SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิจัยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านชีวโมเลกุลแปลงเพศกุ้งก้ามกราม สายพันธุ์ MU1 ให้ปลอดโรคและโตไว เพื่อเพิ่มผลผลิตช่วยเศรษฐกิจประเทศ

จากสถิติของกรมประมง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี พ.ศ.2561 ประเทศไทยมีการส่งออกกุ้งก้ามกรามไปยังตลาดต่างประเทศ ปริมาณ 2,873.6 ตัน คิดเป็นมูลค่า 344 ล้านบาท โดยตลาดหลักที่มีมูลค่าการส่งออกกุ้งก้ามกรามมากที่สุดของไทย คือ เมียนมาร์ รองลงมา คือ เวียดนามและจีน โดยมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งร้อยละ 87.4 ที่ส่งออกไปยังจีนเป็นกุ้งก้ามกรามสำหรับทำพันธุ์

แม้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะวางแผนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเพื่อให้จับขายได้ในช่วงเทศกาล แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอและส่งผลให้กุ้งก้ามกรามขาดตลาด จึงได้มีการพยายามปรับปรุงสายพันธุ์ และรูปแบบการเลี้ยงขึ้นใหม่ โดยเป็นการเลี้ยงแบบเพศผู้ล้วน เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ เช่น โตเร็ว เนื้อและรสชาติดี ทนต่อโรค และระยะเวลาเลี้ยงสั้นลง

ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล กล่าวว่า ตนได้ริเริ่มคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้ โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ได้เข้ามาดูแลการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวสาร และกรรมวิธีผลิตแม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศเพื่อให้แม่กุ้งก้ามกรามสามารถผลิตได้เฉพาะลูกกุ้งก้ามกรามที่เป็นตัวผู้ได้ โดยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้วทั้ง 2 เรื่อง นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจากบรรจงฟาร์มในการร่วมมือทางวิชาการเพื่อต่อยอดงานวิจัยในการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ ตั้งแต่ปี 2561 ไปยังฟาร์มอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม และเกษตรกรตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

ในอนาคตจะมีการขยายผลและพัฒนาเพิ่มเติม โดยมุ่งผลเพื่อช่วยสร้างรายได้แก่เกษตรกร และให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสู่ผู้บริโภคต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า