SHARE

คัดลอกแล้ว

เรียกได้ว่าคลับเฮาส์แตก เมื่อกลุ่มโรงเรียนแพทย์ริมน้ำเปิดคลับเฮาส์เชิญ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมตอบคำถามประเด็นร้อนเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณบดีศิริราชฯ ยอมรับว่าโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาระบาดในไทยเกิน 50% แล้วและจำเป็นมากที่บุคลากรแพทย์ด่านหน้าต้องได้รับวัคซีนไฟเซอร์กระตุ้นภูมิ ชี้วัคซีนซิโนแวคอนาคตก็ไม่ควรสั่งเข้ามาเพิ่มอีก

workpointToday ได้รับอนุญาตจากสโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช ให้นำข้อมูลจากเวทีพูดคุย CLUBHOUSE Q&A : เรื่องวัคซีนโควิด-19 และประเด็นต่างๆ มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์และไขข้อสงสัยให้กับทุกคน ก่อนจะไปอ่านรายละเอียดเต็มๆ  ขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจคร่าวๆ ของการพูดคุยคือ เรื่องวัคซีน การบูสเตอร์เข็ม 3 ให้บุคลากรแพทย์ รวมถึงการนำเข้าวัคซีนของไทย

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ว่าไทยมีการแพร่ระบาดสายพันธุ์เดลตา (delta variant) ประมาณ 50% ของที่ระบาดอยู่ในประเทศไทย คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดจะเพิ่มขึ้นต่อแน่นอน ตอนนั้นสรุปแล้วว่า คนที่ได้ Sinovac 2 เข็ม น่าจะไม่พอ จําเป็นต้องได้ booster และถ้าจะต้องได้ booster คิดว่ามี 2 ทางออกเท่านั้นก็คือ mRNA หรือว่า viral vector ตอนนั้นสรุปแล้วว่า คนที่ได้ Sinovac 2 เข็ม น่าจะไม่พอ น่าจะจําเป็นต้องได้ booster และถ้าจะต้องได้ booster เนี่ยเราคิดว่ามี 2 ทางออกเท่านั้นก็คือ mRNA หรือว่า viral vector เพราะฉะนั้น ข้อสรุปจากตรงนี้ ผมเล่าให้ฟังนิดนึง เวลาสรุปตรงนี้ จนมาถึงวันนี้ วันนี้คือ วันนี้ ศบค.ใหญ่อนุมัติอย่างเป็นทางการแล้วเห็นชอบตามที่เสนอ มันผ่านกรรมการมา3 ชุด แต่ละชุดเสียเวลา ทั้ง ๆ ที่เราพูดกันเมื่อ 3 อาทิตย์ที่แล้ว เรื่องนี้ก็ถูกนําเข้าที่ประชุม EOC ของกระทรวงสาธารณะสุข หลังจากอธิบายเหตุผลกันแล้วก็ดูความเป็นไปได้

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่าจะมี Pfizer ที่รัฐบาลอเมริกาจะมอบให้กับประเทศไทยอีก 1.5 ล้าน ที่กำลังจะเข้ามา เดิมแพลนว่าจะให้ผู้ที่เสี่ยงคือผู้สูงอายุ และผู้ที่มี 7 โรค ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์เสนอขอแบ่งให้บุคลากรด่านหน้าซึ่งมีประมาณ 6-7 แสนคน เพราะมีเสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนั้นก็มีการประเมินดูกันอีกว่าตกลงวัคซีนจะมาเมื่อไร จะทันหรือไม่ทัน ระหว่างนั้นให้กรมควบคุมโรคไปทำการสำรวจโรงพยาบาลว่า มีบุคลากรฉีดซิโนแวคไปแล้วกี่คน ซึ่งในวันนี้ที่ประชุม ศบค. ได้ประกาศให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า มีสิทธิเลือกเข็ม 3 ได้ ว่าจะฉีดแอสตร้าเซนเนก้าหรือฉีดไฟเซอร์ เลือกฉีดได้ทั้งวัคซีนแบบ mRNA คือไฟเซอร์และโมเดอร์นา จะเปิดโอกาสให้แพทย์ทุกคนเลือกได้เท่าเทียมกัน บางคนอยากฉีดแอสตร้าฯ บางคนอยากฉีดไฟเซอร์ก็เลือกได้ตามความเหมาะสมส่วนประเด็นบูสเตอร์ โดสมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนในศิริราช ว่า จะไม่ให้เลือกชนิดวัคซีน จึงย้ำว่าเปิดโอกาสให้แพทย์ทุกคนเลือกได้เท่าเทียมกัน บางคนอยากฉีดแอสตร้าฯ บางคนอยากฉีดไฟเซอร์ ก็เลือกได้ตามความเหมาะสม มีคนเลือกแอสตร้าฯ มาแล้วบางส่วนเช่นกัน คนที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม เชื่อว่ายังเพียงพอต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันเดลต้า ดังนั้นจึงควรจะให้ลำดับความสำคัญกับบุคลากรที่ได้ซิโนแวค 2 เข็ม รวมถึงกลุ่มเสี่ยง และ 7 กลุ่มโรคก่อนเพราะขณะนี้ยังได้รับไม่ครบ

วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพดีกว่าวัคซีนซิโนแวค

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ประสิทธิภาพวัคซีนไฟเซอร์ดีกว่าวัคซีนซิโนแวค ตอนแรกที่สั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคเข้ามานั้น ยังไม่มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้ความเห็น ทั้งที่จริงๆ เราควรเริ่มสั่งไฟเซอร์ตั้งแต่ช่วงเฟส 3 เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งประเทศอื่นๆ เริ่มสั่งกัน แต่ประเทศไทยยังใจเย็น เพราะคิดว่าควบคุมโรคได้ดี ยังไม่ต้องสั่ง ถึงตอนนี้สั่งไฟเซอร์แล้ว แต่ต้องรอ ส่วนในอนาคตไม่ควรสั่งวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มอีก ตอนนี้แอสตร้าเซนเนก้าเราผลิตแต่ไม่ใช่เจ้าของ กำลังกดดัน ต่อรอง และอาจถึงขั้นฟ้องร้อง การสั่งจองวัคซีนโมเดอร์นาว่า ทางโรงพยาบาลศิริราชได้จ่ายเงินจำนวน 26 ล้านบาท ในการจองวัคซีนโมเดอร์นา จำนวน 20,000 โดส ผ่านสภากาชาดไทยเรียบร้อยแล้ว คาดว่าวัคซีนจะเข้ามาประมาณเดือนตุลาคม แต่ยังไม่แน่ใจจะตรงตามกำหนดเวลาหรือไม่

ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อเพราะวัคซีนไม่เพียงพอ ?

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวถึงประเด็นเอกสารหลุดที่บอกว่าจะไม่ฉีดเข็ม 3 ให้ด่านหน้าว่า อันนี้ไม่รู้จริง ๆ ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องจัดสรรหาวัคซีน แต่เป็นที่ปรึกษาในเรื่องวัคซีนก็จะพยายามจะบอกว่าต้องมีการ booster dose คิดว่า การที่กรรมการแต่ละชุดยอมรับก็แปลว่าต้องยอมรับความเป็นจริงว่า Sinovac  2 เข็มไม่พอ ปีที่แล้วอาจพอ แต่ปีนี้ไม่พอเพราะมีสายพันธุ์เดลตา มันมีการกลายพันธุ์ วันนี้ที่ ศบค. อนุมัติตามเราเสนอที่จะมีการทํา mix and match วัคซีนที่มีอยู่ในมือ และต้องทําให้เร็วที่สุด เพื่อให้ป้องกัน delta ให้เร็วที่สุด

มีงานวิจัยมาจากจุฬาฯ และกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข อธิบายอย่างสรุปคือ Sinovac สามารถกระตุ้น humoral immunity ได้ดี แต่น้อยมากที่จะกระตุ้น CMI ในขณะที่ viral vector และ Messenger RNA กระตุ้นได้ทั้ง humoral immunity และสามารถกระตุ้น cell-mediated immunity ได้ดี ถ้าเวลานี้มี Sinovac กับ AstraZeneca ฉีดเข็ม1  Sinovac  อีก 3 -4 อาทิตย์ฉีด AstraZeneca lab เป็นเข็ม 2 lab ที่ออกมาตรงกันว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายจะขึ้นไปได้ดีมาก

นอกจากนี้ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ อธิบายถึงบทบาทหน้าที่ว่าไม่ได้เป็นกรรมการ ศบค. แต่ไปเป็นผู้ร่วมประชุมให้ความคิดเห็นในหัวข้อที่เราดันขึ้นมา เช่นเรื่องวัคซีน  ส่วนเรื่องสยามไบโอไซเอนซ์ มีคนถามเพราะเข้าใจว่าเป็นหุ้นส่วน มันคนละอย่างกันว่า ไม่ได้เป็นกรรมการอะไรเลย แต่จะเข้าไปเป็นผู้ร่วมประชุมให้ความคิดเห็น ส่วนวันนี้เรื่องเรื่อง agenda ที่เราดันขึ้นมา เรื่องวัคซีน

ส่วนที่สงสัยว่าเป็นหุ้นส่วนของสยามไบโอไซน์ หรือไม่ ต้องอธิบายว่ามันละอย่างกันนะ เป็นบอร์ดสยามไบโอไซน์ ไม่มีหุ้น ตรวจง่ายมากเข้าไปเช็กข้อมูลได้ที่กระทรวงพานิชย์ เช็กได้หมด ที่เข้าไปทํางานเพราะแต่เดิมต้องการผลิตยาในราคาที่คนไทย affordable และตัวหนึ่งที่เป็น evidence ก็คือ erythropoietin เราสามารถดึงราคายานอกพันกว่าบาท สุดท้ายคนไทยได้ในราคา 199 บาท สิ่งที่เรายอมผลิตเพราะอยากได้ know how เพื่อที่ในอนาคตไทยจะผลิตวัคซีนได้เอง ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ยืนยันว่าเข้าไปใน SBS เพราะตอนนั้นถูกดึงเข้าไป เพราะอยากให้ช่วยกันคิดว่ามันจะมี product อะไรที่จะช่วยทําให้ซื้อ ทําให้ผลิตได้ในราคาที่ถูก

รายละเอียดเต็มๆ ที่นี่ 

สำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุน สโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช Promptpay 0623181177

หมายเหตุ : ก่อนจะเป็นภาพปกปัจจุบัน ได้ใช้ภาพประกอบ จากประชาชาติธุรกิจ ขอบคุณประชาชาติมา ณ ที่นี้ครับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า