Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยประกาศความสำเร็จโครงการข้าวลดโลกร้อน เพิ่มศักยภาพภาคเกษตร ลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การยกระดับการวิถีการทำนา เพิ่มพื้นที่นาข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ มีศักยภาพสูงมากในการลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อเกษตรกรและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้และร่วมมือกันสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม ผลลัพธ์ความร่วมมือไทย-เยอรมันช่วยให้ภาคเกษตรไทยสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 915,053 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่า

7 ธันวาคม 2565 โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German Climate Programme – Agriculture) ประกาศความสำเร็จสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมวิถีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการพัฒนาระบบ การตรวจวัด รายงานและทวนสอบ (Monitoring, Reporting and Verification: MRV) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร นับเป็นความก้าวหน้าของภาคเกษตรไทยในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับปฏิบัติการและฝ่ายวิจัยที่เกี่ยวข้องและสามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข้าวมีบทบาทสำคัญกับการพัฒนาประเทศ เพราะเป็นผลผลิตส่งออกหลักของภาคเกษตรไทยและยังเป็นอาหารหลักหล่อเลี้ยงประชากรไทยจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตามรายงานการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ฉบับที่ 2 (The 2nd Biennel Update Report: BUR) ระบุว่าภาคเกษตรไทย โดยเฉพาะวิถีการทำนาแบบดั้งเดิมแบบที่นิยมให้มีน้ำขังอยู่ในแปลงนาเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาก๊าซมีเทนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 55% ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลให้โลกร้อนกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28 เท่า

โครงการความร่วมมือไทยเยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรมมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญให้กับนักวิจัยด้านข้าวในการนำเทคโนโลยีมาใช้ และเรียนรู้วิธีการการตรวจวัด จัดทำรายงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เป็นการวางพื้นฐานบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยระบบ MRV สำหรับการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบบิ๊กดาต้า และติดตามความก้าวหน้าของประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว

ตลอดระยะเวลา 5 ปีของการดำเนินโครงการ (พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565) มีเกษตรกร และนักวิจัยข้าวทั้งในส่วนกลางในและระดับจังหวัดที่ผ่านการฝึกอบรมระบบ MRV ของโครงการเป็นจำนวนมากถึง 30,389 ราย ใน 6 จังหวัดนำร่องในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี นำมาสู่การพัฒนาคู่มือการจัดทำระบบ MRV ในภาคข้าว เพื่อเป็นแนวทางส่งต่อการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในภาคเกษตรรุ่นใหม่

นอกจากนี้ โครงการยังได้ส่งมอบเครื่องก๊าซโครมาโตกราฟฟี่ ซึ่งใช้สำหรับการวิเคราะห์การปล่อยก๊าซจำนวน 4 เครื่อง เพื่อติดตั้ง ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวในภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดชัยนาท และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องก๊าซโครมาโตกราฟฟี่สามารถในการตรวจวิเคราะห์ก๊าซได้หลายประเภทที่เก็บตัวอย่างมาจากแปลงนา การติดตั้งเครื่องก๊าซโครมาโตกราฟฟี่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทยในการตรวจวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากการปลูกข้าวในหลากหลายนิเวศ เช่น การปลูกข้าวในพื้นที่เขตชลประทานและการปลูกข้าวแบบอาศัยน้ำฝน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยยังได้เปิดตัวมาตรฐานการเกษตรข้าวยั่งยืน (Thai Agricultural Standard for Sustainable Rice: TAS) เพื่อส่งเสริมให้นำวิธีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นอีกเครื่องมือในการยกระดับภาคเกษตรและอุตสาหกรรมข้าวไทยตลอดห่วงโซ่การผลิต

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าวกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีประกาศในเวที COP 26 เมื่อปีพ.ศ. 2565 ว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำลังเตรียมพร้อมก้าวสู่ประเทศความเป็นกลางทางคาร์บอนในปีพ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปีพ.ศ. 2608 การขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลง ผ่านการขับเคลื่อนรูปเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG)จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับภาคข้าว การเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาคเกษตรในระดับปฏิบัติการ เพิ่มผลผลิตและคุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

“กรมการข้าวให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าว การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนักวิชาการและเกษตรกรในพื้นที่นำร่อง เพื่อนำไปสู่การนำระบบ MRV ไปสู่การปฏิบัติใช้ และสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตข้าวคุณภาพสูง ตามมาตรฐาน TAS อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการพัฒนาภาคข้าวไทยอย่างยั่งยืน” อธิบดีกรมการข้าวกล่าวเพิ่มเติม

นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และมาเลเซีย กล่าวว่า ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาคข้าว การผลิตข้าวยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เรามีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี และเราพร้อมเดินหน้าสนับสนุนพันธมิตรภาคเกษตรของไทยต่อไป

ผลการดำเนินงานผ่านโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ภาคเกษตรกรรม จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเจ้าหน้าที่ภาคเกษตรในระดับนักวิจัยและภาคปฏิบัติการ ให้รู้จักนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ มาปรับใช้กับวิถีเกษตรในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกได้อย่างแน่นอน

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นองค์กรของรัฐบาลเยอรมันที่ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน GIZ ปฏิบัติงานในนามของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งในประเทศเยอรมนีและต่างประเทศ รวมทั้งรัฐบาลของประเทศต่างๆ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก และองค์กรที่ให้ทุนอื่นๆ GIZ ดำเนินงานอยู่ในกว่า 120 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 22,000 คน ซึ่งร้อยละ 70 เป็นคนในประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า