสำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง

จากประสบการณ์ที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้บอกเลิกจ้างแก่พนักงานหลายร้อยคน แพตตีได้สรุป ‘กฎสำหรับผู้ถูกเลิกจ้าง’ อยู่สองข้อ คือ หนึ่งเมื่อคุณถูกบอกเลิกจ้างต้องห้ามรู้สึกประหลาดใจ และสองคือต้องรักษาเกรียติของตนเองไว้ และแพตตีก็ได้นำกฎทั้งสองข้อนี้มาใช้ เมื่อเธอถูกเน็ตฟลิกซ์เลิกจ้าง 

แพตตี เปิดเผยว่าพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจะไม่รู้สึกแปลกใจ เมื่อยอมรับว่าสิ่งที่สำคัญอันดับแรกของบริษัทคืออะไรที่เหมาะสมสำหรับบริษัทหรือธุรกิจ และยอมรับว่าบริษัทต้องการให้ทีมหรือพนักงานมีลักษณะอย่างไร ทั้งนี้ แพตตีกล่าวว่าหลังจากที่ได้พูดคุยกับรีด ผู้ก่อตั้งเน็ตฟลิกซ์และเป็นผู้ที่ชักชวนแพตตีมาทำงาน หลายครั้ง ก็ได้ข้อสรุปว่าการที่เธอออกจากบริษัทเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว 

“จำไว้ว่า บริษัทต่าง ๆ ไม่ได้มีอยู่เพื่อทำให้เรามีความสุข คุณรู้ใช่ไหม การทำธุรกิจไม่ได้มีอยู่เพื่อรับใช้พนักงาน แต่มีอยู่เพื่อรับใช้ลูกค้า” แพตตี แมคคอร์ดกล่าว

​No pain, no gain ถ้าไม่ลำบากก็ไม่มีวันได้มา

การที่แพตตี้ แมคคอร์ดถูกเน็ตฟลิกซ์เลิกจ้าง เป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง ซึ่งส่งผลให้จุดยืนเกี่ยวกับความเสี่ยงของเธอนั้นค่อนข้างแย่เกินกว่าที่จะอยู่ในจุดที่ปลอดภัย (safe zone)

“ถ้าไม่มีความยากลำบากก็จะไม่มีวันได้มา ถ้าหากไม่เสี่ยงก่อนก็จะไม่ได้รับรางวัลอะไรตอบแทน” (No pain, no gain. No risk, no reward) คือสิ่งที่แพตตี้คิด โดยเธอบอกว่าทุกสิ่งที่เธอเคยทำมานั้นก็อยู่ในขอบเขตของคำว่าเสี่ยงตลอด 

“เน็ตฟลิกซ์นั้นเป็นบริษัทที่รับความเสี่ยงอยู่เสมอ และส่วนมากผลก็จะออกมาดี แต่อันไหนที่ไม่ดี คนทั่วไปก็จะไม่รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งก็เหมือนบริษัทอื่น ๆ แต่การออกจากเน็ตฟลิกซ์ของฉันครั้งนี้ค่อนข้างที่จะเป็นที่รับรู้กันโดยสาธารณะ ดังนั้นทุกคนจึงต้องการชี้ว่านี่คือจุดเปลี่ยนและฉันก็คิดว่านี่คือจุดเปลี่ยนสำหรับบริษัทเช่นกัน ฉันคิดว่าสิ่งต่าง ๆ กำลังดำเนินไปได้ด้วยดีและทุกสิ่งก็ดูเหมือนจะเป็นไปได้ และมีตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้นและบริษัทจะเรียนรู้จากมันได้” แพตตี้ กล่าว

โดยในความเป็นจริง แพตตี้ แสดงความคิดเห็นว่าความเสี่ยงนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่การลุกขึ้นยืนใหม่และลองทำมันอีกครั้ง นั้นคือบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ และเมื่อบริษัทต่าง ๆ เรียนรู้จากความยากลำบาก และนั้นจะทำให้บริษัทแข็งแกร่งขึ้น 

นอกจากนี้ แพตตี้ ยังได้แบ่งปันแนวคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง หลังจากที่ออกมาจากเน็ตฟลิกซ์และทำงานเป็นที่ปรึกษาและผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพว่า การเสี่ยงย่อมคุ้มค่าหากเป็นการดำเนินการไปเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือการทำให้บริษัทดีขึ้น ซึ่งการจะดำเนินการอะไรที่มีความเสี่ยงนั้นย่อมต้องการ “ผู้นำของทีม” ที่สามารถอธิบายให้เห็นภาพของความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน 

“หากมีผู้นำที่กล้าที่จะยอมรับความผิดพลาดในการดำเนินงานต่าง ๆ รวมถึงแบ่งปันข้อมูลและเหตุผลว่าทำไมสิ่งนั้นถึงไม่ประสบความสำเร็จจะช่วยให้เกิดองค์กรที่แต่ละคนได้เรียนรู้วิธีที่จะนำเสนอความเสี่ยงแก่เพื่อนร่วมงาน โดยการนำเสนอถึงข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และนั้นจะทำให้คนอื่น ๆ อยากร่วมงานด้วย” แพตตี้ อธิบายเพิ่มเติม

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า