SHARE

คัดลอกแล้ว

อุณหภูมิโลกที่กำลังสูงขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลกระทบของ ‘ภาวะโลกร้อน’ และจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และอาจส่งผลกระทบต่อผู้คนและระบบนิเวศ รุนแรงขึ้นในระยะยาว

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ ร่วมกับ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สานต่อค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ‘เพาเวอร์กรีน’ ครั้งที่ 17 ภายใต้หัวข้อ “Climate Change, We Must Change – เริ่มเพื่อโลก”

เปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 50 คน จาก 50 โรงเรียน 40 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค ได้มาร่วมเรียนรู้ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนนำความรู้วิทยาศาสตร์ที่เรียนในค่ายไปประยุกต์ใช้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตัวเอง

บ้านปู เปิดค่ายเพาเวอร์กรีน ครั้งที่ 17 “Climate Change, We Must Change – เริ่มเพื่อโลก” จับมือคณะสิ่งแวดล้อมฯ มหิดล พา 50 เยาวชนหัวใจสีเขียว ลงพื้นที่เรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

จุดเริ่มต้น “Climate Change, We Must Change – เริ่มเพื่อโลก” เชื่อว่าพลังเล็กๆ เปลี่ยนโลกได้

‘รัฐพล สุคันธี’ ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพาเวอร์กรีน เป็นค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมั่นว่า “พลังความรู้ คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” โดยในแต่ละปี จะนำความเคลื่อนไหวทางสังคมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นเด่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลานั้นมากำหนดเป็นแนวคิดหลักของโครงการ และอย่างในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ประเด็นความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศถือว่าเป็นประเด็นใหญ่และเป็นเทรนด์โลกที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจ จึงเลือกประเด็นดังกล่าวมากระตุ้นให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักและเรียนรู้ร่วมกัน โดยมุ่งหวังว่า ค่ายเพาเวอร์กรีนจะเป็นขุมพลังความรู้ที่สำคัญให้กับเยาวชน ได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

“ในช่วงที่ผ่านมาโลกของเรามีปัญหาเรื่องสภาวะอากาศ และต่อมาก็มีปัญหาน้ำท่วม พายุ มันก็เลยเป็นที่มาว่าประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะประเทศไทย แต่เป็นเรื่องของคนทั้งโลก เพราะฉะนั้นเราเลยมองว่าถ้านำเรื่องนี้มาให้เด็กๆ ได้ศึกษาอย่างเป็นระบบก็น่าจะดี

แต่ถ้าแค่พูดเรื่อง Climate Change อาจจะยังมองภาพไม่ออกว่าเด็กๆ จะต้องทำอะไร เพราะฉะนั้นจากกิจกรรมต่างๆ ที่สอดแทรก เช่น กิจกรรมสำรวจชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จ.สมุทรปราการ เพื่อศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง  การทดสอบการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลน จ.เพชรบุรี จะทำให้เยาวชนเข้าใจประเด็นสิ่งแวดล้อมจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ และคิดต่อได้ว่าเราจะมีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร จึงเป็นที่มาของธีม “Climate Change, We Must Change – เริ่มเพื่อโลก” เพราะเชื่อว่าการเริ่มต้นช่วยโลกมันต้องเริ่มจากทุกๆ คน” รัฐพล กล่าว

‘รัฐพล สุคันธี’ ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

“บ้านปูรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมจัดค่ายเยาวชนเพาเวอร์กรีน มาต่อเนื่องถึง 17 ปี ต้องขอขอบคุณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้เข้ามาให้ความรู้กับน้องๆในค่ายอีกครั้ง เราภูมิใจที่ได้เห็นเยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีนในรุ่นต่างๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติรอบตัว และที่น่าปลื้มใจคือเครือข่ายเยาวชนของค่ายฯ เราพร้อมที่จะกลับมาร่วมส่งต่อองค์ความรู้ให้แก่น้องๆ รุ่นใหม่อยู่เสมอ” รัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

“ปัญหาโลกร้อนและความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สิ่งที่วงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญ

ดร.ธัญภัทร ศาสตระบุรุษ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานโครงการค่ายเพาเวอร์กรีน ครั้งที่  17 กล่าวว่า การจะแก้ปัญหาโลกร้อนและความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น จะต้องอาศัยทั้งเวลาและความร่วมมือจากทุกคน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่วงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้ามาร่วมแรงร่วมใจบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ในวงกว้าง

ดร.ธัญภัทร ศาสตระบุรุษ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานโครงการค่ายเพาเวอร์กรีน ครั้งที่  17

ค่ายเพาเวอร์กรีน ได้สอดแทรกกิจกรรมให้น้องๆ ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในระดับที่ทำได้ ทั้งภาคทฤษฎีแบบเข้มข้น และภาคปฏิบัติด้วยการลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ปัญหาเชิงลึก รวมถึงการนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 

ค่ายนี้เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกของเด็ก เราได้คัดเลือกเยาวชนมาจากทั่วประเทศ เชื่อว่าเมื่อนักเรียนกลับไปที่โรงเรียนเอาไปบอกเล่าเพื่อนๆ ของเขาว่าไปทำอะไรมาบ้าง และวิธีการแก้ไขปัญหาและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากค่าย เมื่อทุกคนกลับไปอย่างนี้ทุกจังหวัด ก็จะช่วยปลูกฝังในระดับหนึ่งได้”  ดร.ธัญภัทร กล่าว

50 เยาวชนลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาถึงปัญหา และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

นอกจากเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาร่วมกิจกรรมของค่ายเพาเวอร์กรีน ครั้งที่ 17จะได้รับความรู้อย่างอัดแน่นจากการเรียนรู้ภาคทฤษฎีแล้ว พวกเขายังได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจากกิจกรรมภาคสนามต่าง ๆ ทั้งการลงพื้นที่ศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงเรียนรู้วิธีการปรับตัวของคนในชุมชน เมื่อน้ำท่วมผืนดินที่เคยอยู่อาศัย ผ่านการพูดคุยกับตัวแทนชุมชน ณ บ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ การเข้าร่วมกิจกรรรมปลูกป่าชายเลน ณ โรงเรียนบางตะบูนวิทยา ศูนย์อนุรักษ์และศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน จ.เพชรบุรี เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน การสำรวจอุทยานหินเขางู จ.ราชบุรี และ ถ้ำกระแซ จ.กาญจนบุรี เพื่อเรียนรู้ผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่มีต่อโครงสร้างทางธรณีวิทยา และการศึกษาเส้นทางธรรมชาติในบริเวณศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมวิมานดิน จ.กาญจนบุรี เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ และทำกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดทางสิ่งแวดล้อม

ก่อนจะปิดท้ายด้วยการประกวดโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยทุกกิจกรรมมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหิดลและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

ตั้งใจสมัครเข้าร่วมโครงการ เพราะอยากนำความรู้ไปแก้ปัญหาและค้นหาคำตอบ “ภัยแล้งที่บ้านเกิด”

“น้องภูมิ-สิริราช ยานะ” นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในเยาวชนจำนวน 50 คนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จากจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 285 คน จาก 177 โรงเรียน 65 จังหวัด โดยผู้สมัครได้จัดทำคลิปวิดีโอเสนอแนวคิดและความเข้าใจเรื่องผลกระทบของ Climate Change ต่อชุมชนที่อาศัยและแนวทางการแก้ไขปัญหา

น้องภูมิ เล่าว่าเขาตั้งใจอัดคลิปวิดีโอส่งให้คณะกรรมการ โดยสะท้อนจากปัญหาใกล้ตัวของครอบครัวและชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนและความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ พืชผลทางการเกษตรต้องแห้งตาย และที่สำคัญในช่วงที่อากาศร้อนจัดส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้าน จนเป็น “ฮีตสโตรก” หรือโรคลมแดด เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากจนทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้

“น้องภูมิ-สิริราช ยานะ” นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

“ผมมาค่ายนี้ก็เพื่ออยากจะมาศึกษาหาความรู้ และนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหา ต้องการศึกษาว่าโลกของเราเปลี่ยนไปมากแค่ไหน หลังจากเห็นปัญหาใกล้ตัวในโซนภาคเหนือ มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมากมาย และเกี่ยวข้องกับ Climate Change มันเป็นปัญหาภาวะโลกร้อน สังเกตได้จากบ้านคุณตา ในช่วงทำนา มีความแห้งแล้งมาก ช่วงหน้าแล้งก็แทบจะไม่มีน้ำเลย

ผมคิดว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากเพราะไม่ใช่แค่กระทบกับสิ่งแวดล้อม แต่ยังเชื่อมโยงกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคมด้วยครับ ซึ่งกระทบในหลายด้าน” 

“มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นลมแดด ช่วงระหว่างเข้าแถวเคารพธงชาติที่โรงเรียน เช่นเดียวกับชาวบ้านอีกหลายคนที่เป็นลมล้มลง เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัด ปัญหาที่เกิดขึ้นผมจึงเกิดความมุ่งมั่นว่าจะต้องหาความรู้เพื่อนำไปแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ครับ” น้องภูมิ-สิริราช กล่าว

หลังจากเข้ามาเรียนศึกษากับอาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในค่ายนี้ น้องภูมิ บอกว่าเขาได้ค้นหาคำตอบจากสิ่งที่สงสัย และเมื่อได้ลงพื้นที่เรียนรู้เชิงลึกจริงๆ เขารู้สึกว่าอาจารย์สอนได้ดีมากๆ ทำให้ได้รับความรู้และตอบข้อสงสัยในใจได้ตรงประเด็น

“ความรู้นอกห้องเรียน” เปลี่ยนเสียงของเยาวชนเป็นพลังสร้าง Awareness ให้กับทุกคน

น้องหญิง-สุชาดา โฆษะวิสุทธิ์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพฯ คนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียวที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก เธอเล่าว่ามักใช้เวลาว่างในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อนอยู่เสมอ เพราะเป็นความสนใจส่วนตัว จึงไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าร่วมค่ายเพาเวอร์กรีน หลังจากทราบข่าวการเปิดรับสมัคร เพราะมีกิจกรรมที่น่าสนใจเยอะ ทั้งภาคทฤษฎีและลงพื้นที่ฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งคิดว่าเป็นกิจกรรมที่หาไม่ได้ในห้องเรียน และในห้องเรียนก็ไม่ได้มีการเรียนรู้เชิงลึกและปฏิบัติจริงขนาดนี้ เลยคิดว่าอยากใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมมาเข้าค่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์พร้อมกับได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

“ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่เห็นได้ชัดในกรุงเทพฯ คือ ปัญหาน้ำท่วม ทั้งจากสาเหตุระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย, แผ่นดินทรุดตัวลงจากการเจาะน้ำบาดาลต่างๆ จึงมองว่านี่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการแก้ไข ส่วนตัวแล้วได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทางสื่อออนไลน์

จึงเป็นความตั้งใจที่อยากจะมุ่งมั่นเรียนต่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เพื่อมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหานี้” น้องหญิง-สุชาดา กล่าว

น้องหญิง เชื่อมั่นว่าเสียงของเยาวชนจะสามารถช่วยสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ให้กับทุกคนได้ โดยสามารถเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ครอบครัว แล้วขยายมาที่กลุ่มเพื่อนๆ และโรงเรียน ช่วยกันคนละนิดคนละหน่อยก็อาจจะช่วยโลกได้ อย่างไรก็ดี เธอเชื่อว่าสังคมเรามีความตระหนักรู้ดีแล้ว แต่ยังขาดการนำไปปฏิบัติจริงๆ

น้องหญิง-สุชาดา โฆษะวิสุทธิ์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพฯ

หลังจากจบค่ายนี้ เธอยอมรับว่า วิธีคิดของเธอจะเปลี่ยนไป หลังจากได้เปิดมุมมองใหม่ๆ จากการได้เห็นและสัมผัสธรรมชาติโดยตรง หลายคนในค่ายฯ มาจากพื้นที่หลากหลาย ในจังหวัดที่แตกต่างกันไป แน่นอนว่าหลังจากจบจากค่ายนี้ไปทุกคนจะมีความตระหนักรู้ มีไอเดีย และวิธีคิดต่างๆ ที่ได้จากการจบการค่ายนี้ เพื่อช่วยเหลือชุมชนจากปัญหาสภาวะโลกร้อน เมื่อร่วมกันแก้ปัญหาแต่ละชุมชนเป็นจุดเล็กๆ สุดท้ายก็จะเกิดภาพรวมใหญ่ในระดับประเทศขึ้นได้

“บางอย่างที่เราเห็นตอนนี้มันอาจจะเป็นผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ถ้าเรายังไม่ช่วยกันแก้ไขปัญหาอะไร และปล่อยให้โลกเป็นแบบนี้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็กลัวว่าจะเกิดผลกระทบจากธรรมชาติที่ร้ายแรงกว่านี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อทุกคนในประเทศและในโลกมากกว่านี้” น้องหญิง-สุชาดา กล่าว ทิ้งท้าย

17 ปี ‘บ้านปู’ บ่มเพาะเยาวชนหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วกว่า 1,000 คน

ตลอด 17 ปี ของค่ายเพาเวอร์กรีน ภายใต้แนวคิด “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม – เรียนรู้สู่การปฏิบัติ” ได้บ่มเพาะเยาวชนหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อมไปแล้วกว่า 1,000 คน ทั่วประเทศ รวมทั้งขยายเครือข่ายเยาวชนทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เติบโตขึ้นเป็นกลุ่มผู้นำและเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อความรู้ไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม ให้ได้รับทราบถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการอยู่อาศัยร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดไป

สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ  ‘บ้านปู’ ในการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมตามหลักการ ESG ที่บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจมาตลอด 40 ปี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า