SHARE

คัดลอกแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ เรียกประชุม คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากโควิดครั้งแรก ชี้ทำงานเหมือน ครม.เศรษฐกิจเดิมแต่กว้างขึ้นทำงานลึกลงไปในรายกิจกรรม ระบุตอนนี้เรื่องปากท้องของประชาชนและการจ้างงานสำคัญที่สุด เตรียมจัดนัดพบแรงงาน 1 แสนอัตรา

วันที่ 18 ส.ค. 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงแนวทางด้านเศรษฐกิจว่า วันพรุ่งนี้ (19 ส.ค.) จะเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ.ครั้งแรก ซึ่งการทำงานจะเหมือนคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเดิมแต่การทำงานจะกว้างขึ้น มีคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่ครอบคลุมลงไปข้างล่างในรายกิจกรรม โดนคณะอนุกรรมการจะเสนอผ่านคณะกรรมการและเสนอต่อมาที่รัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ความเร่งด่วนเฉพาะหน้า เรื่องการบริโภค การจ้างงานซึ่งได้ให้กระทรวงแรงงาน เป็นแม่งานจัดงานเอ็กซ์โปการจ้างงาน ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และด้านอื่นๆ หลายแสนตำแหน่ง ซึ่งต้องสร้างการรับรู้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผล เพราะถ้าไปแยกกันทำก็จะไม่เกิดอิมแพ็ก ไม่เห็นปริมาณในการจ้างงาน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อถึงสถานการณ์โควิดว่า หลายประเทศยังมีการแพร่ระบาด และมีผลกระทบจากการเปิดประเทศเร็วเกินไป แต่ของเราจะเปิดเฉพาะบางกิจกรรมที่จะเกิดผลดีกับเศรษฐกิจในระดับฐานราก ในเรื่องการท่องเที่ยวบางแห่ง การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล จะค่อยๆ ปลดล็อกไป โดยต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งถ้าเราไม่เข้าใจกันแล้วขัดขวางกันก็ไปไม่ได้ ขอให้เข้าใจคำว่าสถานการณ์วิกฤติในเวลานี้ด้วย ใครมาเป้นรัฐบาลก็ต้องทำแบบนี้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้ให้สื่อถามคำถาม โดยกำหนดให้เพียง 3 ข้อ หลังการแถลงข่าว

นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือประกันราคาสินค้าเกษตรว่า ครม. มีมติเห็นชอบหลายรายการ หลายอย่างเราพยายามที่จะปลดล็อกเพื่อใช้จ่ายงบประมาณลงไปถึงกลุ่มผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ แต่ก็ต้องคำนึงถึงงบประมาณที่มีอยู่ด้วย
“อย่าลืมงบประมาณเงินกู้ทั้งหมด ไม่ว่าจะกู้หรือไม่กู้ใหม่จะต้องคำนึงขีดความสามารถในการใช้คืนเงินกู้เหล่านั้นด้วย ซึ่งรัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องดูแลอย่างทั่วถึง”
สำหรับ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ ที่นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการ และประกอบด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 11 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข
มีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และมีเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เป็นกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งหมด 22 คน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า