Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลตรวจภูมิคุ้มกันฝีดาษลิงคนไทยปลูกฝีในอดีตว่า 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ป้องกันฝีดาษลิงไม่ได้

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  แถลงข่าวเรื่องภูมิคุ้มกันต่อเชื้อฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkeypox) ว่าหลังจากมีเคสฝีดาษวานรในประเทศไทย กรมฯ ได้นำเชื้อมาเพาะทั้ง 2 สายพันธุ์ โดย 7 รายมีทั้ง B.1 และ A.2  โดยส่วนใหญ่ A.2 ซึ่ง B.1 มีเพียง 1 ราย ทั้งสองสายพันธุ์เพาะขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ การปลูกฝีดาษในอดีต จะแตกต่างจากฝีดาษวานร ส่วนคำถามที่ต้องตอบว่า คนไทยที่ได้รับวัคซีนฝีดาษ หรือได้รับการปลูกฝีดาษในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน  แต่หลังจากปี 2523 จะไม่ได้มีการปลูกฝีดาษอีก เพราะขณะนั้นกวาดล้างฝีดาษหมดแล้ว ยังมีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษลิงหรือไม่

กรมฯ จึงทำการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในคนที่ได้รับวัคซีนฝีดาษ ที่ผ่านมาเราได้หาอาสาสมัครมาดำเนินการแบ่งตามกลุ่มอายุ โดยแต่ละกลุ่มมี 10 คนในการศึกษา ตรวจทั้งสองสายพันธุ์ คือ B.1 และ A.2 โดยแบ่งเป็นอายุ 45-54 ปี  อายุ 55-64 ปี อายุ 65-74 ปี อย่างไรก็ตาม ข้อมูล คือ ต้องมีระดับไตเตอร์ (titer) มากกว่า 32 จึงถือว่ามีภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสฝีดาษวานรได้ ดังนั้น หากต่ำกว่า 32 แม้มีภูมิฯ แต่ไม่สูงพอจัดการได้

โดยผลตรวจพบว่า อายุ 45-54  ส่วนใหญ่ไม่มีภูมิฯ ขึ้นถึง 32 ขณะที่อายุ 55-64 ปี ภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างมาก มีเพียง 2 รายที่มีภูมิฯ ต่อ A.2 คือ 35 กับ 39 ซึ่งป้องกันได้ แต่ปริ่มๆ ส่วนอายุ 65-74 ปี ไม่มีใครถึงระดับ 32 

นอกจากนี้ยังตรวจคนที่ติดเชื้อ เพราะเหมือนได้รับวัคซีนธรรมชาติ พบว่า ในกลุ่มนี้สายพันธุ์ A.2 โดยสายพันธุ์ B.1 เราไม่ได้นำมาวิเคราะห์โดยตรง ซึ่งพบว่า กลุ่มนี้มีภูมิฯต่อ A2 สูงมาก และเมื่อมาเทสกับ B.1 ป้องกันได้จำนวนหนึ่ง  ส่วนคนที่ไม่ได้รับวัคซีน เป็นเด็กรุ่นหลัง เรามาตรวจ 3 ราย พบว่า ไม่มีภูมิคุ้มกันใดๆ ทั้งสิ้น 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า วัคซีนนั้นจะป้องกันได้ประมาณ 3-5 ปีกรณีฝีดาษ จากนั้นจะค่อยๆลดลง ซึ่งคนปลูกฝีไม่ได้มีการถูกกระตุ้น เพราะฉีดครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม การนำวัคซีนมาป้องกันโรคนั้น ยังมีประเด็นว่ากรณีเพิ่งติดเชื้อ 2-3 วันสามารถให้วัคซีนฝีดาษได้เพื่อป้องกันความรุนแรงได้ ดังนั้น หากมีวัคซีนเข้ามาไทยก็จะใช้ 2 กรณี คือ กลุ่มเสี่ยงมากๆ เช่น เจ้าหน้าที่แล็บ คนสัมผัสใกล้ชิด แต่ในคนทั่วไปที่มีประวัติเสี่ยง ไปสัมผัสโรคก็อาจฉีดให้เพื่อลดความรุนแรง

เมื่อถามว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้คนทั่วไปหรือไม่ ก็ยังไม่จำเป็น เพราะที่ผ่านมาก็ยังไม่พบป่วยมาก ขณะนี้ยังมี 7 ราย โอกาสแพร่กว้างขวางไม่มี 

นพ.ศุภกิจ  กล่าวอีกว่า  ปัจจุบันวัคซีนฝีดาษวานรโดยตรงยังไม่มีใครทำ แต่วัคซีนที่นำมาใช้คือ วัคซีนฝีดาษคน แต่ฉีดแล้วข้ามกันฝีดาษวานรได้ เพราะเป็นตระกูลใกล้เคียงกัน ได้ผลประมาณ 85% ซึ่งถือว่าเพียงพอ และวัคซีนปลูกฝีก็ไม่มีแล้ว เพราะมีความเสี่ยงพอสมควร ขณะนี้จึงมีวัคซีนรุ่น 3 โดยขณะนี้สหรัฐและยุโรป อนุมัติให้ใช้ได้ วิธีฉีดมี 2 แบบ คือ ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง แทงให้เป็นตุ่มเหมือนเป็นถั่วเขียว อันนี้ใช้วัคซีนแค่ 0.1 มิลลิลิตร ส่วนอีกวิธีฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ทะลุหนังลงไปอยู่ในชั้นไขมันใช้วัคซีนครึ่งซีซี โดยประเทศไทยซื้อมา โดยกรมควบคุมโรคดำเนินงาน มีประมาณ 1 พันโดส ฉีด 2 ครั้ง ฉีดได้ 500 คน จะฉีดใครอยู่ที่คณะกรรมการวิชาการตั้งหลักเกณฑ์

อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้หารือกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติและมหาวิทยาลัยบางแห่ง ได้ประสานขอเชื้อ เพื่อทำการวิจัยพัฒนาวัคซีนฝีดาษวานรโดยตรง ซึ่งกรมฯ สนับสนุน เพราะหากทำได้ก็เป็นผลงานของไทยเอง ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา แต่ง่ายที่สุดน่าจะพัฒนาจากวัคซีนฝีดาษลิงชนิดเชื้อตาย ซึ่งน่าจะทำง่ายและเป็นแพลตฟอร์มคุ้นชิน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า