SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ประสานความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลกในทุกมิติ

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดย นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการวิจัยและพัฒนาอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า ด้วยเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา

สถาบันฯ และ GIT มีเจตนารมณ์ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกันในการวิจัย การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ การตรวจสอบ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า เพื่อส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยใช้แสงซินโครตรอนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ร่วมพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมสร้างความร่วมมือเครือข่ายงานวิจัยที่เข้มแข็งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่หน่วยงานเห็นสมควร

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย กล่าวว่า GIT และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจะร่วมส่งเสริมและสนับสนุนด้านการวิจัย พัฒนาเทคนิคกระบวนการตรวจสอบ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ อัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ ตรวจสอบ และทดสอบ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยใช้แสงซินโครตรอน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสนับสนุนการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนบุคลากร และการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะ ศักยภาพ และขีดความสามารถของนักวิจัยอันเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต

“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการลงนามในบันทึกความเข้าใจในวันนี้ จะเป็นการบูรณาการในเชิงขีดความสามารถและสมรรถนะของทั้ง 2 หน่วยงาน ในการผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลกในทุกมิติ” นายสุเมธ  กล่าว

โอกาสนี้ ผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองสถาบันฯ ยังได้บรรยายพิเศษเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดย ดร.ชาตรี ไสยสมบัติ รักษาการผู้จัดการระบบลำเลียงแสงที่ 7.2 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้บรรยายเรื่อง “การประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนกับงานวิจัยทางด้านอัญมณี” และ นายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) และ ดร.ภูวดล วรรธนะชัยแสง หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ได้บรรยายเรื่อง “แนวทางการดำเนินการวิจัยด้านอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า